magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ทะเลทรายซาฮาร่าอาจจะกลับมาเป็นสีเขียว จากอากาศโลกที่ร้อนขึ้น
formats

ทะเลทรายซาฮาร่าอาจจะกลับมาเป็นสีเขียว จากอากาศโลกที่ร้อนขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจพบร่องรอยว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นของโลก เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ทะเลทรายสะฮาราและบริเวณโดยรอบเริ่มมีสีสันเขียวขึ้น เนื่องจากได้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น

สำนักข่าว “เนชั่นแนล กราฟฟิก” รายงานว่า ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น กำลังช่วยฟื้นฟูดินแดนอันแห้งแล้งให้กับอุดมและอาจสร้างชุมชนกสิกรให้เกิดขึ้นใหม่อีก เป็นที่คาดหมายได้ว่า มันอาจช่วยพลิกฟื้นทะเลทรายสะฮาราให้คืนกลับเป็นทุ่งราบป่าละเมาะ ซึ่งไม่มีต้นไม้ใหญ่เหมือนกันสมัยเมื่อ 12,000 ปี ก่อนนั้นอีก นักวิทยาศาสตร์ได้พบจากภาพถ่ายของดาวเทียมว่า บริเวณที่เป็นเขตกึ่งทะเลทรายติดกับสะฮารา เป็นแนวยาวถึงเกือบ 4,000 กม. เต็มไปด้วยหน่อต้นไม่สีเขียวขึ้น

มาร์ตัน คลอสเซน นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแมกซ์ พลังค์ ที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า “ปรากฏการณ์นี้ อาจจะเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนขึ้น อากาศร้อนจะอุ้มเก็บความชื้นได้มากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงว่ามันจะก่อฝนให้เกิดมากขึ้นด้วย”

ทะเลทรายซาฮาร่า
ทะเลทราย Sahara เป็นทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในโลกคือ มีพื้นที่ประมาณ 9.3 ล้านตารางกิโลเมตร (ใหญ่ประมาณอเมริกาทั้งประเทศ) และตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต ทิศตะวันออกจดทะเลแดง ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือจดภูเขาแอตลาส Atlas และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ ทิศใต้จดเส้นละติจูด 15 องศาเหนือ โดยมีประเทศ ตูนีเซีย Tunisia,ชาด Chad ลิเบีย Libya, อัลจีเรีย Algeria, ซูดานSudan,ไนเจอร์ Niger และอียิปต์ Egypt ตั้งอยู่รายรอบ

อุณหภูมิของอากาศทะเลทรายในเดือนกรกฎาคม โดยเฉลี่ยแล้วสูงประมาณ 32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิในเดือนมกราคมโดยเฉลี่ย สูงประมาณ 20 องศาเซลเซียส สถิติอุณหภูมิสูงสุดในเวลากลางวันเท่ากับ 57 องศาเซลเซียส

จากแผนที่พื้นที่สีน้ำตาลคือทะเลทรายซาฮาร่า

ประวัติศาสตร์คร่าวๆ ของทะเลทรายซาฮาร่า
ในช่วงเวลาราว 10000- 4000ปี BCE (Before the Common Eraหมายถึงก่อนปี ค.ศ 1  )”, ทะเลทรายซาฮาร่าเป็นพื้นที่สีเขียวชอุ่ม และอุดมสมบูรณ์ บางครั้งเรียกยุคนั้นของซาฮาร่าว่า ซาฮาร่าสีเขียว “Green Sahara” หรือ  “Green Period.”

นักโบราณคดีได้ให้ข้อมูลว่า “สภาพภูมิอากาศของซาฮาร่าเปลี่ยนอย่างรุนแรง ในประวัติศาสตร์ มีการพบร่องรอยของทะเลสาบและแม่น้ำหลายสายรวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในซาฮาร่า ซึ่งนั่นเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าครั้งหนึ่ง ซาฮาร่าเคยเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับเป็นอยู่อาศัยของสัตว์และพืช”

ในปี  ค.ศ  2000 ทีมนักโบราณคดีซึ่งออกขุดค้นหาซากไดโนเสาร์แต่เจอหลุมฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนด้วยในเขตทะเลทรายซาฮาร่าของประเทศไนเจอร์ (Niger) นั่นย่อมเป็นร่องรอยว่านักโบราณคดีได้พบร่องรอยหลักฐานทางอารยธรรมและมีสิ่งมีชีวิตเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ซาฮาร่าสีเขียว

ในยุคสมัยปัจจุบันนี้ “ซาฮาร่า” คือทะเลทรายและเป็นทะเลทรายมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่เมื่อราว 10,000BCE วงโคจรของโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการส่าย ทำให้อากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง  พื้นที่บริเวณที่เป็นอากาศเขตมรสุมมีความชื้นสูงของทวีปอัฟริกาตอนใต้กลับยกตัวสูงขึ้น ทำให้น้ำไหลมาลงพื้นที่ทะเลทรายซาฮาร่า (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ) ทำให้เกิดแหล่งน้ำขึ้นในทะเลทรายซาฮาร่า มีพืชเจริญเติบโตขึ้น ด้วยสภาพแวดล้อมตอนนั้นมีความชื้นเหมาะสม ทำให้สัตว์และมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และเมื่ออากาศเกิดเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้ง ซาฮาร่าก็กลับมาเป็นทะเลทรายอีกช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะกลับไปเขียวอีก

ราว 4,000ปี BCE, ซาฮาร่ากลับมาเป็นทะเลทรายอีกครั้งหนึ่ง  มาจนถึงทุกวันนี้และพื้นที่ทะเลทรายกลับขยายกว้างขึ้นอย่างรวดเร้วด้วยสาเหตุหลายๆ ปัจจัย

อาจกล่าวได้โดยสรุปว่า ซาฮาร่า เคยเป็นทะเลทรายกลับมาเป็นพื้นที่สีเขียวและกลับมาเป็นทะเลทรายอีกในช่วงระยะเวลาหลายพันปีที่ผ่านมา

แหล่งที่มา :
jayaus. ทะเลทรายซาฮาร่าเคยเป็นพื้นที่สีเขียว?. PANTIP. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/04/X10462689/X10462689.html. (วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2555).

อุณหภูมิโลกร้อนให้คุณ ทะเลทรายสะฮาราชักเริ่มมีต้นไม้สีเขียว. ไทยรัฐ (วันที่ 14 สิงหาคม 2552). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.thairath.co.th/content/tech/26190. (วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2555).– ( 1974 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× 1 = nine

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>