magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก Save the World Save Us พัฒนาพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโครงการหลวง
formats

Save the World Save Us พัฒนาพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโครงการหลวง

ปัจจุบันโครงการหลวงมีการใช้พลาสติกชนิดต่างๆ ในอุตสาหกรรมเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะพันธุ์กล้าไม้และผัก แปลงเพาะปลูก และบรรจุภัณฑ์ของโครงการหลวง ซึ่งในแต่ละปีทางโครงการหลวงมีการใช้พลาสติกทุกประเภทประมาณ 230,000 กิโลกรัมต่อปี (ข้อมูลปี 2555) และบางส่วนไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือตกค้างอยู่บนพื้นที่ของโครงการหลวง จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน พื้นที่โครงการหลวงซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ PTTGC โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาพลาสติก เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรตลอดจนถึงการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผล ผลิตทางการเกษตร อันเป็นการแสดงเจตนารมณ์และความร่วมมือสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกสู่ ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการดังกล่าว ทางมูลนิธิโครงการหลวงเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้ใช้แปลงทดลองของโครงการเป็น ที่ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในขั้นตอน เพาะปลูกและบรรจุภัณฑ์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของโครงการ โดยมีสกว.ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัย โดยสนับสนุนค่าจ้างที่ปรึกษาด้านงานวิจัยในการพัฒนาพลาสติกโดยได้ที่ปรึกษา จาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) และมหาวิทยาลัยนเรศวร และ PTTGC สนับสนุนเม็ดพลาสติกเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติก และพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต ล่าสุดทั้ง 3 หน่วยงานร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโครงการหลวง ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งความร่วมมือในโครงการ Green Project : Save the World, Save Us by Green Technology

โครงการดังกล่าวเริ่มมาจากแนวคิดที่จะควบ คุมการย่อยสลายของถุงปลูก ถุงเพาะ พลาสติกคลุมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช โดยพัฒนาส่วนผสมของไบโอพลาสติกที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างถุงปลูกที่มีการปรับส่วนผสมจนได้ถุงที่คงรูปได้ 2-4 เดือน แต่มีการย่อยสลายบางส่วนทำให้รากแทงทะลุออกมาได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อปลูกในดินหรืออาหารเหลว ถุงจะย่อยสลายกลายเป็นอาหารพืชต่อไป โดยไม่กระทบต่อการเจริญเติบโต เป็นต้น

“เราปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญด้านการพัฒนา ประเทศและสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม ซึ่งเราเองก็ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นในการใช้พลาสติกในการเพาะปลูกจำนวนมากอีกด้วย” อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวและว่า

PTTGC ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยรวมถึงสนับสนุนเม็ดพลาสติกของบริษัท เพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติก และพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยจากสกว. และมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีของบริษัท ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โครงการหลวง

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์และความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกสู่ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

รายการอ้างอิง :
2556. Save the World Save Us พัฒนาพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโครงการหลวง. ฐานเศรษฐกิจ (SCOOP), ฉบับวันที่ 17 – 19 ตุลาคม.– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>