เป็นปัญหาสำหรับพืชผลทางการเกษตรแทบทุกชนิดไปเสียแล้วสำหรับปัญหาราคาตก ต่ำไม่ว่าจะเป็นราคายางพารา ข้าว ข้าวโพด ลำไย ฯลฯหรือแม้แต่ปาล์มน้ำมันทั้งที่ในปัจจุบันเป็นพืชผลทางการเกษตรที่สามารถนำ ไปผลิตเป็นน้ำมันปาล์มใช้ในการทำอาหารหรือแม้แต่นำไปผลิตเป็นก๊าซโซฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในน้ำมันเบนซิน ก็ยังหนีไม่พ้นปัญหาราคาตกต่ำในบางฤดูกาล อีกทั้งในบางช่วงเวลาปริมาณผลปาล์มไม่เพียงพอกับความต้องการจนต้องนำเข้าผล ปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้าน
ปัญหาดังกล่าวรศ.ดร.พีรเดชทองอำไพผู้ อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.)กล่าวว่าสาเหตุที่บางช่วงเวลา ผลปาล์มไม่เพียงพอเป็นเพราะเกษตรกรขาดแคลนต้นปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดี อีกทั้งที่ผ่านมาปาล์มน้ำมันไม่ใช่พืชที่เกิดในพื้นที่ประเทศไทยจึงต้องมี การนำเข้าต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียหรือ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงของเกษตรกรเพราะต้นกล้าที่นำ เข้ามาปลูกนั้นเกษตรกรจะไม่มีทางทราบเลยว่าเป็นต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ให้ผล ปาล์มมากและมีปริมาณน้ำมันในเนื้อปาล์มมากหรือไม่
“การปลูกปาล์ม น้ำมันต้องใช้เวลาหลังจากลงกล้าไปแล้ว2-3ปีถึงจะรู้ว่าต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกนั้นใช่สายพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการหรือไม่ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหามาก เราในฐานะที่มีหน้าที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเกษตรอยู่แล้วจึงได้ให้ทุนสนับ สนุนการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด โดยมี 5 หน่วยงานทำงานร่วมกัน”
5หน่วยงานวิจัยที่ทำงานร่วมกันประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ หจก.โกลด์เด้นเทเนอร่า โดยรศ.ดร.พีรเดชกล่าวว่าเหตุที่ต้องร่วมกันทำการวิจัยนั้น เพื่อให้งานวิจัยที่ได้ออกมาตรงตามความต้องการของเกษตรกรมากที่สุดและมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์มให้สามารถสร้างผลผลิต ให้ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงต่อพื้นที่การปลูก1ไร่เพราะต่อไปพื้นที่การปลูก จะลดลงขณะที่ความต้องการจะสูงมากขึ้นอีกทั้งยังสามารถปลูกได้ในทุกภาคของ ประเทศอีกด้วย
“จากการวิจัยโครงการดังกล่าวเราได้เทคโนโลยีการ ผลิตต้นปาล์มน้ำมันโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งปกติแล้วทำได้ยากและ เทคโนโลยีที่ใช้ตรวจดีเอ็นเอเพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ปาล์ม ซึ่งปาล์มน้ำมันที่เราปลูกกันรุ่นแรกๆจะได้ผลผลิตประมาณ 2 ตันต่อไร่ต่อปี แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเราวิจัยและได้ทดลองแล้ว เราจะได้ผลผลิตขั้นต่ำอยู่ที่ 5 ตันต่อไร่ต่อปี และเราได้พันธุ์ปาล์มทั้งหมด5 เบอร์ด้วยกัน แต่ละเบอร์จะเหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่แตกต่างกัน บางเบอร์จะทนแล้งได้นานถึง 3 เดือนและบางเบอร์ก็ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น25-26เปอร์เซ็นต์จาก เดิมที่เคยได้ 17-18 เปอร์เซ็นต์”
นอกจากนี้ รศ.ดร.พีรเดชยังกล่าวอีกด้วยว่า ต้นปาล์มสายพันธุ์ที่ได้จากการวิจัยนี้จะพร้อมเปิดให้เกษตรกรสั่งจองได้ใน วันที่18 ตุลาคม 2556 ในราคาต้นละ 250 บาทซึ่งเทียบเท่ากับราคาต้นกล้านำเข้าจากต่างประเทศแต่ต้นกล้าที่ได้จากการ วิจัยนี้จะมีความแน่นอนในเรื่องผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้จะมากกว่าต้นกล้าที่ นำเข้า
ด้านดร.สมวงษ์ตระกูลรุ่งผู้อำนวยการสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)กล่าวว่าเดิมการปรับ ปรุงพันธุ์ใช้เวลานานประมาณ15-20ปีแต่เมื่อใช้เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ที่สามารถร่นระยะเวลาและเพิ่มผลผลิตได้เร็วโดยย่นระยะเวลาลงมาได้มากและได้ ไปยื่นขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในหลายประเทศแล้วซึ่งทางประเทศ มาเลเซียก็ไม่มีการคัดค้าน
“เราใช้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 4 ต้น เป็นต้นพันธุ์ดูร่าผสมกับพันธุ์พิซิเฟอร่าจนได้มาเป็นพันธุ์เทเนอร่า16คู่ ผสมซึ่งมีจุดเด่นคือ กะลาบาง เม็ดในบาง ทำให้ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้นและจากการทดลองปลูกในภาคอีสานบางเบอร์ เหมาะปลูกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ บางเบอร์เหมาะปลูกในพื้นที่จังหวัดหนองคายและที่ภาคใต้หลังจากทดลองปลูกแล้ว ให้ผลผลิตเกิน 5 ตันต่อไร่ต่อปี และใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีครึ่งก็ให้ผลผลิตแล้วจากเดิมใช้เวลา3-4ปีจึงจะให้ผลผลิต”
ส่วน ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนซึ่งทำหน้าที่ดูแลต้นกล้าปาล์มน้ำมัน กล่าวว่า การอนุบาลต้นกล้าปาล์มน้ำมันนั้นได้ใช้เทคโนโลยีในการให้น้ำ ให้ปุ๋ย รวมทั้งวัสดุที่ใช้ในกี่เพาะชำก็มีการเตรียมไว้อนุบาลต้นกล้าปาล์มถึง1 แสนต้น และตั้งเป้าจะอนุบาลต้นกล้าปาล์มน้ำมันให้ได้ 1 ล้านต้นต่อปี
รายการอ้างอิง :
พันธุ์ปาล์มใหม่ฝีมือคนไทยการันตีผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี. 2556. สยามธุรกิจ. ฉบับวันที่ 09 – 11 ตุลาคม. – ( 225 Views)