magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน นาฬิกาชีวภาพของผักยังหมุนหลังการเก็บเกี่ยว
formats

นาฬิกาชีวภาพของผักยังหมุนหลังการเก็บเกี่ยว

นักวิจัยได้รายงานในนิตยสาร Current Biology ฉบับวันที่ 20 มิถุนายน 2013 ว่า กระหล่ำปลีที่ถูกเก็บผิดเวลาหรือ jet lag อาจมี คุณค่าทางอาหารน้อยกว่าและมีความต้านทานต่อศัตรูพืชน้อยกว่า เนื่องจากผักผลไม้จะมีนาฬิกาภายในตัวเองที่สามารถตั้งวงจรชีวิต ตามแสงสว่างและความมืด ซึ่งการเก็บพิชผักผลไม้ไว้ในตู้เย็นมืดๆ สามารถขัดขวางการเดินของวงจรธรรมชาติดังกล่าว

Janet Braam นักชีววิทยาพืช ที่ Rice University กล่าวว่า พืชหลังจากที่ถูกปลิดจากก้าน มักจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก ได้มากกว่าที่เราคาดคิดไว้ เมื่อพืชถูกเก็บมันจะยังคงไว้ซึ่งกระบวนการเผาผลาญ (metabolizing) และยังคงมีชีวิต โดยปกติ Braam จะศึกษาการตอบสนองของพืชในช่วงการหลับ (circadian rhythms) ของพืชที่กำลังเติบโต แต่ได้ทดลองศึกษาวิจัยแบบใหม่โดยใช้พืชจากร้านค้า กลุ่มนักวิจัยของเธอได้พบว่า พืชประเภท Arabidopsis thaliana สามารถกำหนดเวลาการปลูก ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อขับไล่แมลง และสัมพันธ์กับช่วงสูงสุดของการ กัดกินอาหารของหนอน (caterpillar feeding peak) การป้องกัน ดังกล่าว รวมไปถึงองค์ประกอบที่เรียกว่า กลูโคไซโนเลท
(glucosino- lates) ซึ่งเคยคิดว่าเป็นสารต้านมะเร็งและมีคุณสมบัติป้องกันเชื้อโรค รวมถึงขัดขวางตัวหนอนด้วย

Braam กล่าวว่า   ไม่เพียงแต่กระหล่ำปลีที่สามารถปรับ จังหวะชีวิตประจำวันให้สามารถหนีห่างหนอนทั้งหลายได้ คณะนักวิจัยยังพบว่าผลการค้นพบนี้ยังใช้ได้กับพืชอื่นๆ เช่น สปีแนช ซุกคีนี มันฝรั่งหวาน แครอท และบลูเบอรี่  พืชผักผลไม้เหล่านี้ จะไม่ผลิตกลูโคไซโนเลท  และจะสร้างกลไกป้องกันอื่นในวงจรปกติ   คณะนักวิจัยได้ให้ข้อแนะนำว่า หากเราจะปรับปรุงผักผลไม้ให้เกิด ประโยชน์ต่อสุขภาพและทนทานต่อศัตรูพืช  โดยเก็บรักษาผักผลไม้ ไว้ภายใต้สภาวะที่ใกล้เคียงกับกลางวันและกลางคืน

รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1195—-92556

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกันยายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 12 กันยายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 78 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 4

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>