magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก มูลนิธิโครงการหลวงร่วมพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้
formats

มูลนิธิโครงการหลวงร่วมพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้

“พลาสติกที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพพืชผลอันจะเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาพืชเมืองหนาวเป็นอย่างยิ่ง”

ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรพบในปัจจุบันคือการย้ายต้นกล้าจากถุงเพาะชำลงแปลงปลูกเพราะการดึงต้นกล้าอาจทำให้รากพืชขาด หรือต้นหยุดเจริญเติบโต อีกทั้งพลาสติกที่ใช้ในการทำถุงเพาะชำนั้นก็ยากที่จะย่อยสลายได้โดยกระบวนการตามธรรมชาติ มูลนิธิโครงการหลวงเป็นหนึ่งในองค์กรที่ต้องใช้ถุงเพาะชำพลาสติก อีกทั้งบรรจุภัณฑ์ผลิตผลโครงการหลวงโดยมากจะใช้พลาสติกในการบรรจุแทบทั้งหมดดังนั้นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)จึงได้ร่วมมือกันในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรตลอดจนถึงการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลผลิตทางการเกษตรสำหรับโครงการดังกล่าวทางมูลนิธิโครงการหลวงเป็นหน่วยงานผู้สนับสนุนให้ใช้แปลงทดลองของโครงการเป็นที่ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในขั้นตอนการเพาะปลูกและบรรจุภัณฑ์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของโครงการโดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยโดยสนับสนุนค่าจ้างที่ปรึกษาด้านงานวิจัยในการพัฒนาพลาสติกโดยได้ที่ปรึกษาจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)และมหาวิทยาลัยนเรศวรส่วนบริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด(มหาชน)สนับสนุนเม็ดพลาสติกของบริษัทเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติกและพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงทรงรับสั่งว่าพลาสติกที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพพืชผลอันจะเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาพืชเมืองหนาวเป็นอย่างยิ่งมูลนิธิโครงการหลวงได้ให้การสนับสนุนการใช้แปลงทดลองในพื้นที่ของโครงการฯ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทดสอบการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นมาโดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้นำไปใช้นั้นเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมต้นกล้า ขั้นตอนการเพาะปลูกรวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครงการหลวงทั้งนี้ยังได้สนับสนุนการขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงกับเกษตรกรในพื้นที่ตลอดจนการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับสมาชิกเกษตรกรของมูลนิธิโครงการหลวง

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)กล่าวว่าการพัฒนาพลาสติกชีวภาพเพื่อการเกษตรเป็นเป้าหมายสำคัญของสกว. ในการมุ่งสนับสนุนการวิจัยทั้งในเชิงดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีของเกษตรกรและสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยในปี 2551 สกว. ได้เริ่มสนับสนุนงานวิจัยชุดโครงการ”วัสดุปลูกเพื่อใช้ในด้านเกษตรกรรม”โดยมีคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับMTEC เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรซึ่งได้พัฒนาพลาสติกคลุมโรงเรือนซึ่งมีคุณสมบัติกรองแสงจึงช่วยลดความร้อนในโรงเรือนและเพิ่มความเผ็ดของพริก และเติมสีเพื่อไล่แมลง,ถุงเพาะที่ควบคุมการย่อยสลายได้เพื่อให้รากกล้าแทงออกได้โดยไม่ต้องถอดถุงเมื่อนำไปปลูกในแปลงลดการสูญเสียกล้าในระหว่างถอดถุงสามารถนำไปใช้ผลิตกล้าผักกาดหอมห่อและสตรอว์เบอร์รี่ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังได้พัฒนาพลาสติกคลุมดินที่ช่วยควบคุมวัชพืช และใช้สีไล่แมลง

“ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด สนใจที่จะพัฒนาต่อยอดงานวิจัยจึงได้เสนอทุนสนับสนุนการวิจัยในระยะที่1เป็นเวลา3 ปี (พ.ศ.2555-2557)ในโครงการ “การพัฒนาพลาสติกชีวภาพเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน” ซึ่งผลการวิจัยในระยะที่ 1 นี้ได้ต่อยอดจากงานวิจัยเดิมจนได้ถุงเพาะที่ใช้PLA(polyactic acid) ที่ย่อยสลายได้ และมีส่วนประกอบของแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงเพิ่มมากขึ้น 50% และมีสารช่วยเร่งการย่อยโดยจุลินทรีย์ทำให้การย่อยสลายถุงในดินได้สมบูรณ์ขึ้นลดการสูญเสียกล้า ให้ผลผลิตดี และลดต้นทุนการผลิตในเรื่องแรงงานการถอดถุงซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อยืนยันผลทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบสำหรับความร่วมมือในวันนี้จะเป็นการขยายพื้นที่และทดลองกับพืชชนิดอื่น ทั้งพืชอายุสั้น และกล้าไม้ยืนต้นพร้อมกับขยายพื้นที่ไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของโครงการหลวง30,000รายทั้งนี้ สกว.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการผลิตและใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายนี้ จะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งปัจจุบันและอนาคต”

นายอนนต์สิริแสงทักษิณประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอลจำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่าบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยรวมถึงสนับสนุนเม็ดพลาสติกของบริษัทเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติกและพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของบริษัทดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง

“บริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญของนวัตกรรมซึ่งถือเป็นกุญแจหลักในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจอีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญด้านการพัฒนาประเทศและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมซึ่งเราเองก็ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคมรวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในภาคเกษตรกรรมซึ่งมีความจำเป็นในการใช้พลาสติกในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก”

ทั้งนี้ 3 หน่วยงานร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฯณศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556

รายการอ้างอิง :
มูลนิธิโครงการหลวงร่วมพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้. สยามธุรกิจ. ฉบับวันที่ 02 – 04 ตุลาคม พ.ศ. 2556.

– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + three =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>