ทีมนักวิทยาศาสตร์จากแคนาดาเผย “เพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์” สารเคมีในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นก๊าซเรือนกระจกตัวใหม่ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการก่อภาวะโลกร้อน
รายงานจากไซ-นิวส์ระบุว่า เพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์ (Perfluorotributylamine) เป็นสารเคมีที่ประสิทธิภาพในการแผ่พลังงานมากที่สุด แซงหน้าสารเคมีอื่นๆ ที่เคยบันทึกว่าส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ โดยประสิทธิภาพการแผ่พลังงาน (Radiative efficiency) เป็นการอธิบายถึงประสิทธิภาพที่โมเลกุลส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศได้ ซึ่งใช้ค่าดังกล่าวคูณความเข้มข้นของก๊าซชนิดนั้นในบรรยากาศ เพื่อประเมินผลกระทบทั้งหมดต่อภูมิอากาศ
ทั้งนี้ เพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์ ถูกนำมาใช้ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ในการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยถูกใช้เป็นสารเพื่อการทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์และสารถ่ายเทความร้อน และยังไม่ทราบกระบวนการทำลายหรือกำจัดสารชนิดนี้ในบรรยากาศชั้นล่าง ดังนั้น สารชนิดนี้จึงมีช่วงชีวิตที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึง 500 ปี ตามรายงานของไซ-นิวส์ และจะถูกทำลายในบรรยากาศชั้นบน
ด้าน ดร.คอรา ยัง (Dr.Cora Young) จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) สหรัฐฯ ซึ่งร่วมเขียนรายงานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่นี้ลงวารสารจีโอฟิสิคัลรีเสิร์ชเลตเตอร์ส (Geophysical Research Letters) กล่าวว่า ศักยภาพในการก่อภาวะโลกร้อนคือตัววัดที่ใช้เปรียบเทียบศักยภาพของก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ที่ส่งผลต่อภูมิอากาศในช่วงเวลาจำเพาะ โดยเวลาถูกจัดรวมเป็นหนึ่งในตัววัดการก่อภาวะโลกร้อนที่สำคัญ เพราะสารประกอบต่างๆ คงอยู่ในบรรยากาศในช่วงเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดว่าผลกระทบต่อภูมิอากาศจะยาวนานแค่ไหนhttp://nstda.or.th/blog/wp-admin/post-new.php
ทั้งนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ ถูกใช้เป็นฐานในการเปรียบความรุนแรงในการส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่เป็นผลจากมนุษย์ในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่ง ดร.แองเจลา ฮง (Dr.Angela Hong) จากมหาวิทยาลัยโตรอนโตเช่นกัน กล่าวว่าก๊าซเพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์นั้นคงอยู่ในบรรยากาศนานมาก และมีประสิทธิภาพในการแผ่พลังงานสูง ส่งผลให้ก่อภาวะโลกร้อนได้รุนแรงมาก และจากการคำนวณในช่วงเวลา 100 ปี เพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์โมเลกุลเดียวส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 7,100 โมเลกุล
รายการอ้างอิง :
2556. “เพอร์ฟลูออโรไตรบิวไทลาไมน์” ก๊าซเรือนกระจกตัวใหม่. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.manager.co.th/Science/viewnews.aspx?NewsID=9560000153603. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556.– ( 51 Views)