สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเกษตร
สำนักข่าวไทย 8 ม.ค. 2557 -คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนักวิจัยไทย และไต้หวัน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการตรวจแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วน (EMS) ได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยไม่มีการจดสิทธิบัตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้แพร่หลาย
ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อำนวยการไบโอเทค ร่วมแถลงความสำเร็จของคณะนักวิจัยไทย นำโดย ศ.ดร.ทิมโมที เฟลเกล ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง และคณะนักวิจัยไต้หวัน ที่สามารถพัฒนาวิธีการตรวจแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วน EMS ได้เป็นครั้งแรกของโลก ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ที่รู้ผลได้รวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง โดย 4 ขั้นตอนหลักในการตรวจกุ้งตายด่วน ได้แก่ การนำดีเอ็นเอจากกระเพาะกุ้ง มาใส่ในน้ำยาพีซีอาร์ที่มีไพรเมอร์ตรวจเชื้อแบคทีเรียที่นักวิจัยได้ค้นพบขึ้น ในขั้นตอนที่ 3 จะมีการทำปฏิกริยาในเครื่องซีพีอาร์ แล้วจึงรู้ผลในขั้นตอนสุดท้าย
นักวิจัยกล่าวว่าไม่มีการจดสิทธิบัตรงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรไทยและประชาคมโลก สามารถนำไปใช้ในการตรวจหาเชื้อก่อโรคในพ่อพันธุ์แม่พันธุ์และคัดกรองลูกกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อดิน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียและการระบาดของโลกดังกล่าว ทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อก่อโรค และลดความเสี่ยงในการระบาดของแบคทีเรียชนิดนี้ต่อไป ทั้งนี้ ปัญหากุ้งตายด่วนหรือกุ้ง EMS เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในจีน ปี 2552 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสู่ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และไทย ตามลำดับ
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52ccfbdd150ba0aa650000c1#.Us0PwrSDjGg– ( 20 Views)