magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health เลือกซื้อผักอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
formats

เลือกซื้อผักอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ในยุคที่เราต่างก็รู้ดีว่า การเพาะปลูกผัก ผลไม้ มีแต่การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และยากำจัดศัตรูพืชมากมาย ซึ่งเป็นอันตรายสะสมต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ในระยะยาว บทความสุขภาพประจำวันศุกร์นี้ ผู้เขียนขอนำบทความที่เป็นประโชน์ให้เรารู้จักวิธีในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคผักให้ปลอดภัยต่อสุขภาพกันดีกว่านะคะแบบไหนคือผักปลอดภัย??

คุณอรสา ดิสถาพร ผู้อำนวยการสวนส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ และสมุนไพร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของผักปลอดสารพิษว่า ปัจจุบันมีการแบ่งปันกลุ่มกว้าง ๆ คือ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ได้แก่ ผักที่ปลูกโดยทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช แต่จะต้องรอให้สารเคมีเหล่านั้นสลายไปก่อน จึงจะทำการเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งอาจจะยังมีสารเคมีตกค้างอยู่บ้าง แต่ต้องไม่เกินค่า MRL (Maximum Residue Limit) ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด จึงจะสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย
ผักปลอดสารพิษ ได้แก่ ผักที่ปลูกโดยทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ แต่จะไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่จะใช้ชีววิธีแทน เช่น การใช้แมลงกำจัดแมลง เป็นต้น ฉะนั้น ผักในกลุ่มนี้จะเป็นผักที่ปลอดจากสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชผักอินทรีย์ หรือผักออร์แกนิกส์ (Organic) เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาปราบวัชพืช ยาฆ่าแมลง และฮอร์โมน เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก กำจัดศัตรูพืชโดยการใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติ รวมทั้งใช้แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน คือ การใช้แมลงกำจักแมลง จึงมีความปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

และกว่าเกษตรกรผู้ปลูกจะได้รับการรับรองว่าผักที่ปลูกเป็นผักเกษตรอินทรีย์ จะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ สำหรับในประเทศไทยผักอินทรีย์ที่ออกจำหน่ายมีการรับรองมาตรฐานทั้งจาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรเอกชน ซึ่งได้รับการรับรองจากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) แล้ว เช่น สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เป็นต้น

ผักไฮโดรโปรนิกส์หรือผักไร้ดิน (Hydroponics) คือ ผักที่มีวิธีการปลูกเลียนแบบการปลูกผักบนดินโดยใช้วัสดุต่าง ๆ ในการปลูก เช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือ วัสดุอื่น ที่ไม่ใช่ดิน โดยผักจะสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกเหล่านี้ได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหาร สำหรับพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ยหรือธาตุอาหาตต่าง ๆ ที่ผักต้องการผ่านทางราก

ซึ่งระบบการปลูกพืชไร้ดินที่นิยมปลูกมากที่สุดในปัจจุบันคือ ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูก ข้อดีของผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินก็คือ ผักที่ปลอดจากจุลินทรีย์ที่อาจจะมีตกค้างอยู่ในดิน ส่วนในเรื่องของยากำจัดศัตรูพืชฟาร์มที่ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์จะใช้วิธีป้องกันโดยปลูกในโรงเรือนป้องกันแมลงและใช้สารชีวภาพ อาจจะมีการใช้สารเคมีบ้างในช่วงแรก แต่เมื่อใกล้ถึงระยะเก็บเกี่ยวก็จะงดใช้ ดังนั้นผักไฮโดรโปรนิกส์ส่วนใหญ่จึงมักไม่มีปัญหาเรื่องของสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะผักสลัดจะยิ่งไม่ค่อยพบปัญหาในเรื่องของแมลง จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยปริยาย

เลือกแบบไหนปลอดภัยกว่า จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าผักแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของราคาและปริมาณสารตกค้างที่หลงเหลืออยู่ในผัก การที่จะเลือกว่าจะบริโภคผักกลุ่มใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคน เพียงแต่ควรจะมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผักในกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงวิธีการล้างผักให้สะอาด เพื่อความปลอดภัยของคุณและครอบครัว

คุณอรสาให้ความเห็นว่าจริง ๆ แล้วการรับประทานผัก ไม่ว่าจะเป็นผักชนิดใดต่างก็มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น ส่วนการจะเลือกซื้อผักกลุ่มใดรับประทาน ก็ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพราะผักแต่ละกลุ่มก็มีราคาแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะผักไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งค่อนข้างมีราคาสูง และผักอินทรีย์ที่ไม่มีสารตกค้างเลย แต่ต้นทุนในการผลิตและดูแลสูง จึงทำให้ราคาสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าผักในกลุ่มอื่น ๆ จะไม่มีความปลอดภัยผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผักปลอดภัยจากสารพิษที่มีตรารับรองการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน เช่น การรับรองมาตรฐาน Q ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในปัจจุบันมีจำหน่ายอย่างกว้างขวาง สามารถหาซื้อได้และราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับผักทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวข้างต้นและมีความปลอดภัยเช่นกัน

ปลอดภัย มั่นใจได้ ด้วยตราสัญลักษณ์ Q (Q Mark) ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เริ่มตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในการปลูกพืชและการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมี แม้จะยังมีการกำหนดมาตรฐานการผลิตให้แก่เกษตรกร แต่ในฐานะผู้บริโภคอาจจะยังมีความกังวลอยู่ เนื่องจากไม่ได้เห็นกระบวนการผลิตของเกษตรกรด้วยตนเอง คุณอรสาแนะนำว่าผู้บริโภคควรจะเลือกซื้อผักจากแหล่งจำหน่ายที่ไว้ใจได้ และเพื่อความมั่นใจสามารถสังเกต ตรารับรองของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Q) ซึ่งเป็นตรารับรองสินค้าที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัย เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าผักที่ซื้อมีความปลอดภัยในการบริโภคอย่างแน่นอน

เลือกอย่างไรให้ได้ผักสดการเลือกซื้อผักนั้น นอกจากต้องเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่ไว้ใจได้, และมีตรารับรองคุณภาพและความปลอดภัยแล้ว ความสดของผักก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะการรับประทานผักที่มีความสดใหม่อยู่จะได้คุณค่ามากกว่าผักที่เริ่มเหี่ยวแห้งแล้วอย่างแน่นอน

ซึ่งวิธีการเลือกซื้อผักที่ยังสดใหม่และมีคุณภาพดี คือสังเกตบริเวณก้านใบ ก้านดอก หรือโคนต้น ต้องไม่มีสีขาวหรือสีเทา เพราะเป็นสีของเชื้อราสำหรับผักที่ทานใบ ใบต้องสด ไม่แห้ง ช้ำ เหลือง หรือมีราขึ้นผักควรมีใบติดแน่นกับโคนต้นผักที่ทานผล เช่น มะเขือ แตงกวา ให้เลือกที่ขั้วติดแน่น สีสดใหม่ ผิวตึงไม่แห้งไม่แก่หรืออ่อนเกินไปควรซื้อผักตามฤดูกาล จะได้ผักคุณภาพดี ราคาถูกแต่หากผักบางชนิด หาซื้อที่มีตราสัญลักษณ์ Q ได้ยาก จะซื้อผักตามตลาดสดทั่วไป

ผู้เขียนขอทิ้งท้ายสำหรับเทคนิคในการล้าง ผัก ผลไม้ เพื่อลดปริมาณสารเคมีจากการเพาะปลูกตกค้างเอาไว้ให้คุณพ่อบ้าน คุณแม่บ้านกันด้วยนะคะ

ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 – 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดทันที ลดสารพิษตกค้างได้ ประมาณ 29 – 38%ใช้ด่างทับทิม 20 – 30 เกล็ด ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 – 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ลดสารพิษตกค้างได้ 35-43 %ใช้น้ำส้มสายชู 5% 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 – 15 นาที ลดสารพิษได้ประมาณ 60 – 84 %ล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต/ เบคกิ้ง โซดา หรือที่คุณแม่บ้าน คุ้นชื่อกันว่า ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง แช่ผัก ผลไม้นาน 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษลงได้ประมาณ 90 – 95 % เลือกล้างกันตามสะดวกเลยค่ะ แต่ผู้เขียนแนะนำว่า การใช้ผงฟู เป็นการล้างที่ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนะคะ

จะเลือกทานผักที่ไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพครั้งต่อไป เลือกผักที่มี สัญลักษณ์ Q ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กันดีกว่านะคะ

รายการอ้างอิง :

PrincessFangy. เลือกซื้อผักอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ. (2557). กรุงเทพฯ : เดลินิวส์. วันที่ 17 มกราคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/Article/208971/เลือกซื้อผักอย่างไร+ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ.– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven − 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>