เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย “เรามอบความรู้คู่ความบันเทิง” ครั้งที่ 9 หรือ Science Film Festival 2013 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบในด้านพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีได้พยายามที่จะขับเคลื่อนให้นักเรียนไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทัดเทียมกับนานาชาติ ซึ่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอน รูปแบบหนึ่งที่ตระหนักก็คือภาพยนตร์ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วย
ให้ผู้เรียนเข้า ใจเนื้อหาสาระได้ง่าย
เนื่องจากภาพยนตร์ให้ทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหว ทำให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ให้เกิดมากขึ้นในสังคมไทย มีความตระหนักว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเกิดความคุ้นเคยกับวิทยาศาสตร์แล้วผลที่ได้รับในทางอ้อมก็คือ การขจัดความหวาดกลัวที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และจะได้มองว่าวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด การใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อนั้นนอกจากจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินพร้อมทั้งสาระความรู้อันจะนำไปสู่โลกและสังคมแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต
สสวท. ได้ร่วมมือกับสถาบันเกอเธ่ และสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ในการดำเนินการจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อมาได้มีหน่วยงานหลักเพิ่มเติมคือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และบริษัทไบเออร์ไทยจำกัด และหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมในการสนับสนุนการจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ทุกปี
วัตถุประสงค์
- เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ให้ครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเกิดความคุ้นเคยและได้เรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์มากขึ้นอย่างแพร่หลาย
- เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และพัฒนากระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทย ครูและประชาชนทั่วไปชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จากนานาชาติ
- เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง สสวท. หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยและหน่วยงานต่างชาติ ในการร่วมกันพัฒนาเยาวชนของชาติทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- เพื่อกระตุ้นให้วงการภาพยนตร์ องค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน หันมาสนใจผลิตภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
ในปี 2556 ได้คัดสรรภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ จากผู้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วมประกวดจากทั่วโลกจำนวนกว่า 200 เรื่อง จาก 40 ประเทศ และภาพยนตร์ได้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายเพื่อให้ฉายในงานเทศกาลฯ ของไทย มีทั้งสิ้นจำนวน 26 เรื่อง จาก 14 ประเทศ ได้แก่
- ออสเตรีย จำนวน 3 เรื่อง
- เบลเยี่ยม จำนวน 1 เรื่อง
- กัมพูชา จำนวน 1 เรื่อง
- ฝรั่งเศส จำนวน 3 เรื่อง
- เยอรมัน จำนวน 8 เรื่อง
- อินโดนีเซีย จำนวน 1 เรื่อง
- มาเลเซีย จำนวน 1 เรื่อง
- พม่า จำนวน 1 เรื่อง
- นิวซีแลนด์ 1 เรื่อง
- ฟิลิปปินส์ จำนวน 1 เรื่อง
- ไต้หวัน จำนวน 2 เรื่อง
- ไทย จำนวน 2 เรื่อง
- เวียดนาม จำนวน 1 เรื่อง
- และสี่ประเทศร่วมลำน้ำโขง คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อีกจำนวน 1 เรื่อง
พิธิเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2556 จัดที่โรงภาพยนตร์ SF Cinema เซ็นทรัลพระราม 9 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 โดยภาพยนตร์ที่ได้รับเลือกให้ฉายในวันเปิดงานคือเรื่อง “Chasing Ice” เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับธารน้ำแข็ง มีความยาวประมาณ 75 นาที
รายชื่อศูนย์จัดฉายเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 พ.ศ.2556
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และมูลนิธิต้นไม้สีเขียว
- นานมีบุ๊คส์ เลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ สุขุมวิท 31
- โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศาลายา นครปฐม
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (สำรองที่นั่งได้ที่ 0 2564 7000 ต่อ 1177, 71185, 71186 หรือ www.nstda.or.th/sci2pub
- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เทคโนโลยี คลอง 5
- จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจามจุรีแสควร์ สามย่าน
- อุทยานการเรียนรู้ TK Park อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด ชั้น 8 Dazzle Zone
- อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช
สสวท. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) และ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 15 แห่งทั่วภูมิภาค
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) BTS เอกมัย
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี
- อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
– ( 104 Views)