magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ‘รถตัดอ้อยสามารถ’ผลงานนักวิจัยจีโนมคว้านักเทคโนโลยีดีเด่นปีนี้
formats

‘รถตัดอ้อยสามารถ’ผลงานนักวิจัยจีโนมคว้านักเทคโนโลยีดีเด่นปีนี้

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่โรงแรมพูลแมน  คิง เพาเวอร์  มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  แถลงข่าวรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2556 โดย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน  ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ  เปิดเผยว่า  ปัจจุบันประเทศไทย อยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศและขาดอำนาจการต่อรองมูลนิธิ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ เห็นความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นอัตราการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาของประเทศอย่างเร่งด่วน  จึงจัดมีการมอบรางวัล นักเทคโนโลยีดีเด่น และรางวัล”นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่”  ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545  คู่ขนานไปกับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับปีนี้รางวัล ดังกล่าวได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก   โดยมีผลงานที่ได้รับการเสนอชื่อกว่า 70 ผลงานทั้งนี้ผลงานที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2556 มืทั้งสิ้น 2 ทีม คือ ทีมนายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ หุ้นส่วนผู้จัดการ  และนายวิฑูร ลี้ธีระนานนท์  วิศวกรออกแบบและควบคุมการผลิต ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถเกษตรยนต์   คณะผู้ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีรถตัดอ้อยที่มีกระบะบรรจุท่อนอ้อยทำงานแบบ อัตโนมัติ ครั้งแรกในโลก  และทีมดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการสถาบันจีโนมแห่งชาติ และคณะ จากห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจีโนมใน ควบคุมคุณภาพสินค้าในการส่งออกอาหารและการปรับปรุงพันธุ์พืชอายุยืนแบบก้าว กระโดด

ส่วนรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2556 คือ  ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน  หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมโลหะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลงานวิจัยการออกแบบวัสดุโดยใช้หลักการทางอุณหพลศาสตร์และการปรับปรุง โครงสร้างเชิงโลหะวิทยาเพื่อพัฒนาระบบโลหะผสมและคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับไทย

ดร.สมวงษ์  ตระกูลรุ่ง   ผอ.สถาบันจีโนมแห่งชาติ ฯ เปิดเผยว่าการใช้เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์  สามารถช่วยประเทศได้ทั้งด้านการส่งออกกฎหมายและการป้องกันการกีดกันทางการ ค้า โดยช่วยให้ไทยสามารถตรวจสอบการปลอมปนอาหาร และสิ่งมีชีวิตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจสอบการปลอมปนข้าวสารได้ทุกสายพันธุ์เทคโนโลยี การตรวจสอบการปนเปื้อนของพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ และเทคโนโลยีตรวจสอบการปนเปื้อนเนื้อวัวในอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารสัตว์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าเข้ามาในประเทศไทยนอกจากนี้เทคโนโลยี ดังกล่าวยังสามารถใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ได้อย่างรวดเร็วเช่นการ ปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จากปกติที่ใช้เวลา 15-20 ปีเหลือเพียง 5-8 ปีเท่านั้น

รายการอ้างอิง :
‘รถตัดอ้อยสามารถ’ผลงานนักวิจัยจีโนมคว้านักเทคโนโลยีดีเด่นปีนี้. 2556. พิมพ์ไทย. ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม.– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × = twelve

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>