magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health เฉาก๊วย
formats

เฉาก๊วย

“เฉาก๊วยมาแล้วครับ…เฉาก๊วย หวานเย็นชื่นใจมาแล้วครับ” ทุกๆ วันเสาร์และอาทิตย์ ที่เป็นวันหยุดพักผ่อนของมนุษย์เงินเดือนตามหมู่บ้าน ที่พักอาศัย มักจะได้ยินเสียงร้องเรียกของพ่อค้าแม่ค้าเพื่อนำเสนอขายสินค้าเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในแต่ละวัน “เฉาก๊วยเย็นๆ” ก็เช่นกัน มักจะได้ยินเสียงร้องเรียกอยู่เป็นประจำ เฉาก๊วย ขนมหวานเย็นที่ต้องกินพร้อมกับน้ำเชื่อมบ้าง หรือบางเจ้าก็เพิ่มความหวานหอมด้วยการโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายแดง มีรูปร่างสี่เหลี่ยมลักษณะสัมผัสเด้งๆ นุ่มๆ คล้ายวุ้นแต่มีความหยุ่นกว่า

http://th.wikipedia.org/wiki/เฉาก๊วย
“เฉาก๊วย” ถนนคนเดินเชียงใหม่

เฉาก๊วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเทศ เฉาก๊วย ทำจากพืชชนิดหนึ่ง คือ “ต้นเฉาก๊วย” มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อน ร้อนใน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้หากนำต้นเฉาก๊วยมาต้มให้เดือดแล้วนำน้ำเฉาก๊วยมาดื่มเป็นประจำจะช่วยลด อาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ได้อีกด้วย

วิธีการทำเฉาก๊วย ไม่ยุ่งยากมากนักเพียงแค่นำต้นเฉาก๊วยตากแห้งล้างน้ำให้สะอาดจากนั้นนำใส่หม้อต้มด้วยไฟปานกลางประมาณ 4 ชั่วโมง จนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นต้นตำรับโบราณนั้น นิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับปรุงโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ หรือใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ปัจจุบัน มีผู้ค้าบางรายใส่สีผสมอาหารให้สีดำเข้มบ้าง ใส่วุ้น-เจลาติน เพื่อประหยัดต้นทุนก็มี โดยในกระบวนการทำเฉาก๊วยนี้โดยเฉพาะขั้นตอนการต้มไปจนถึงขั้นตอนการบรรจุอาจจะมีความสุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคได้ หากผู้ผลิต ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล สุขลักษณะของสถานที่และสภาพแวดล้อมในระหว่างการผลิต และใช้ภาชนะที่ไม่สะอาด อาจจะทำให้เชื้อก่อโรคอย่าง “สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส” ปนเปื้อนมาในเฉาก๊วยก็เป็นได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคำถึงการเก็บรักษาเฉาก๊วยควรเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เฉาก๊วยปนเปื้อนเชื้อโรค หากเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เฉาก๊วยนั้นมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคและอาจจะเพิ่มจำนวนของเชื้อและสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กำหนดให้อาหารพร้อมบริโภค ขนมหวาน ผัก ผลไม้ สามารถพบเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม และผลการสุ่มตรวจตัวอย่างเฉาก๊วยตามรถเข็น จำนวน 5 ตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปรากฎว่าเฉาก๊วยทุกตัวอย่างไม่พบเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส

แหล่งที่มา :
เชื้อก่อโรคในเฉาก๊วย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.thairath.co.th/column/life/fromfood/398304. (วันที่ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2557).
เฉาก๊วย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://th.wikipedia.org/wiki/เฉาก๊วย. (วันที่ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2557).
สรรพคุณของเฉาก๊วย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.thaieditorial.com/สรรพคุณของเฉาก๊วย. (วันที่ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2557).– ( 360 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× four = 36

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>