หนังสือ เรื่อง มองความคิด ผ่านเรื่องวิทย์ ในสื่อไทย ซึ่งสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) จัดทำขึ้น โดยการรวบรวมบทสัมภาษณ์จากนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 17 ท่าน ได้แก่
- นายแพทย์ประเวศ วะสี (ยุทธศาสตร์โทรทัศน์กับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
- ดร. นิธิ เอียวศรีวงษ์ (“วิทย์ฯ” แบบไทยๆ)
- ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ (“วิทยาศาสตร์” วิญญาณที่ถูกลืม)
- รศ. ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล (“ภูมิวิทยาศาสตร์ จะคุ้มกัน “ความคิด” คนไทยอย่างไร?)
- บำรุง ไตรมนตรี (การสื่อสารวิทยาศาสตร์ โอกาสรอดของวิทยาศาสตร์ในสังคม)
- ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล (เศรษฐกิจพอเพียง วิทยาศาสตร์แห่งการพัฒนา)
- รออีม ปรามาท (วิทยาศาสตร์ในงานเขียนสู่งานหน้าจอโทรทัศน์)
- วินทร์ เลียววาริณ (วิทยาศาสตร์ จินตนาการ/สร้างสรรค์)
- ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (วิทยาศาสตร์ไทย คิดให้ได้ ก้าวให้ไกล และไปให้ถึง)
- ปราโมทย์ วิทยาสุข (ความอยากเรียนรู้กับอุปสรรคการศึกษาวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย)
- ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล (“เศรษฐศาสตร์” ของ “วิทยาศาสตร์” ในสังคมไทย)
- อธิคม คุณวุฒิ (อ่าน เขียน “วิทยาศาสตร์” ในกรอบบริบทสังคมยุคใหม่)
- วิภว์ บูรพาเดชะ (“อ่าน” วิทยาศาสตร์ ใน “มุมคิด” คนรุ่นใหม่)
- อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (“วิทยาศาสตร์ศิลปะ” จินตนาการมาก่อนเหตุผล)
- รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม (“ประวัติศาสตร์” ของ “วิทยาศาสตร์” ในสังคมไทย)
- ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม (วิทยาศาสตร์เกษตร: ห้องเรียนธรรมชาติ เพื่อการพึ่งพิงพึ่งพาตนเอง)
- พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ถามเรื่อง “วิทย์ฯ” ตอบเรื่อง “พุทธ” สังคมพุทธไทยกับวิทยาศาสตร์)เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในมิติต่างๆ ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคของรายการวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เพราะรายการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้รับความนิยมจากผู้รับชม มุมมองของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรากฏในหัวข้อที่เขียนไว้นั้น สะท้อนแนวคิดวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยตามบริบทของแต่ละท่านได้น่าสนใจจริงๆ
– ( 81 Views)