ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวคิดเกี่ยวกับการ Outsourcing เป็นกระแสที่ทุกธุรกิจคิดว่า จะลงทุนไปกับเครื่องจักรไปทำไม ในเมื่อแรงงานราคาถูกของจีนสามารถทำงานได้เหมือนกันในราคาที่ถูกกว่า ทำลายตลาดแรงงานในสหรัฐอเมริกาอย่างยับเยิน
คนอเมริกันถูกแย่งงาน ไปเกือบ 6 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของแรงงานด้านการผลิตทั้งหมดในช่วงปี 2543-2553 จีนนำหน้าอเมริกาในฐานะผู้ผลิตสินค้ามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ดัง นั้น รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามาจึงถือว่าเป็นวิกฤติสำคัญ และเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องนำอเมริกากลับมาเป็นผู้นำเทคโนโลยีทางด้านการ ผลิตที่มีความก้าวหน้า (Advanced Manufacturing) ซึ่งต้องอาศัยความก้าวหน้าด้านการออกแบบ กราฟิกดีไซน์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และนาโนเทคโนโลยี ที่ได้เปรียบประเทศอื่น มาทำให้อเมริกากลับมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตและฐานการผลิตใหม่ของโลก อีกครั้ง นอกจาก GE แล้วอีกหนึ่งในตัวอย่างของบริษัทอเมริกันที่คิดเช่นนั้น ได้แก่ Intel ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ของโลก ถึงแม้จะครองส่วนแบ่งถึงร้อยละ 83 ของตลาดไมโครโพรเซสเซอร์ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แต่แทบจะไม่มีส่วนแบ่งการตลาดจากแทบเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งขายได้มากถึง 2 ใน 3 ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดทั่วโลกในปีที่ผ่านมา
อินเท ลจึงลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ที่เมือง Chandler มลรัฐอริโซนา ที่มีมูลค่าถึง 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท เพื่อผลิตชิปสำหรับโทรศัพท์มือถือและแทบเล็ตโดยเฉพาะที่กินไฟน้อยมากๆ เพื่อประหยัดแบตเตอรีนั่นเอง โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ 3 มิติ หรือ 3-D Transistor และด้วยความละเอียดสูงถึง 14 นาโนเมตร
ทั้งหมดที่อินเทลลงทุนไปก็เพื่อต่อกรกับคู่แข่งอย่าง ARM ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่กินไฟต่ำกว่าชิปของอินเทล และใช้การจ้างผลิตโดย TSMC ในประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้างผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกใน ปัจจุบัน
การที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง (Advanced Manufacturing) ในการผลิตชิป 3-D Transistor นี้เอง ที่เป็นอาวุธที่สำคัญที่ไม่มีบริษัทจะตามได้ทันในปีหลายปีข้างหน้า ดังนั้น แนวคิดเรื่องการกลับมายิ่งใหญ่ของอเมริกาโดยใช้การผลิตนำชาติ จึงถูกผลักดันอย่างมากจากรัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ถึงขั้นมีการประกาศนโยบายให้มี National Network of Manufacturing Innovation (NNMI) โดยให้เงินลทุนวิจัยในด้านการผลิตสมัยใหม่ มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้าน Manufacturing Innovation หลายต่อหลายแห่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานี้ และจะมีมากถึง 15 แห่งทั่วอเมริกา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า อเมริกาจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการผลิตของโลก
ผมก็เอาใจช่วย เพราะอยากซื้อสินค้าที่เป็น Made in USA อีกครั้ง
แหล่งที่มา : ดร.อดิสร เตือนตรานนท์. Made in USA กำลังกลับมา. 2556. กรุงเทพธุรกิจ (เทคโนโลยีปริทรรศน์). ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม.– ( 59 Views)