“ยิ่งลักษณ์”สั่งบูรณาการงานวิจัยใช้ประโยชน์พัฒนาประเทศ มอบ “คอบช.” จัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน ก่อนต่อยอดพัฒนาพืชเกษตรนำร่อง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการวิจัยของประเทศไทย โดยขณะนี้ได้มีการรวบรวมผลงานวิจัยจากหน่วยงาน 6 ส. ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นเครือข่ายองค์การบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือเรียกว่า คอบช.
โดย พบว่าหน่วยงานดังกล่าวมีงานวิจัยรวมกันถึง 178,764 รายการ มีนักวิจัย 112,125 คน ซึ่งในขณะนี้ได้มีความพยายามในการลดความซ้ำซ้อนของการวิจัย สามารถนำไปต่อยอดใช้ได้จริง ด้วยการให้ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนดทิศทางและปรับพันธกิจให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน และตั้งเป้าหมายการวิจัยที่มุ่งเกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและพัฒนาชุมชนต่อ ไป
ทั้งนี้นายกฯแสดงความเห็นว่างานวิจัยของภาครัฐมีอยู่เป็นจำนวน มาก จำเป็นต้องนำมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมถึงการนำงานวิจัยไปพัฒนาภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร และได้ให้แนวทางในการทำงานของคอบช.ว่าการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์กับประเทศ ต้องมุ่งเน้นการตอบโจทย์ในการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก
โดยมี การกำหนดพืช 4 ชนิดที่จะต้องให้ความสำคัญกับการและมีการนำร่องการวิจัยคือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย รวมทั้งให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี เพราะในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องต้นทุนการบริหารจัดการสูง แต่ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ดังนั้นจึงต้องหาทางในการนำงานวิจัยไปเสริมกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่า
ขณะ เดียวกันได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดรูปแบบการศึกษาในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน ในการประยุกต์ผลงานวิจัยมาใช้ และต่อยอดด้วยกองทุนตั้งตัวได้ต่อไป
นอก จากนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งปรับปรุงเว็บไซต์ www.tnrr.in.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมงานวิจัยให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาจับคู่กับงานวิจัยเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ หามาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีหากต้องการมีการนำงานวิจัยไปต่อยอด
ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เตรียมเสนอให้รัฐบาลขยายสิทธิพิเศษในการจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ด้วยการขยายสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี โดยภาคเอกชนพร้อมที่จะต่อยอดงานวิจัยของภาครัฐให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์อย่าง เต็มที่
นำงานวิจัยมาพัฒนาเอสเอ็มอีเน้นช่วยลดต้นทุนในการผลิต
รายการอ้างอิง :
“ยิ่งลักษณ์”สั่งบูรณาการงานวิจัยใช้เชิงพาณิชย์. 2556. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 ตุลาคม.– ( 74 Views)