magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ชุดตรวจพันธุ์ไทย
formats

ชุดตรวจพันธุ์ไทย

กล่องชุดทดสอบที่เรียงรายบนชั้นอาจมาจากทั่วโลก ยกเว้นไทย ต่ตอนนี้ อีโคไซเอนทิฟิคจับมือนักวิจัยไบโอเทคนำชุดทดสอบออกซิเจนแบบพกพาสายพันธุ์ไทย

กล่องชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำที่เรียงรายบนชั้นวางจำหน่ายอาจมาจากหลายบริษัททั่วโลก ยกเว้นไทย แต่ตอนนี้ อีโคไซเอนทิฟิคจับมือนักวิจัยไบโอเทคนำงานวิจัยชุดทดสอบออกซิเจนแบบพกพาออกสู่เชิงพาณิชย์

นางเพชรินทร์ ร่วมสุข กรรมการบริษัท ไซเอนทิฟิค จำกัด มองเห็นช่องว่างในธุรกิจอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และเครื่องมือตรวจสอบจากต่างประเทศในลักษณะของตัวแทนจำหน่ายและพันธมิตร จึงเริ่มสร้างแบรนด์สำหรับชุดทดสอบไทยทำ

:: งานวิจัยสู่ไทยแบรนด์

“เวลาออกงานแสดงสินค้า เราจะเห็นแต่ของต่างชาติ ก็คิดขึ้นว่า ทำไมไม่มีของไทยทั้งที่นักวิจัยเรามีความสามารถ เก่งไม่น้อยหน้าใคร จึงเริ่มมองหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาโดยคนไทย จนมาเจอกับดร.สรวง” กรรมการอีโคไซเอนทิฟิคกล่าว
ดร.สรวง สมานหมู่ นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภสพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนา ‘ชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำแบบพกพา’ ที่อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสี จากปฏิกิริยารีดอกซ์หรือการรับส่งอิเลคตรอนระหว่างสารเคมีที่ใช้ทดสอบกับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุดทดสอบสามารถวิเคราะห์ผลได้ทันที

ชุดทดสอบลักษณะเดียวกันนี้ นักวิจัยชี้ว่า ไทยยังไม่มี นอกจากของนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ใช้สารเคมีคนละตัว ซึ่งผลงานวิจัยนี้ ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงเท่าเทียมกับของนำเข้าในราคาที่ถูกกว่า

นางเพชรินทร์เผยว่า อีโคไซเอนทิฟิคเอง ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับงานวิจัยในแง่ของการให้ข้อมูลในมุมของภาคอุตสาหกรรมที่ทำให้งานวิจัยตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้โดยตรง แล้วจึงลงนามสัญญาการอนุญาตใช้สิทธิเป็นเวลา5 ปี (12 ก.ย.56 – 11 ก.ย. 61)

ในช่วงแรก ไบโอเทคจะสนับสนุนและบ่มเพาะในแง่ของกระบวนการผลิตและพัฒนาห้องปฏิบัติการการผลิต ซึ่งกรรมการอีโคไซเอนทิฟิคชี้ว่า แม้บริษัทจะเป็นเทรดเดอร์ แต่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสอบคุณภาพ ที่จะขยายกำลังการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการ กำลังการผลิต 100 ชุดต่อเดือนสู่การผลิตระดับต้นแบบ กำลังการผลิต 150-200 ชุดต่อเดือน

“เราตั้งเป้าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในช่วงปลายปี 2556 โดยจะผลิตชุดตรวจพร้อมจำหน่าย 4-500 ชุด เพื่อทดลองตลาด” ภาคเอกชนชี้ พร้อมเสริมว่า การขยายสู่การผลิตระดับต้นแบบนี้จะเป็นระยะรวจสอบการตอบรับของตลาด เพื่อวางระบบบริหารจัดการการผลิต การลงทุนที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจระยะยาว

:: รุกไทยก่อนไปเออีซี

นางเพชรินทร์ชี้ว่า ตลาดไทยมีความต้องการใช้ชุดตรวจออกซิเจนในน้ำมาก เพราะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกว้าง นอกเหนือจากการประมง สิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ ยังมีฝ่ายการศึกษาทั้งนักวิจัย นักเรียนนักศึกษา และส่วนอุตสาหกรรม ทั้งการผลิตน้ำดีในโรงงานและการตรวจสอบน้ำเสียที่ต้องมีกระบวนการเติมออกซิเจนทั้งสิ้น

“การเปิดตลาดไทยจะเริ่มจากการทำสัมมาเชิงความรูัให้แก่กลุ่มเป้าหมายเนื่องจากเป็นสินค้าที่มาจากการวิจัยและพัฒนา จำเป็นต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อสร้างความเชื่อมั่สไปพร้อมกับการพัฒนาตลาด ให้ความรู้ผู้ใช้”

กรรมการอีโคไซเอนทิฟิคชี้ว่า เธอตั้งเป้าจะพาชุดทดสอบไทยทำนี้เป็นที่รูัจักในตลาดในประเทศภายใน 1 ปี ด้วยจุดเด่นในเรื่องของคุณภาพที่เท่าเทียมของนำเข้าในราคาที่ถูกกว่า 200-300% ขณะเดียวกันก็ใช้งานง่าย แม้เป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน แต่ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องปรับเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อดึงดูดให้คนสนใจมาหยิบซื้อ ตั้งเป้ายอดขายในปีแรกเฉลี่ย 500 ชุดต่อเดือน

ในระยะเวลา 3 ปีหลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เพชรินทร์คาดว่าแบรนด์จะแข็งแรงพอ ก่อนที่จะขยายสู่ตลาดเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม กัมพูชา ลาว เป็นต้น เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีความต้องการชุดตรวจเช่นเดียวกับไทย โดยจะโปรโมทแบรนด์ผ่านงานแฟร์

แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องสร้างความพร้อมในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงรายงานทางวิชาการ เพื่อการันตีคุณภาพของชุดทดสอบ สร้างความมั่นใจให้กลุ่มเป้าหมาย

“สำหรับชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำแบบพกพานี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำงานวิจัยไทยไปสู่ตลาดชุดทดสอบ ซึ่งเราเองมองว่า จะต้องวิจัยต่อยอดไปข้างหน้าเรื่อย ๆ อาจจะพัฒนาไปสู่อุปกรณ์ทดสอบเช่น โทรปหรือมิเตอร์ที่ทำงานได้แม่นยำมากขึ้น หรือขยายไปสู่ชุดทดสอบอื่น ๆ ที่จำเป็น” เพชรินทร์ชี้

สิ่งที่เธอหวังอย่าสูงสุดคือ การนำแบรนด์จากมันสมองของคนไทยไปสู่ตลาดโลกอย่างเต็มภาคภูมิ แม้จะต้องทำงานหนักเมื่อต้องสู้กับคู้แข่งอย่างจีนหรืออินเดียที่แม้ประสิทธิภาพการตรวจไม่สูงเท่าไทย แต่ราคาที่ถูกกว่ามากก็น่าหวั่นใจไม่น้อย

รายการอ้างอิง :
ชุดตรวจพันธุ์ไทย. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 19 กันยายน 2556.– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


four × 9 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>