magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ นักวิทย์ไทยวิจัยขั้วโลกปี 3
formats

นักวิทย์ไทยวิจัยขั้วโลกปี 3

สองนักวิทยาศาสตร์จากจุฬาฯ ได้รับคัดเลือกร่วมหน่วยงานจีน เดินทางไปทำวิจัยขั้วโลกใต้ 45 วัน กำหนดออกเดินทาง 1 มกราคมนี้

สวทช.จับมือคณะวิทย์ จุฬาฯ สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ ไทยเข้าร่วมวิจัยขั้วโลกใต้ 45 วัน ด้าน “รศ.ดร.สุชนา” เผยจะดำน้ำลึกอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศา หวังเยาวชนจะสนใจทวีปแอนตาร์กติกมากขึ้น

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ร่วมกับ อพวช., จุฬาฯ, กลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จัดแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช.และรองประธานคณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นคนไทยคนแรกที่เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติกในปี พ.ศ.2532 โดยเสด็จฯ เยือน และประทับ ณ สกอตต์เบส สถานีวิจัยประเทศนิวซีแลนด์ และทอดพระเนตรการศึกษาวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกาภายในสถานีวิจัยด้วย

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ประเทศไทยเข้าสู่งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสากล ควรมีโครงการสนับสนุนให้นักวิจัยไทยได้เดินทางไปทำงานวิจัยที่ขั้วโลกเพื่อประโยชน์ด้านวิชาการ สร้างองค์ความรู้ และมีพระราชดำริให้ร่วมมือกับประเทศจีน โปรดเกล้าฯ ให้สวทช.สนองพระราชดำริในโครงการดังกล่าว มีพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสวทช.และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวิจัยขั้วโลก สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเลของจีน ทำให้มีกิจกรรมส่งนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ของไทยไปเข้าร่วมสำรวจและวิจัยขั้วโลกใต้ โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ทางสวทช.ได้คัดเลือกนักวิทยาศาสตร์อีก 2 คนเข้าไปร่วม” ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า งานวิจัยขั้วโลก เป็นงานวิจัยระดับสากลที่หลายคนมองว่าเป็นงานวิจัยขึ้นหิ้ง แต่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ปฏิเสธไม่ทำงานวิจัยขึ้นหิ้งเหล่านี้ได้ เพราะเป็นงานวิจัยระดับสากล ที่แสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย และครั้งนี้จุฬาฯ ได้รับการคัดเลือก 2 คน ได้แก่ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ และผศ.ดร.อรฤทัย ภิญญาคง

ด้าน รศ.ดร.สุชนา เปิดใจว่า จะเดินทางวันที่ 1 มกราคม ใช้เวลา 45 วัน ตามแผนจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งได้วิจัยต่อเนื่องเมื่อปี 2547/2548 และปี 2552/2553 และวางแผนจะดำน้ำลึก อุณหภูมิใต้น้ำต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียล ใช้ชุดดำน้ำแบบแห้ง เพื่อสังเกตพฤติกรรมพร้อมเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต และหวังว่าเยาวชนไทยจะสนในทวีปแอนตาร์กติกมากขึ้น

ทั้งนี้ ในงานยังเปิดตัวหนังสือ “Polar Harmony” ซึ่งรวบรวมภาพสมุทรศาสตร์ทางทะเล ณ ดินแดนขั้วโลกใต้ ที่ได้ข้อมูลจากนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้เดินทางไปดินแดนขั้วโลกใต้ ผ่านรูปภาพที่สวยงามและหาชมได้ยาก

รายการอ้างอิง :
2556. นักวิทย์ไทยวิจัยขั้วโลกปี 3. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20131222/551289/นักวิทย์ไทยวิจัยขั้วโลกปี-3.html. ค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2556.– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 + two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>