magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ องค์การนาซาเร่งเดินหน้าศึกษาห้วงอวกาศ
formats

องค์การนาซาเร่งเดินหน้าศึกษาห้วงอวกาศ

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเทคโนโลยี

สำนักข่าวไทย 12 พ.ย. 2013  – องค์การนาซาเตรียมส่งดาวเทียมและยานอวกาศ รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ ขึ้นไปสำรวจห้วงอวกาศให้ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และค้นหาดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก

ดร.จอห์น กรันสเฟลด์ รองผู้อำนวยการองค์การนาซ่าและอดีตนักบินอวกาศ พร้อมด้วย ดร.แมท เมาน์เทน ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศของสหรัฐอเมริกา   บรรยายพิเศษให้นักวิชาการ อาจารย์ และนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับภารกิจการเดินทางในกระสวยอวกาศ บินขึ้นไปซ่อมกล้องและเปลี่ยนอัพเกรดกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกลางอวกาศ ซึ่งระหว่างปฏิบัติภารกิจ ยานอวกาศก็โคจรไปเรื่อยๆด้วยความเร็ว 7 กิโลเมตรต่อวินาที และดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทุกๆ 90 นาทีหรือวันละ 16 หน  โดยกล้องฮับเบิลดังกล่าวถูกส่งไปสังเกตการณ์อยู่เหนือบรรยากาศโลก

นักบินอวกาศทั้งสองย้ำภารกิจขององค์การนาซาที่จะติดตามตรวจสอบบรรยากาศของโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งพบว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างน่าตกใจ นอกจากนี้นาซายังศึกษาระบบสุริยะ จักรวาลและดาวเคราะห์อื่นๆ ปัจจุบันนาซามียานอวกาศกว่า 120 ยาน และในเร็วๆนี้กำลังจะส่งดาวเทียมใหม่โดยร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อที่จะศึกษาวัฏจักรน้ำ เพื่อทำนายสถานการณ์น้ำท่วมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ในสัปดาห์หน้า นาซาจะส่งยาน MAVEN ไปดาวอังคาร และในปี 2018 จะส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวใหม่ขึ้นไปแทนกล้องฮับเบิล ได้แก่

กล้องเจมส์เวบบ์ ขนาด 6.5 เมตร เพื่อสังเกตจักรวาลในช่วงคลื่นอินฟาเรด ซึ่งเป็นช่วงคลื่นใหม่ที่ระยะ 1.5 ล้านกิโลเมตรจากโลก กล้องนี้ทำจาก เบอริเลียม ทำงานที่อุณหภูมิ -233 องศา เซลเซียส จะทำหน้าที่ส่องย้อนกลับไปให้เห็นระบบจักรวาลตั้งแต่ยังมีอายุน้อยมากๆ เพียง 100 ล้านปี เพื่อดูการกำเนิดกาแลกซี่แรกๆของจักรวาล และศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในช่วงคลื่นอินฟาเรด เพื่อหาดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการหาสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะอื่นๆ โดยขณะนี้พบว่ามีดาวเคราะห์นอกระบบุสริยะกว่า 3,000 ดวง

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=5282e1fb150ba01010000163#.UoMhLeLxbGg– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 − = one

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>