ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เตรียมที่จะขยายการบริการไปสู่กลุ่มเวชสำอาง ซึ่งเป็นอีกช่องทางสำหรับ รายย่อย โดยงบประมาณในปี 2557 งวดแรก 120 ล้าน สำหรับการเกิดศูนย์ต้นแบบเวชสำอางได้เดินทางมาถึงแล้ว และกำลังจะดำเนินการยกระดับจากห้องปฏิบัติการไปสู่การเป็น “ศูนย์ต้นแบบ” และเตรียมจะดำเนินการภายในกลางเดือน พฤจิกายน 2556 นี้
รวมทั้ง การขับเคลื่อนอีกหลาย ๆ เรื่อง เพื่อที่จะทำให้เวชสำอางในบ้านเรา โดยเฉพาะรายย่อยเข้าถึงได้จริงเสียที ประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ สัมภาษณ์ ศ.น.พ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ถึงทิศทางในการสนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีเวชสำอางในด้านเทคโนโลยี ทำไมถึงหันมาพัฒนากลุ่มเอสเอ็มอีเวชสำอาง
ต้องยอมรับว่าตลาด เครื่องสำอางไทยมีมูลค่าสูงถึง 2.1 แสนล้านบาท ตลาดภายในประเทศสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60 และส่งออก 90,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 และกว่า 70% เป็นเอสเอ็มอี
แต่อุปสรรคของเอสเอ็มอีก็คือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เช่น เมื่อนำใช้ไปแล้วได้ผลจริงหรือไม่ เป็นพิษหรือไม่ อุปสรรคในกลุ่มเวชสำอาง เอสเอ็มอีไม่มีข้อมูล ไม่สามารถเข้าถึงมาตรฐาน ทำให้ต้องผลิตและขายกันแบบเป็นรายย่อย ๆ อย่างที่เราเห็น
ประการที่สอง เทคโนโลยีในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย เราเน้นไปที่เวชสำอางที่ทำจากสมุนไพรไทย ที่ผ่านมา มักประสบปัญหา คือความไม่คงทนไม่แน่นอน เช่น เราเอาน้ำมันมะพร้าวมาทำเป็นเวชสำอาง สามสี่วันสีเปลี่ยน เมื่อโดนความร้อน ความชื้น แสงแดด ดังนั้น คนจำนวนมากไม่ใช้เพราะไม่ได้ผล
วงจรตรงนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย จะมีแต่แชมพู สบู่ แต่ในยุคใหม่จะมีซีรั่ม
ครีม บีบีครีมฯ ผู้ผลิตเอสเอ็มอี จะทำได้แค่สบู่ แชมพู เพราะ ข้อจำกัดดังกล่าว
สาม ในแง่การขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับสุขภาพ จะต้องมีเครื่องหมาย อย. มีกระบวนการรับรองคุณภาพ เอสเอ็มอีไม่มีทางทำได้ เพราะราคาแพงมาก และใช้เวลานาน
ตอนนี้โรงงานต้นแบบถึงไหนแล้ว ได้งบประมาณเรียบร้อยแล้ว แบ่งเป็นสองระยะ ระยะแรก 120 ล้าน ในงบฯก้อนนี้ จะมีสถานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จีเอ็มพี และสามารถผลิตต้นแบบอนุภาคนาโน มาเป็นส่วนประกอบเวชสำอาง ภูมิปัญญาไทยที่มีปริมาณเพียงพอ ผู้ประกอบการสามารถเอาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ และกระบวนการส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ และแต่ละรายจะแตกต่างกัน โดยศูนย์จะเริ่มปรับปรุงในเดือน พ.ย. และจะแล้วเสร็จราวกลางปี 2557 นี้
ส่วนระยะที่สอง งบประมาณ 2559 จะเป็นการยกระดับให้มีเทคโนโลยี ในระดับที่สูงขึ้น เช่น สำหรับนักกีฬา หรือเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
ที่ ผ่านมาทางศูนย์ได้ให้คำปรึกษา และพัฒนาในกลุ่มเวชสำอาง อาทิ ผลิตภัณฑ์โลชั่นน้ำมันรำข้าวนาโน ร่วมกับมูลนิธิ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ แป้งผิวเนื้อโลชั่น แป้งฝุ่น แป้งอัดแข็งและแป้งฝุ่นศรีจันทร์ ให้มีคุณสมบัติ ล้างออกง่าย ร่วมกับบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ครีมรองพื้นอนุภาคนาโนผสมสารสกัดสมุนไพรบำรุงผิวต้านริ้วรอย ทำให้ผิวกระจ่างใส และป้องกันแสงแดด ร่วมกับองค์การเภสัชกรรมผ้าปิดแผลที่เคลือบด้วยอนุภาคโลหะหรือโลหะออกไซด์ ขนาดนาโนเมตร ที่ปราศจากเชื้อ มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของบริษัท บางกอกโบตานิกา จำกัด ในส่วนของวันสต็อปเซอร์วิส หมายถึงอย่างไร
เรา ตั้งใจจะทำให้เป็นวันสต็อปเซอร์วิส ตั้งแต่เรื่องกระบวนการให้คำปรึกษาและพัฒนาจะเป็นหน้าที่ของเรา จากนั้นเราจะเชื่อมกับทีซีดีซี ในเรื่องการออกแบบแพ็กเกจจิ้ง และกระทรวงพาณิชย์ทำเรื่องการส่งออก การตลาด
ในวันสต็อปเซอร์วิส เราจะมีผลิตภัณฑ์ เซรั่ม ครีม เจล โฟม แชมพู ที่เราจะทำการผลิตได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่ทำอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์หลักมุ่งไปที่ผู้ประกอบการรายย่อย ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีชั้นสูง
ซึ่งในกระบวนการผลิต เอกชนไม่กล้าไปใช้ที่อื่นเพราะกลัวความลับรั่วไหล เช่น จะผลิตด้วยอะไร วัตถุดิบคืออะไร ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามาปิดตรงนี้ เมื่อเราดูจนเติบใหญ่ จนเขาพร้อมที่จะตั้งโรงงานเรามีบริการพร้อมทั้งเรื่องกฎหมายสัญญา กระบวนการในการดูแลความลับของลูกค้าผู้ประกอบการในแต่ละ
ราย เราได้แยกลูกค้าแต่ละคนไว้ ต่อไปลูกค้าสามารถดำเนินการ ทางกฎหมายต่อผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้เลย
รายการอ้างอิง :
2556. ‘นาโนเทค’ชูวันสต็อปเซอร์วิสเปิดศูนย์เวชสำอางเพื่อ SMEs. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 17 – 20 ตุลาคม.– ( 102 Views)