magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Librarian 12 องค์กร/สมาคม ที่บรรณารักษ์ใหม่ควรรู้จัก
formats

12 องค์กร/สมาคม ที่บรรณารักษ์ใหม่ควรรู้จัก

ในเว็บไซต์ LibraryScienceList.com ได้เขียนถึง 12 องค์กร/สมาคม ทางด้านห้องสมุด ที่บรรณารักษ์จบใหม่ รุ่นใหม่ ควรรู้จักหรือคุ้นเคย แต่เป็นองค์กร/สมาคม ของสหรัฐอเมริกา แล้วถ้าหันมามองประเทศไทย ไม่ต้องนึกถึงเฉพาะบรรณารักษ์จบใหม่ หรือบรรณารักษ์รุ่นใหม่เลย รุ่นก่อนหน้านั้น (ไม่ขอใช้คำว่า รุ่นเก่า) ควรจะมีสมาคม/องค์กรใดบ้างที่ควรรู้จัก อันเป็นว่า มารู้จัก องค์กรในอเมริกา ก่อนก็แล้วกันค่ะ อ่านแล้วอาจจะรู้จักมากกว่าองค์กร/สมาคมของไทย ก็ได้ค่ะ ทั้ง 12 องค์กร/สมาคม ได้แก่

  1.  American Library Association หรือ ALA เป็นแห่งแรกถูกนำขึ้นมาอยู่ในจำนวน 12 แห่งนี้ และเป็นองค์กร/สมาคมอันดับแรกๆ ที่ต้องรู้จัก เพราะเป็นหน่วยงานที่พัฒนา ให้ความช่วยเหลือทางวิชาชีพบรรณารักษ์ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์แห่งชิคาโก มีหลายหน่วยงานย่อยอยู่ในสมาคมนี้ ซึ่งมีบทบาทเช่นเดียวกัน จะได้นำมากล่าวไว้ในลำดับต่อไป
  2. Library Associates ตั้งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1986 เน้นการยกระดับวิชาชีพบรรณารักษ์
  3. American Association of School Librarians หรือ  AASL เป็นหน่วยย่อยของ ALA ตามชื่อของสมาคมก็คือให้การสนับสนุนทรัพยกรสารสนเทศแก่ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ  โดยการให้ทุนการศึกษา หลักสูตรการเรียนทางออนไลน์ เป็นต้น เป็นองค์กรที่ดี่ที่สุดสำหรับห้องสมุดโรงเรียนในการให้ความช่วยเหลือปรับปรุงการให้บริการสื่อในห้องสมุดโรงเรียน
  4. Association of College and Research Libraries (ACRL) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของ ALA เน้นการช่วยเหลือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการการวิจัยทางห้องสมุดแก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
  5. Library and Information Technology Association (LITA) เป็นอีกหนึ่งหน่วยย่อยของ ALA เน้นการช่วยเหลือในการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุด เป็นองค์กรที่ทำให้ห้องสมุดใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆได้แบบง่ายๆ เพื่อเป็นการเพิ่มการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
  6. Public Library Association (PLA) สมาคมนี้ มีภารกิจในการพัฒนาประสิทธิภาพของห้องสมุดประชาชนและให้การช่วยเหลือการกระตุ้นและส่งเสริมทักษะของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มีการสื่อสาร การให้ความรู้ และทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งการพิมพ์วารสารห้องสมุดประชาชน (Public LibrariesMagazine) ออกเผยแพร่
  7. Assoication of Research Libraries (ARL) เป็นสมาคมการวิจัยห้องสมุดที่เป็นทางการ จัดหาทรัพยากร ทรัพยากรทางอาชีพ (career resources) สิ่งพิมพ์ และความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยห้องสมุดทุกขนาดและทุกประเภท
  8. American Theological Library Association (ATLA) เป็นสมาคมที่มีจำนวนสมาชิกวิชาชีพมากกว่า 650 คน มีการบริการ เน้นทางด้านศาสนาและทางด้านเทววิทยา ศาสนศาสตร์ และห้องสมุดในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีการให้ความช่วยเหลือสมาชิกและเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้สารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการ
  9. Music Library Association (MLA) เน้นการสนับสนุนการให้บริการแก่ห้องสมุดที่มีสื่อทางดนตรี ห้องสมุดหลายแห่งมีโน๊ตดนตรีจำนวนมากรวมทั้งแผ่นเสียง สมาคมนี้ช่วยควบคุมดูแลสื่อเหล่านี้
  10. North American Sport Library Network (NASLIN) จุดประสงค์หลักของเครือข่ายนี้คือ การช่วยเหลือ  การแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศและการสื่อสารระหว่างบรรณารักษ์ทางการกีฬาและห้องสมุด รวมทั้งช่วยเหลือและเป็นตัวกลางในการสื่อสารกับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  11. American Society for Information Sciences (ASIS) แม้ว่าจะไม่ใช่สมาคมทางด้านห้องสมุดซะทีเดียว แต่ ASIS ก็มีความสำคัญต่อการเพิ่มความเชื่อถือ/ความไว้ใจในเทคโนโลยีสารสนเทศของวงการบรรณารักษ์ จัดให้มีสารสนเทศในแง่ของเทคนิค ทฤษฎี และเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาห้องสมุดและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ
  12. United for Libraries เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นมาด้วยกลุ่มสมาชิกมากว่า 2000 กลุ่ม เน้นการช่วยเหลือทางด้านการสอนให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วยการพัฒนา “มิตรห้องสมุด” (Friends of the Library) เพื่อจะเป็นเงินทุนและสนับสนุนในการช่วยเหลือห้องสมุดท้องถิ่นเหล่านี้

ครั้งหน้า อยากจะรวบรวมองค์กร/สมาคมในประเทศไทยดูบ้าง ท่านผู้อ่านสามารถเสนอเข้ามาได้นะคะ

บรรณานุกรม

Robert. 12 Associations All New Librarians Shoud Know. Retrieved January 16, 2014 from http://librarysciencelist.com/12-associations-all-new-librarians-should-know/– ( 284 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − 4 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>