magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข ‘ไข่ต้มสมุนไพร’ นวัตกรรมอาหารยามวิกฤต
formats

‘ไข่ต้มสมุนไพร’ นวัตกรรมอาหารยามวิกฤต

ภาพน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดขณะนี้ สถานการณ์ที่ยากลำบากจากปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลยิ่งทำให้การดำรงชีวิตของผู้ประสบภัยมีความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ “อาหาร” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพจำเป็นต้องสะดวกต่อการบริโภค

ขณะเดียวกันคุณค่าทางอาหารยังคงเป็นปัจจัยที่จำเป็น ทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เพื่อผลิตอาหารที่สามารถรับประทานได้ง่ายทุกเวลาไม่ยุ่งยากในการปรุงและไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับช่วงเวลาวิกฤตในขณะนี้ ความจำเป็นทางอาหารดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตอาหารชั้นนำของไทยเดินหน้าคิดค้นอาหารที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยในฐานะที่ผู้ผลิตอาหารชั้นนำของไทยและระดับโลก บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ บริษัทฯยังเดินหน้าไม่หยุดยั้งในการพัฒนาอาหารนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค

อาหารรีทอร์ท (Retorted Food) เป็นการค้นคว้าเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่มุ่งเน้นคุณค่าและความปลอดภัยของอาหารควบคู่ไปความสะดวกสบาย

หลายคนอาจจะสงสัยว่าอาหารรีทอร์ท คืออะไร อาหารรีทอร์ทนับเป็นเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่สามารถปกป้องอาหารที่บรรจุอยู่ภายในให้คงคุณภาพ และมีคุณค่าทางอาหารไม่ต่างจากอาหารปรุงสุกใหม่ โดยอาหารที่ผลิตได้จะถูกบรรจุในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทหลากหลายรูปแบบ

ซีพีเอฟมุ่งคิดค้นและพัฒนารูปแบบของการบรรจุในซองอะลูมิเนียมที่เรียกว่ารีทอร์ท เพ้าช์ (Retort pouch) จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแบบสเตอริไลเซชั่น ด้วยความร้อนภายใต้แรงดันและความร้อนสูงตามมาตรฐานที่กำหนด โดยไม่ต้องใส่สารกันบูด ผลิตภัณฑ์อาหารรีทอร์ท จึงสะอาด ปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติได้นานถึง 12-18 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น

นางพรทิพย์ เดชเกรียงไกรกุล รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจการอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า เมื่อแรกเริ่มนั้น ซีพีเอฟนำเอานวัตกรรมอาหารรีทอร์ท นี้มาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเมนูไทยๆ สำหรับการส่งออก เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของการใช้ถุงรีทอร์ทในการบรรจุ ทำให้สามารถเก็บอาหารได้ในอุณหภูมิห้อง โดยไม่ต้องแช่เย็นหรือแช่แข็ง ที่สำคัญยังลดพื้นที่การขนส่ง จึงช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ อาหารรีทอร์ทไม่ได้อำนวยความสะดวกเฉพาะสถานการณ์อุทกภัยนั้น แต่ยังเหมาะสำหรับนักเดินทาง ทีมสำรวจต่างๆ ที่ต้องรอนแรมไปในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานานและไม่สามารถหุงหาอาหารได้ตามปกติ

จากภาวะวิกฤตมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 และอุทกภัยในปีนี้ ซีพีเอฟ ได้เร่งระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือ ด้วยการตั้งโรงครัวในหลายพื้นที่ เพื่อปรุงอาหารนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย อาหารรีทอร์ทพร้อมรับประทานบางเมนู เช่น แกงเขียวหวานไก่ ผัดกะเพรา พะแนงไก่ และข้าวสวยและรวมถึงไข่ต้มสมุนไพร ที่เหมาะต่อประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมเข้าไปช่วยเหลือ

“ในช่วงเวลานั้นผู้บริหารของซีพีเอฟได้ตั้งวอลล์รูมติดตามสถานการณ์แบบวันต่อวัน และมีนโยบายให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงที่สุด จึงนำอาหารรีทอร์ทพร้อมทาน สะดวก สะอาด รวมทั้งไขต้มสมนุไพร ตรา ซีพี ที่อร่อย เข้าไปแจกจ่ายประชาชน” นางพรทิพย์ กล่าว

รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวอีกว่า สำหรับจุดเด่นของอาหารไทยในถุงรีทอร์ท ที่ทำให้ผู้บริโภคติดอกติดใจจนได้รับเสียงตอบรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน อยู่ที่คุณภาพจากรสชาติและกลิ่นที่ดีกว่าอาหารที่บรรจุในกระป๋อง เนื่องจากอาหารรีทอร์ทใช้เวลาในการฆ่าเชื้อโรคสั้นกว่า ขณะที่หากนำไปอุ่นร้อนอาหารก็จะไม่สูญเสียรสชาติ

นอกจากนี้ การขนส่งอาหารรีทอร์ทยังสะดวกและประหยัดพื้นที่ เพราะถุงมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงทนทาน ทั้งยังมีการปิดซองที่สนิทแน่นช่วยป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าไปในถุงจึงไม่มีการปนเปื้อน จึงบริโภคได้อย่างปลอดภัย

“อีกส่วนหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้เลย คือความสะดวกในการรับประทาน เพียงฉีกซองก็สามารถรับประทานได้เลย หรือหากจะอุ่นร้อน ด้วยการนำถุงอาหารลงไปต้มในน้ำเดือด ใช้เวลาประมาณ 6-8 นาที ส่วนการอุ่นด้วยไมโครเวฟ ต้องฉีกซองแล้วใส่อาหารลงในภาชนะ ใช้เวลาอุ่นประมาณ 2-3 นาที เพียงเท่านี้ก็ได้อิ่มอร่อยกับอาหารในรสชาติแบบต้นตำรับ” นางพรทิพย์กล่าว

สำหรับไข่ต้มสมุนไพร ตราซีพี ได้นำนวัตกรรมการผลิตอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เพียงอร่อยแต่ยังดีต่อสุขภาพ นำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแบบสเตอริไลเซชั่น ด้วยความร้อนสูง 121 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิในระดับเดียวกับการผลิตปลากระป๋อง และสามารถเก็บไว้ได้ที่อุณหภูมิปกติได้ถึง 12-18 เดือนเช่นเดียวกับอาหารรีทอร์ท

ทั้งอาหารรีทอร์ทและไข่ต้มสมุนไพร ตราซีพี ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่สะดวกในการปรุงอาหาร และปัจจุบันอาหารประเภทนี้ยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้นทุกขณะ

รายการอ้างอิง :
2556. ‘ไข่ต้มสมุนไพร’ นวัตกรรมอาหารยามวิกฤต. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20131027/538776/ไข่ต้มสมุนไพร-นวัตกรรมอาหารยามวิกฤต.html, ค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556.– ( 152 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


six − 3 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>