ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ทำให้ผู้คนในเมืองต้องใช้ชีวิตเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีเวลากระทั่งเลือกสรรอาหารการกินที่เหมาะสม คนจำนวนมากจึงใช้ชีวิตให้ผ่านพ้นไปแต่ละวันด้วยการกินอาหารเพียงน้อยนิด เริ่มต้นวันด้วยกาแฟหนึ่งแก้ว มื้อกลางวันก็นั่งกินหน้าคอมพิวเตอร์หรือบนรถระหว่างทางไปประชุม และพอหัวถึงหมอนในตอนค่ำก็หมดแรงเสียแล้ว
สามัญสำนึกบอกเราว่าการกินตอนกลางคืนทำให้อ้วน แต่ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือ? ปัญหาก็คือเมื่อมีจังหวะชีวิตแบบนี้ เราจะรักษาสมดุลระหว่างชีวิตที่เร่งรีบตลอดวันกับอาหารการกินที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างไรเลิกเชื่อผิดๆ
งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าร่างกายคนเราไม่ได้จัดการกับอาหารที่เรากินเข้าไปในตอนกลางคืนแตกต่างไปจากกลางวัน ร่างกายของเราต้องการแคลอรีที่สม่ำเสมอในตอนกลางคืนเช่นเดียวกับกลางวัน แม้ขณะนอนหลับ ร่างกายก็ยังคงเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ให้ระบบของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ เช่น เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และสูบฉีดโลหิต กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกลไกการทำงานตามธรรมชาติของร่างกายขณะนอนหลับทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น การกินตอนกลางคืนไม่ได้ทำให้อ้วนขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่คนเราชอบกินมื้อหนักสุดตอนกลางคืนมากกว่า มื้อนี้จึงเป็นมื้อที่มีแคลอรีสูงกว่ามื้ออื่นๆ และยิ่งถ้าเรากินไม่พอตอนกลางวัน พอถึงมื้อเย็นเราก็ยิ่งหิวซ่ก สาเหตุนานัปการเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมความอ้วน ซึ่งนี่ยังไม่ได้พูดรวมถึงของหวานหลังอาหารเย็นที่เราไม่เคยพลาด
การกินจุบจิบตอนกลางคืนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักขึ้น คนกินขนมขบเคี้ยวตอนกลางคืนไม่ใช่เพราะหิว คนบางคนกินเพราะต้องการหลีกเลี่ยงความเครียดหรือความเบื่อหน่าย เรามีแนวโน้มจะเอื้อมมือไปหยิบอาหารขยะโดยไม่ตั้งใจระหว่างทำกิจกรรมที่ไม่ต้องเคลื่อนไหว เช่น ขณะดูทีวีหรือนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้เราจึงเชื่อมโยงอาหารแคลอรีสูงเข้ากับความรู้สึกผ่อนคลาย และทำอย่างนี้จนติดเป็นนิสัย
อย่ากินตามใจปาก
พูดสั้นๆ ก็คือถ้าคุณเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่าที่กินเข้าไป น้ำหนักก็จะลดลง แต่ถ้าคุณกินมากกว่าที่ร่างกายเผาผลาญ น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้น คุณไม่สามารถคัดค้านหลักการนี้ได้ พูดอีกอย่างก็คือมันไม่สำคัญว่าคุณกินเมื่อไหร่ แต่อยู่ที่กินยังไงต่างหาก เหมือนสำนวนเก่าแก่ที่กล่าวว่า “กินมื้อเช้าอย่างราชา กินมื้อกลางวันอย่างเจ้าชาย และกินมื้อเย็นอย่างยาจก”
ตามความคิดของ ดร. แกรทตัน โปรตีนเชคกับผลไม้คือเมนูที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่ ส่วนตัวเลือกอื่นๆ ลองเป็นซีเรียลที่อุดมด้วยโปรตีนกับนม หรือโยเกิร์ตกับผลไม้ดู
โปรตีนเชคช่วยให้มื้อกลางวันกลายเป็นเรื่องสะดวกหากคุณกำลังรีบ หรือไม่อย่างนั้นลองเปลี่ยนเป็นสลัด แซนด์วิชไก่หรือปลาย่างกินคู่กับขนมปังโฮลเกรน แล้วตบท้ายด้วยผลไม้ และเพิ่มพลังงานช่วงบ่ายด้วยโปรตีนเชคหรือโปรตีนบาร์ หรือไม่ก็แซนด์วิชสักครึ่งชิ้นกับผลไม้แห้ง
ถ้าคุณกินตามที่แนะนำเป็นประจำ คุณก็จะเติมพลังงานให้ตัวเองด้วยแคลอรีที่พอเหมาะตอนกลางวัน และไม่รู้สึกหิวตอนกลางคืน สำหรับมื้อสุดท้ายของวัน ให้มองหาอะไรเบาๆ อย่างสลัดหรือซุปสักถ้วย
คราวหน้าถ้าคุณอยากคว้า “ของขบเคี้ยวยามดึก” เข้าปากละก็ ให้นึกถึงอะไรที่ดีต่อสุขภาพอย่างของว่างที่อุดมด้วยโปรตีนแต่เนิ่นๆ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับโภชนาการที่ดีที่แตกต่างจากเดิมชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
โดย ดร. ลุยจิ แกรทตัน รองประธานฝ่ายการแพทย์ของเฮอร์บาไลฟ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
รายการอ้างอิง :
ดร. ลุยจิ แกรทตัน. 2556.กินมื้อดึกทำให้อ้วนจริงหรือ?. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ (Life Style : สุขภาพ). ออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20131201/544619/กินมื้อดึกทำให้อ้วนจริงหรือ-.html. ค้นเมื่อวันที 10 ธันวาคม..– ( 37 Views)