สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ
ซิดนีย์ 19 ก.ย. 2013 -คณะนักวิทยาศาสตร์ศึกษาแนวปะการังในพื้นที่ห่างไกลนอกชายฝั่งออสเตรเลียพบว่าฉลามมีส่วนสำคัญต่อความสมบูรณ์ของปะการัง ซึ่งการจับสัตว์น้ำนักล่าในท้องทะเล ยิ่งทำให้แนวปะการังเสี่ยงได้รับอันตรายจากภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติ
นายมาร์ก มีแกน จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้ศึกษาผลกระทบของฉลามที่แนวหินปะการังโรวลีย์และสกอตต์ ห่างไปราว 300 กิโลเมตร จากชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของออสเตรเลียในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของห่วงโซ่อาหารในแนวปะการัง เช่น การที่ฉลามลดลง ทำให้ปลาแดงที่เป็นนักล่าระดับกลางมี จำนวนเพิ่มขึ้น แต่ปลานกแก้วที่กินพืชกลับมีจำนวนลดลง ซึ่งปลานกแก้วมีความสำคัญมาก เนื่องจากมันกินสาหร่ายที่จะไปรุกรานพื้นที่ของปะการังขึ้นใหม่ที่เพิ่งฟื้นตัวจากภัยธรรมชาติ
นักวิจัยศึกษาเปรียบเทียบแนวปะการังโรว์ลีย์ที่ห้ามจับสัตว์น้ำ ส่วนแนวปะการังสกอตต์ที่อยู่ใกล้เคียงมีกลุ่มประมงอินโดนีเซียออกล่าฉลาม นักวิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้แสดง ให้เห็นว่าประชากรฉลามตามแนวปะการังลดลง เนื่องจากถูกล่ามากเกินไป ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างปะการังเสี่ยงต่อการเกิดปะการังฟอกขาวจาก กระแสน้ำอุ่นขึ้น สภาวะทะเลเป็นกรด และไซโคลนลูกใหญ่
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=523a8f2f150ba07a0900002e#.UjrAKT_xbGg– ( 70 Views)