magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย
formats

วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย

อายุเริ่มจะเข้าวัย “หลักสี่” …. อยู่ดีๆ ก็ให้นึกหวนคิดถึงเรื่องราวเก่าๆ ที่ผ่านมาในวัยเด็ก ด้วยวัยเด็กเติบโตอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ครอบครัวเองก็เป็นแค่ชนชั้นกลาง เงินทองจะให้มีซื้อของเล่นแพงๆ ในห้างสรรพสินค้าก็ไม่มี แต่เคยถามปู่ ย่า ญาติพี่น้องทั้งหลายที่ช่วยอุ้มชูเลี้ยงดูว่าเรานั้นเคยงอแง หรือ อ้อนวอนอยากจะได้ของเล่นอะไรกับเค้าหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ “ไม่มี” คงเพราะสนุกกับสิ่งที่ปู่ กับ ย่า ได้ทำให้เล่น ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียนสาน ตระกร้อสาน ปืนก้านกล้วย งูกินนิ้ว หนูวิ่ง รวมถึงการเล่น “หม้อข้าวหม้อแกง” ที่เก็บหญ้า ใบไม้ ดอกไม้ มาทำเป็นอาหารเล่นกัน ชีวิตก็มีความสนุกและก็ยังสนุกมาจนถึงทุกวันนี้

เติบโตขึ้นมาจนถึงวัยจะเลขสี่ มีโอกาสได้รู้จักของเล่นพื้นบ้านต่างๆ มากมาย แต่ก็ไม่รู้เลยว่าในของเล่นพื้นบ้านนี้จริงๆ แล้วมีเรื่องของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ในของเล่นต่างๆ ด้วย จนได้มีโอกาสได้หยิบหนังสือเรื่อง “วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย” มาเปิดดู จึงทำให้รู้ว่าเราเองก็ได้สัมผัสกับ “วิทยาศาสตร์” จากของเล่นที่เราได้เล่นในสมัยเด็กๆ มาแล้ว ของเล่นพื้นบ้านที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่นั้นมีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

  • กำหมุน ชื่อของเล่นพื้นบ้านที่เรียกตามวิธีเล่นโดยใช้มือด้านหนึ่งจับหรือ “กำ” เอาไว้ แล้วใช้มืออีกข้างดึงเชือก เพื่อให้ใบพัดหมุนไป-มาได้อย่างรวดเร็ว
  • งูกินนิ้ว ของเล่นที่คนเฒ่าคนแก่บอกเล่าให้ฟังแบบอมยิ้มว่า สมัยก่อนนั้นมีไว้จีบสาว คือ หญิงชายในสมัยก่อนนั้นใช่ว่าจะแตะเนื้อต้องตัวกันได้ง่ายๆ (ผิดผี) จึงใช้งูเป็นสื่อแห่งรัก
  • อมรเทพ ชื่อของเล่นชิ้นนี้มาจากนักยิมนาสติกชื่อดัง “อมรเทพ แววแสง” แต่ชื่อเดิมหรือชื่อในท้องถิ่นเรียกว่า “แมงป๊อกประแด๊ก” ซึ่งหมายถึงกิริยาท่าทางการกระโดดตีลังกาไป-มา
  • ลูกข่างโว้ ลูกข่างมีหลายชนิด หลายแบบ ทั้งวัสดุที่นำมาทำก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ยิ่งแบบไหนหมุนได้นานก็จะยิ่งเพิ่มความสนุกได้มาก ส่วนลูกข่างโว้นั้นจะพิเศษกว่าลูกข่างทั่วๆ ไป คือ มีเสียงดัง โว้….โว้ เวลาหมุน ยิ่งหมุนแรงเสียงจะยิ่งดัง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลูกข่างชนิดนี้
  • จานบิน กว่าจะมาเป็นจานบินหรือใบพัด ของเล่นที่สามารถทะยานขึ้นฟ้าได้ ก็ต้องอาศัยความช่างสังเกตและเลียนแบบลูกไม้จากธรรมชาติ (ลูกยาง) ผ่านการทดลองเหลาไม้ไผ่จนกลายเป็นของเล่นชนิดนี้
  • ไก่จิก ไก่นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่คู่อยู่กับครอบครัวชนบทเพราะแทบทุกหลังคาเรือนนั้นล้วนแล้วแต่มีไก่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่มากก็น้อย ของเล่นไก่จิกเปิดขึ้นมาจากฝีมือของคนเฒ่าคนแก่ที่มีทักษะในการแกะสลักอยู่แล้ว ผสมผสานกับความตั้งในที่จะทำของเล่นให้หลาน
  • นกหวีดน้ำ ก่อนจะมาเป็นนกหวีดน้ำที่มีเสียงอันไพเราะนั้น ดั้งเดิมทำเป็นนกหวีดตัวเล็กๆ สำหรับพกติดตัวเพื่อเป่าส่งสัญญาณเสียงบอกตำแหน่ง
  • นกหวีดไม้ไผ่ หรือ ปี่เสียงนก ทำจากไม้ไผ่ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน โดยช่างทำแคนได้นำไม้ไผ่ (ไผ่เฮี้ยะ) ที่เหลือจากการทำแคนมาทำเป็นนกหวีด
  • คนตำข้าว คนตำข้าวบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตในอดีตผ่านของเล่นให้รู้ว่ากว่าที่จะได้ข้าวมาในแต่ละมื้อนั้นต้องผ่านการทำนาจนได้เป็นข้าวเปลือก และนำข้าวเปลือกมาตำเป็นข้าวสาร
  • หนูวิ่ง ทำจากกะลามะพร้าวเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในชุมชน เมื่อมารวมกับฝีมือและจินตนาการของคนเฒ่าคนแก่ ก็จะได้เป็นสัตว์ต่างๆ ตามแต่จินตนาการมาวิ่งแข่งกันอย่างสนุกสนาน
  • ลูกข่างสะบ้า ลูกสะบ้ามีลักษณะลูกกลมแบน สีน้ำตาล ผิวเรียบและแข็ง สะบ้าจะออกฝักในช่วงต้นฤดูฝน และลูกสะบ้าซึ่งอยู่ในฝักจะแก่จัดเมื่อปลายฤดูฝน พอฝนตกจะพัดพาสะบ้ามากับสายน้ำ เด็กๆ จึงมักจะเก็บลูกสะบ้ามาทำเป็นของเล่น
  • พญาลืมงาย ของเล่นเกมชาวน์พื้นบ้าน “งาย” เป็นภาษาล้านนา หมายถึงเวลาเช้า พญาลืมงาย หมายถึงการที่เล่นจนลืมวันเวลาว่าเช้าแล้ว
  • พญาลืมแลง เป็นของเล่นเกมเชาวน์พื้นบ้าน “แลง”หมายถึงเวลาเย็นพญาลืมแลงจึงหมายถึงการที่เล่นจนลืมไปว่าเป็นเวลาเย็นแล้ว ในสมัยก่อนจะใช้ก้อนเฟือง (ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว) มาทำเป็นของเล่นชนิดนี้ แต่มักจะไม่ทน ปัจจุบันจึงใช้ไม้ไผ่มาทำแทนก้อนเฟือง เพราะแข็งแรงและทนกว่า

แหล่งที่มา:
ศศิธร เทศน์อรรถภาคย์. (บรรณาธิการ). (2553). วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.– ( 5946 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − 4 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>