magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ‘รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์’นักวิจัย สตรีไทยสร้างชื่อ ดำดิ่งสำรวจใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก
formats

‘รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์’นักวิจัย สตรีไทยสร้างชื่อ ดำดิ่งสำรวจใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสตรีไทยมีบทบาทสำคัญในทุกอาชีพ แม้แต่อาชีพนักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ ผลงานการค้นคว้าสำคัญ ๆ หลายผลงานมาจากฝีมือของสตรี ประเทศไทยมีนักวิจัยสตรีเก่ง ๆ ที่มีฝีมือและสร้างชื่อเสียงอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนักวิจัยสตรีไทย ซึ่งเป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้เดินทางไปทำการวิจัยเรื่องภาวะโลกร้อนยังดินแดนขั้วโลกใต้เมื่อปี พ.ศ. 2552 รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันนี้กำลังจะเดินทางไปสู่ขั้วโลกใต้เพื่อทำการวิจัยอีกครั้งใน “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เพื่อศึกษาวิจัยทั้งด้านผลกระทบที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและการวิจัยดินอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยการเดินทางครั้งนี้จะต้องถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะจะเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ลงไปสำรวจถึงใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติกอันหนาวเหน็บ

รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ กล่าวว่า การเดินทางไปยังขั้วโลกใต้ในครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นความสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเดินทางไปศึกษาวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก ร่วมกับคณะนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สถานีวิจัยขั้วโลกใต้ เกรทวอลล์ของจีน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล ทวีปแอนตาร์กติกซึ่งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการเดินทางไปขั้วโลกใต้เพื่อเก็บตัวอย่างเมื่อปี พ.ศ. 2547/2548 โดย รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ และครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะได้ดำน้ำลงไปสำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก ณ สถานีวิจัยของจีน ซึ่งยังไม่เคยมีใครได้ลงไปยังใต้น้ำบริเวณสถานีวิจัยนี้มาก่อน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา

“การลงไปใต้น้ำขั้วโลกในครั้งนี้เพื่อสังเกตพฤติกรรมและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตรวมถึงเก็บตัวอย่างดินและดินตะกอนในทะเล เพื่อนำมาศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การดำน้ำครั้งนี้ถือว่าท้าทายพอสมควรเนื่องจากปกติแล้วการดำน้ำจะต้องมีบัดดี้ลงไปด้วย แต่ครั้งนี้ต้องลงไปเพียงคนเดียวจึงต้องมีการเตรียมตัวชุดดำน้ำใช้ชุด Dry Suit สำหรับน้ำที่อุณหภูมิเย็นจัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนชุดดำน้ำพิเศษนี้จาก ลอรีอัล ประเทศไทย หลังจากที่ลอรีอัลได้เล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนทริปการเดินทางในครั้งแรกเช่นกัน” รศ.ดร.สุชนา กล่าว

ด้านผู้ให้การสนับสนุน  สดับพิณ คำนวณทิพย์ ผอ.ฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล  (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยินดีมากที่ได้สนับสนุนชุดดำน้ำชุดพิเศษให้ รศ.ดร.สุชนา ได้สวมใส่เพื่อดำน้ำลงไปสำรวจดูการเปลี่ยนแปลงใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก รวมถึงการจัดพิมพ์หนังสือ “Polar Harmony” รวบรวมภาพสมุทรศาสตร์ทางทะเล ณ ดินแดนขั้วโลกใต้ ที่หาชมได้ยาก โดย รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ พร้อมกับเนื้อหาที่เข้าใจง่ายชวนติดตาม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและบุคลากรในแวดวงวิทยาศาสตร์ โดย รศ.ดร.สุชนา มีความตั้งใจรวบรวมภาพถ่ายและความรู้ที่ได้จากการเดินทางสู่ทวีปแอนตาร์กติก เพื่องานวิจัยในครั้งแรกของ ดร.สุชนาและทีมงาน หนังสือดังกล่าวมีความพิเศษอยู่ที่ “คิวอาร์ โค้ด” แต่ละหน้าทำให้ผู้อ่านสามารถสแกนเข้าไปยังคลังความรู้ชั้นยอด อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ซึ่งได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานการศึกษา โรงเรียน และห้องสมุดทั่วประเทศสามารถติดต่อขอรับหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถแจ้งความสนใจได้ที่ beauty@th.loreal.com

รายการอ้างอิง :
‘รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์’นักวิจัย สตรีไทยสร้างชื่อ ดำดิ่งสำรวจใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก. (2557). เดลินิวส์. ค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557, จาก http://www.dailynews.co.th/Content/women/212488/‘รศ.ดร.สุชนา+ชวนิชย์’นักวิจัย+สตรีไทยสร้างชื่อ+ดำดิ่งสำรวจใต้ท้องทะเลแอนตาร์กติก.– ( 16 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− nine = 0

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>