น่าดีใจที่ระยะหลังมีโครงการสนับสนุนคนรุ่นใหม่พัฒนาไอเดียเป็นธุรกิจ หรือที่เรียกรวมกันว่า “สตาร์ตอัพ” เป็นจำนวน ไม่น้อย ทั้งของค่ายมือถือ, หน่วยงาน ภาครัฐ หรือกับกลุ่มสามารถที่ทำมาปีที่ 11 แล้วกับ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” “ศิริชัย รัศมีจันทร์” รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เล่าว่า จากโครงการ “สามารถอินโนเวชั่น อวอร์ด” ที่จัดมากว่า 9 ปี เน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จนเมื่อ 2 ปี ที่แล้วจึงเปลี่ยนชื่อและเพิ่มดีกรีเรื่อง การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาอีก เพราะสมาร์ทดีไวซ์ได้รับความนิยม จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจหากพัฒนาสินค้าและบริการตอบโจทย์การใช้งานได้
“9 ปีแรกมีนวัตกรรมดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย เราคอยซัพพอร์ตห่าง ๆ แต่ครั้งนี้มีการจับนักพัฒนามาเจอกับ นักลงทุนโดยตรงอย่างกลุ่มอินทัช ทำให้การต่อยอดธุรกิจเป็นไปได้สูง”
ผู้ชนะจะได้เงินรางวัลมูลค่า 2 แสนบาท หรือเข้ารอบและมีแววต่อยอดได้กว่า 20 ราย จะได้ทุนรายละ 2 หมื่นบาท เวทีนี้เปิดกว้างในการส่งนวัตกรรม เข้ามาประกวดได้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแอปพลิเคชั่น ทั้งไม่ผูกมัดผู้ส่งผลงาน และมีหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า และซอฟต์แวร์พาร์คช่วยอีกแรง
ทีมที่เข้ารอบ 2 มี 26 ทีม จากผู้สมัคร กว่า 60 ทีม เมื่อเร็ว ๆ นี้เพิ่งเปิดเวทีให้ 9 ทีม พบนักลงทุน
“โล โค่อไลค์” เป็นทีมที่พรีเซนต์ ผลงานออกมาได้ดีที่สุด มีแผนต่อยอด ธุรกิจชัดเจน โดยเป็นการรวบรวมชุมชนที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นกว่า 700 แห่งมาแสดงบนเว็บไซต์และ แอปพลิเคชั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมค้นหาข้อมูลได้ง่าย ขึ้น
“สมศักดิ์ บุญคำ” 1 ในผู้ร่วมทีม เล่าว่า เริ่มเก็บข้อมูลในจังหวัดเชียงใหม่ ไปแล้ว 7 แห่ง อาจดูน้อย แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาโดยเปิดเว็บไซต์พร้อมให้ใช้งาน ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยว ต่างชาติเป็นกลุ่มเป้าหมาย มีทั้งการค้นหา ข้อมูลที่พักแบบโฮมสเตย์ หรือการทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านเพื่อศึกษาวัฒนธรรมง่ายขึ้น ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือ ชุมชนต่าง ๆ ให้มีรายได้อีกทางด้วย
ตัว เว็บไซต์เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนต่าง ๆ เมื่อมีการจองที่พักหรือสนใจกิจกรรมใด ๆ ผ่านเว็บไซต์จะมีการหักค่าใช้จ่ายบางส่วนโดย “โลโค่อไลค์” จะร่วมกับเว็บไซต์ท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อโปรโมตให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากขึ้น
“เราเป็นเว็บไซ ต์แรก ๆ ที่เจาะกลุ่มไปยังการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื้อหาในเว็บยังเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใช้งานได้เต็มที่ หากได้เงินทุนก็จะขยายกำลังคนในการออกสำรวจชุมชนกว่า 700 แห่งที่มีของดีเพื่อเอามาขึ้นเว็บ ซึ่งไม่ได้สร้างรายได้ให้เราอย่างเดียว แต่กระจายรายได้ไปยังชุมชนต่าง ๆ อีกด้วย”
ผู้ชนะในโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีจะเป็นใคร ต้องรอผลหลังนำเสนอ ผลงานรอบสุดท้าย 12 ต.ค.นี้
รายการอ้างอิง :
สตาร์ตอัพ ‘เถ้าแก่น้อย’. 2556. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 10 – 13 ตุลาคม.– ( 73 Views)