ผู้เชี่ยวชาญตระหนักว่า ประโยชน์ของ 3D Printing ต้องการการปรับปรุงให้เปิดกว้าง เครื่องพิมพ์แบบ 3 D ซึ่งสามารถสนองความต้องการเฉพาะของผู้ใช้งาน กำลังขยายไปสู่การใช้งานของผู้ใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัย และห้องปฏิบัติการในโรงรถที่บ้าน ทำให้ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นสามารถออกแบบและสร้างเครื่องมือใหม่ๆ ออกมาได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากหรือต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ
การพิมพ์แบบ 3D เป็นส่วนหนึ่งของชุดเทคโนโลยีที่เรียกว่า advanced additive manufacturing หรือ การผลิตทดแทน ซึ่งครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ เซนเซอร์ การประมวลข้อมูล (data processing) จนถึง เทคนิคการผลิต ซึ่งรวมถึง laser cutting และ numerical control (CNC) machining ซึ่งเครื่องมือรวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ดังเช่น เครื่องมือทำให้กลม หรือเครื่องมือบด ซึ่งควบคุมตัวเองด้วยระบบหุ่นยนต์ เครื่องพิมพ์แบบ 3D ทำงานเหมือนเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจท แต่การป้อนแผ่นวัสดุเข้าเครื่องต้องเป็น พลาสติก โลหะ หรือ เซลล์มีชีวิต มีการแนะนำเทคโนโลยีครั้งแรกในปี 1980 และหลังจากนั้นเครื่องพิมพ์ 3D จำนวนมหาศาลก็ออกสู่ตลาดและจะมีจำนวนมากในปีหน้า หลังจากที่สิทธิบัตรเริ่มแรกของมันได้หมดอายุไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15505-science-and-technology-news
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนธันวาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 17 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 20 Views)