เดินหน้าพลิกโฉมธุรกิจฟาร์มโคนมด้วยงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เริ่มด้วยฟาร์มโคนมอินทรีย์ในปี 2547 ไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะ ตามติดด้วยนวัตกรรมนมเมลาโทนินสูงจากธรรมชาติ หรือนมก่อนนอนด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีรีดนมใหม่ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้สำหรับผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ล่าสุดกับโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดความผิดโคนมที่ผายลม-เรอเป็นก๊าซ เรือนกระจก
“เราสนใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ด้วยอยากทราบว่า ธุรกิจเราเองปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเท่าไหร่ และจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไรบ้าง จึงขอรับการสนับสนุนจากโครงการ iTAP ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.” พฤติ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แดรี่โฮม จำกัดกล่าว :มองมากกว่าธุรกิจ
แดรี่ โฮมเป็นธุรกิจที่ปล่อยก๊าซโลกร้อน เช่นเดียวกับฟาร์มโคทั้งหลาย ซึ่งทั้งโคเนื้อและโคนมนั้นปล่อยก๊าซมีเทนจากการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยว เอื้องผ่านการเรอและผายลม จึงคิดหาโซ ลูชั่นที่จะตอบแทนผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
โครงการ “พิชิตฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอไรส์และโยเกิร์ตแดรี่โฮม” จึงเกิดขึ้น โดยจะประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตของฟาร์มโคนมและ กระบวนการผลิตในโรงงาน ตลอดจนขั้นตอนการบรรจุและขนส่ง มีเป้าหมายเพื่อขอรับรองผลวิเคราะห์ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากองค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และขึ้น ทะเบียนติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รัตนาวรรณ มั่งคั่ง นักวิชาการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เข้ามาดูแลโครงการนี้ กล่าวว่า ธุรกิจ ที่สนใจทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นองค์กรใหญ่ที่มีเรื่องของการส่งออกสินค้า ที่ต้องการมาตรฐานหรือการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม
“แดรี่โฮมเป็นธุรกิจขนาดกลางที่มีความกระตือรือร้น ในขณะที่หลายบริษัทถอดใจ เนื่องจากการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการตรวจวัดประเมินการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนตลอดห่วงโซ่ กระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบการผลิตบรรจุภัณฑ์การขนส่ง การจำหน่ายและกระจายสินค้า ของเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น ต้องเก็บข้อมูลละเอียดมาก” รัตนาวรรณกล่าวก่อนชี้ว่า แดรี่โฮ มโชคดีที่ข้อมูลทั้งหมดเป็นฐานข้อมูลเดียวกับมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ ที่บริษัททำอยู่ และเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลย้อนหลัง 7 ปี
การพิจารณาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ครั้งนี้ ได้เชิญอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นผู้ตรวจสอบและได้รับการรับรองจากองค์การก๊าซเรือนกระจกแล้ว
พฤฒิชี้ว่า มาตรฐานยุโรป นม 1 ลิตรมีการปล่อยคาร์บอนมากกว่า
2 กิโลกรัม ส่วนของไทยอยู่ที่ 2.3-2.7 กิโลกรัม ขณะที่แดรี่โฮม
ปล่อยอยู่ที่ 2 กิโลกรัม และจะทำให้ตัวเลขนี้ลดลงเรื่อยๆ
:เปิดตลาดสีเขียว
ต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แดรี่โฮมอยู่ในระดับพรีเมียมด้วยราคาที่สูงกว่าท้องตลาด กรรมการผู้จัดการแดรี่โฮมชี้ว่า ปกตินมอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่านมในท้องตลาด
กลุ่มเป้าหมายจึง มุ่งเน้นไปที่กลุ่มมีฐานะ มีความรู้ หรือคนที่ใส่ใจเรื่องคุณภาพของนมเป็นพิเศษ ดังนั้น สินค้าที่ราคาแพงต้องตอบโจทย์ความต้องการและความพิเศษเราจึงเดินหน้าทำ มาตรฐานรับรองทั้งเรื่องของ เกษตรอินทรีย์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ถือเป็นความจริงใจในการให้ข้อมูลทุกมิติ
นอกจากนี้ แดรี่โฮมยังพัฒนาพลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุโยเกิร์ต จึงต้องมีคุณสมบัติทนความเย็นและชื้นในตู้เย็น ทนต่อความเป็นกรด และต้องย่อยสลายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งทนต่อแรงกระแทกได้ดีเทียบเท่าบรรจุภัณฑ์เดิมที่ทำจากพลาสติกปิโต รเคมี
“สิ่งที่เราทำแม้เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่เรายังรับไหวและจะไม่ผลักภาระให้กับผู้ซื้อ แม้จะมีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว เราก็จะขายในราคาเดิม” เขาย้ำในแนวคิด
เมื่อถามถึงประชาคมอาเซียน พฤฒิกล่าวว่า เขาพร้อมที่จะไปหากมีช่องทางจำหน่าย แต่จะไม่ทำตลาดเอง เพราะธุรกิจเล็กเกินกว่าที่จะทำเอง แต่ละวันใช้นมเพียง 5 ตันเท่านั้น
“อย่างไรก็ดี ประชาคมอาเซียนก็เป็นผลดีในการเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อจากประเทศ เพื่อนบ้านเข้ามา และหากมีความต้องการนมระดับพรีเมียม แดรี่โฮมก็จะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ และเชื่อว่า ยอดขายจะเพิ่มขึ้นแน่นอน”
แหล่งที่มา : สาลินีย์ ทับพิลา. โรงนมสีเขียว. กรุงเทพธุรกิจ (idea). ฉบับวันที่ 03 ตุลาคม พ.ศ. 2556.– ( 95 Views)