ระบบอัตโนมัตินั้นมีใช้กันมานาน แล้วในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือกลที่สามารถหยิบจับและเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วที่ เราเรียกกันว่า หุ่นยนต์ นั้น ก็มีใช้กันมานานแล้วเช่นกัน แต่หุ่นยนต์ในเชิงโรงงานไม่ได้มีหน้าตาเหมือนหุ่นอาซิโมที่ดูน่ารักน่าชัง คล้ายกับมนุษย์ ทว่ากลับทำงานทดแทนแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
ดู เหมือนว่า สภาวะของสังคมผู้สูงวัย จะเร่งพัฒนาการสาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จากความคิดเดิมที่สร้างนวัตกรรมเครื่องกลตรงนี้มาก็เพื่อทดแทนการใช้แรงงาน ลดต้นทุนในระยะยาว รักษาประสิทธิภาพการผลิต ลดของเสีย ฯลฯ รวมถึงการใช้งานในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ทันสมัยสำหรับคุณหมอเพื่อช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลคนไข้
แรก เริ่มนั้น คุณหมอทั่วไปใช้มือไม้ ของตัวเองในการรักษา ยิ่งทำมากยิ่งเก่ง แต่อวัยวะภายในของมนุษย์นั้นละเอียด ซับซ้อน และมีขนาดเล็กถึงเล็กมากที่สุด คุณหมอจะเก่งแค่ไหนก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง มีตัวช่วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลหลายต่อหลายแห่งในประเทศไทยได้นำเอาหุ่นยนต์ทางการแพทย์มาช่วยใน งานผ่าตัดต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ที่มีชื่อเรียกว่า da Vinci ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วย โรคหัวใจและผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในโรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลศิริราช นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์แมวน้ำชื่อ Paro ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยบำบัดเด็กออทิสติก ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือ ของ NECTEC, FIBO สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
มีคำถามว่า แล้วหุ่นยนต์จะมาแทนที่หมอได้หรือ?
ผม คิดว่า คงอีกนานมากครับกว่าจะมี วันนั้นจริงๆ ส่วนอนาคตอันใกล้ถึงอนาคต ที่ยาวออกไปปานกลาง คงมีหมอที่เป็นมนุษย์ทำการรักษาเป็นหลักครับ โดยมีหุ่นยนต์เป็นเพียงเครื่องมือที่จะมาช่วยให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่าง สะดวก ผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดที่เล็กลง และใช้ระยะเวลาพักฟื้นสั้นลง อันเป็นประโยชน์ในเชิงประสิทธิภาพของการรักษาพยาบาล การตัดสินใจวินิจฉัยรักษา ล้วนยังคงเป็นคุณหมอปกติที่จะต้องเป็น ผู้ทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยตนเอง และทำการวินิจฉัยด้วยตนเองอยู่ครับ
สิ่ง ที่บางคนคาดคิดแบบออกจะ หวาดกลัวเล็กน้อยนั้น ก็อาจเป็นจริงได้ เพราะว่าต้นทุนการสร้างคุณหมอที่เก่งๆ ขึ้นมา คนหนึ่งนั้นใช้ระยะเวลายาวนานมาก และในอนาคตคนรุ่นใหม่ที่จะมาเรียนหนังสือก็ลดลงเพราะประชากรไม่เพิ่ม ส่วนคนรุ่นเก่าก็ตายยากมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ดี เมื่อคนรักษามีจำนวนน้อยกว่าคนป่วย ก็เป็นไปได้อย่างสูงที่วันหนึ่งเราอาจมีหุ่นยนต์มาทำการรักษาเราจริงๆ แล้วทำการวินิจฉัยให้ เราเบ็ดเสร็จ
ผม เคยเล่าเรื่องของ “คุณวัตสัน” ไปแล้วครั้งหนึ่ง คุณวัตสันแกไม่ใช่คน แต่เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ประมวล สรุปผล และเสนอทางเลือกให้เรา คุณวัตสันนี้ ฉลาดวันฉลาดคืน ในอนาคตอันใกล้เราคง มีโอกาสได้เห็นคุณวัตสันสามารถโต้ตอบ คิด และวิเคราะห์ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มาก เรื่องปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นอนาคตที่สำคัญมาก และเป็นสาขาวิชาชีพที่น่าจะทำมาหาเงินได้ดีมากในอีกสิบถึงยี่สิบปีข้างหน้า
เมื่อ วิศวกรรมเชิงกลไม่ใช่เรื่องยากอีก ต่อไปแล้ว เราสามารถย่อชิ้นส่วนให้เล็กลงได้ด้วยนาโนเทคโนโลยี ผสมกับความสามารถในการประมวลและวิเคราะห์ผล ก็เป็นไปได้อีกเช่นกันที่วันหนึ่ง เราอาจบริโภคหุ่นยนต์รักษาโรคแทนการบริโภคยา เพราะหุ่นยนต์ที่มีขนาดเท่าเม็ดยาสามารถเดินทางไปในร่างกายเรา ทำการค้นหาสาเหตุ กำหนดสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล แล้ววิเคราะห์ว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีการไหนดี
อย่า เพิ่งคิดว่าจะเสี่ยงไหมเลยครับ เพราะกว่าจะถึงวันนั้น พวกเราอาจตายกันไปหมดแล้วก็ได้ นอกจากนี้ กว่าที่ของแบบนี้จะออกมาสู่ตลาดได้จริงๆ ก็ยังต้องให้คนนี้แหละเป็นคนตัดสินว่า จะขายไหม ขายเมื่อไหร่ ราคาเท่าไหร่ แล้วผู้บริโภคก็จะยังคงมีสิทธิเลือกบ้างว่า จะเอาของเจ้าไหน ถ้าหากว่ามันทำกันหมดทุกเจ้า โดยเลิกผลิตยาแผนปัจจุบันกันจนหมด
วันข้างหน้าเราจึงจะมี ยาแผนอนาคต แพทย์แผนอนาคต เต็มไปหมดแน่นอน ส่วนยาแผนปัจจุบันก็อาจกลายเป็นยาแผนโบราณไปในที่สุด
อัน ที่จริง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เข้าข่ายเป็นหุ่นยนต์นั้นมีใช้งานจริงแล้วมากมาย ทั้งใช้กับภายในร่างกายมนุษย์และภายนอกร่างกายมนุษย์ แนวทางของการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ก็ล้วนมุ่งไปในทิศทางที่ต้องการให้ เกิดแผลที่เล็กที่สุด เรียกกันว่า non invasive คือ ไม่พยายามจะเปิดปากแผลให้มันใหญ่นัก เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่เกิดแผลเป็นจนดูไม่งาม ดังนั้น หุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ใช้กับเรื่องผ่าตัด จึงไม่ได้มีเยอะ เพราะมันต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ประกอบกับต้องมีความละเอียดแม่นยำหรือมี precision สูงมาก กว่าจะผ่านมาตรฐานออกมาได้ ต้องทดลองทดสอบจนมั่นใจ
ส่วนใหญ่เราจึงได้แต่นำเข้าหุ่นยนต์ เหล่านี้มาจากต่างประเทศครับ ทั้งด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยีและเรื่องมาตรฐานผสมผสานกัน
ส่วน ในประเทศเราส่วนมากจะเป็นการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ใช้ภายนอกร่างกาย ซึ่งก็มีหลายมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยมุ่งพัฒนากันอย่างจริงจัง
สิ่ง ที่ขาดไปเวลานี้คือ การพัฒนาสมองให้กับหุ่นยนต์ครับ นักวิชาการบ้านเราเวลาพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์กันมักจะเป็นทีมงานผสม ระหว่าง วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ ทำให้เราได้ผลงานที่เป็นเชิงกลออกมาได้ค่อนข้างสมบูรณ์ เพียงแต่เวลามองทางด้านการใช้งานแล้ว มันน่าเอาไปทำอะไรได้หลายอย่าง
โดย เฉพาะส่วนที่เป็นแอพพลิเคชั่น หรือการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้สามารถนำไปใช้งานได้ อย่างหลากหลาย นับเป็นหัวใจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่วงการวิจัยบ้านเราควรเร่งพัฒนาอย่างมาก
เรื่อง ของหุ่นยนต์ทางการแพทย์จึงไม่ใช่ เรื่องเทคโนโลยีที่เป็นฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียว เพราะมันยังมีศักยภาพและความสามารถที่จะขยายผลไปสู่การใช้งานใน ด้านอื่นได้ด้วย หากมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชิงซอฟต์แวร์ประกอบ
ผมใบ้หวยว่าสิ่งที่น่าสนใจและน่าจะเป็นตลาดของการพัฒนามีดังนี้ครับ
1.กลุ่มแอพพลิเคชั่นสำหรับหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล และ การแพทย์ฉุกเฉิน (clinical and emergency use)
2.กลุ่มแอพพลิเคชั่นสำหรับหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย (rehabilitation use)
3.กลุ่มแอพพลิเคชั่นสำหรับหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อผู้สูงอายุ และผู้พิการ (elder and disabled use)
หวังว่าคงถูกใจผู้ประกอบการนวัตกรรมทั้งหลาย
รายการอ้างอิง :
ปรีดา ยังสุขสถาพร. หุ่นยนต์ทางการแพทย์. 2556. กรุงเทพธุรกิจ (นวัตกรรมบริการ). ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม.– ( 620 Views)