magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home NSTDA เกาะติด พีรพันธุ์ พาลุสุข ศึกษาเยอรมนี-สวิสใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ (2)
formats

เกาะติด พีรพันธุ์ พาลุสุข ศึกษาเยอรมนี-สวิสใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ (2)

ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีงบประมาณจำกัดในการทำวิจัยและพัฒนา จึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นเพิ่มมูลค่าสินค้า และผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น โดยเฉพาะ “สิ่งทอ”

การเดินทางไปเยือนยุโรปของ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จึงไม่พลาดโอกาสที่จะนำผู้บริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ไปเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบสิ่งทอนาโนชั้นสูง (Bi-component Nanofiber Pilot Plant) และชมตัวอย่างผลงานวิจัยสิ่งทอวัสดุนาโนเพื่อภาคอุตสาหกรรมและสังคม ที่สถาบันเอ็มป้า (EMPA) เมืองซังกาเล็น สมาพันธ รัฐสวิส เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดและยกระดับอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ชุมชนของประเทศไทย

ศ.นพ.ศิริฤกษ์ ทรงศรีวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า สวิตเซอร์แลนด์มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย เป็นประเทศขนาดเล็ก ที่เดิมมีความสามารถเชิงหัตถกรรม และสินค้าหลักมาจากฐานของหัตถกรรมแทบทั้งสิ้น แต่เมื่อต้องเผชิญกับภาวะค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไม่สามารถส่งออกไปแข่งขันกับประเทศที่สามารถ ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันแต่ค่าจ้างแรงงานถูกกว่าได้ ดังนั้น รัฐบาลสวิสจึงหันมาให้ความสนใจกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ปัจจุบันประเทศไทยก็ไม่ต่างกับสวิตเซอร์แลนด์ในอดีต

“สวิตเซอร์แลนด์ มีความก้าวหน้าด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาสิ่งทอชั้นสูงที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างเส้นใย 2 ชนิด หรือที่เรียกกันว่า Bi-component มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก” ศ.นพ.ศิริฤกษ์กล่าว

สำหรับสถาบันเอ็มป้านั้น มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้เช่นกัน อาทิ การผลิตหญ้าเทียมที่ให้คุณสมบัติคล้ายหญ้าธรรมชาติ ที่ผิวสัมผัสไม่บาดผิวหนัง หรือแม้แต่สิ่งทอที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า ซึ่งล่าสุดได้ผลิตเป็นผ้าปูเตียงที่ใช้กับเตียงผู้ป่วยอัมพาต เพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบบริเวณที่เกิดแผลกดทับ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตชุดกีฬา หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สามารถปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ถุงเท้าปลอดเชื้อโรค และล่าสุด มีการใช้เทคโนโลยีนาโนพลาสม่าที่ใช้ส่วนผสมของทองเข้าไปช่วยเพิ่มคุณสมบัติ สิ่งทอให้มีความพิเศษมากขึ้นอย่างไรก็ตาม การจะนำความสำเร็จจากงานวิจัยออกไปสู่เชิงพาณิชย์นั้น ต้องมีภาคเอกชนเข้าไปรับช่วงต่อเพื่อขยายตลาดสินค้าด้วยเสมอ แต่ที่สำคัญทุกชิ้นงานต้องให้ผ่านความมั่นใจด้วยว่าใช้แล้วปลอดภัยต่อชีวิต มนุษย์ และไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

“ศ.ฮาราลด์ ครุก” (Professer Harald Krug) ผู้อำนวยการสถาบันเอ็มป้า กล่าวว่า ยอมรับว่าสินค้านาโนที่อยู่ในตลาดวันนี้ มีทั้งที่ระบุว่าผสมนาโน และไม่ระบุว่าผสมนาโน ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น หน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์คือ ต้องพิสูจน์ให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีนี้มีความปลอดภัยจริง

“หน้าที่ของนัก วิทยาศาสตร์คือ การพิสูจน์ให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีนาโนมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวด ล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วในปัจจุบัน หรือที่กำลังจะนำออกสู่ตลาด จำเป็นต้องพิสูจน์ให้แน่ใจว่าปลอดภัยจริง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวดำเนินการภายใต้ข้อตกลงเพื่อความปลอดภัยในกลุ่มประเทศ ยุโรป”ศ.ฮาราลด์ ครุก กล่าว และว่า การติดตามผลการใช้ผลิตภัณฑ์นาโนยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเอ็มป้า อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยว่า สารนาโนจะตกค้างในร่างกายมนุษย์ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ โดยได้นำรกของทารกแรกเกิดที่คลอดจากแม่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์นาโนมาอย่างต่อเนื่อง มาตรวจพิสูจน์ว่าสารนาโนจะมีการตกค้างจากแม่สู่ลูกด้วยหรือไม่ คาดว่าจะทราบผลในเร็วๆ นี้

ปัจจุบันสถาบันเอ็มป้าให้การสนับสนุนองค์ ความรู้และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ทีมนักวิจัยของศูนย์นาโนเทค สวทช. นอกจากนี้ ประเทศไทยยังอยู่ในเครือข่ายทั่วโลกด้านงานวิจัยนาโนเทคโนโลยี โดยไทยเป็น 1 ใน 5 ของประเทศระดับโลก ที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและพัฒนา ด้านความปลอดภัยทางนาโนเทคโนโลยี ซึ่งทำงานร่วมกับหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และล่าสุด ไทยยังได้ริเริ่มจัดทำตราสัญลักษณ์ “นาโนมาร์ท” และ “นาโนคิว” ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีสารนาโนและยืนยันว่าใช้แล้วปลอดภัยจริง

นายพีร พันธุ์บอกว่า ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับสวิตเซอร์แลนด์ หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ จะพลิกโฉมสิ่งทอ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้อย่างมาก

เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีความสามารถในการใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐานในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลเยอรมนีทุ่มงบประมาณสำหรับวิจัยและพัฒนา มากถึงร้อยละ 2.84 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ขณะที่สวิสจัดสรรงบประมาณสำหรับวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สูงถึงร้อยละ 2.99 ของจีดีพี ส่วนประเทศไทย รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณด้านนี้เพียงร้อยละ 0.21 ของจีดีพีเท่านั้น แม้จะเป็นตัวเลขที่ทิ้งห่างกันมาก แต่รัฐบาลก็พยายามดำเนินการโดยตั้งเป้าเพิ่มงบประมาณด้านวิจัยเป็นร้อยละ 1 ของ จีดีพี ภายใน 5 ปี

รายการอ้างอิง :
น.รินี เรืองหนู.  2556. เกาะติด ‘พีรพันธุ์ พาลุสุข’ ศึกษาเยอรมนี-สวิส ใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ (จบ). มติชน (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่  6 ตุลาคม.
– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one + = 7

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>