ขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติก เป็นดินแดนที่ออกจะลึกลับไปสักหน่อยแต่มีข้อมูลที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เราให้ค้นคว้ามากมาย และที่ขั้วโลกใต้แห่งนี้มีนักวิจัยจากประเทศไทยร่วมทำการศึกษาวิจัยอยู่ด้วย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีภารกิจสำคัญ คือสนับสนุนการวิจัยของคนไทยจึงได้ร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดส่งนักวิจัยไทยจำนวน 2 ท่านคือ รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ และ ผศ.ดร. อรฤทัย ภิญญาคง จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการวิจัยภายใต้ “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ ทวีปแอนตาร์กติก ในปี พ.ศ.2557 โดยหน่วยงาน Chinese Arctic and Antarctic Administration เปิดโอกาสให้นักวิจัยชาวไทยได้ร่วมทำวิจัยที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ของประเทศจีน โดยมีบริษัทเอกชนสนับสนุนโครงการวิจัยนี้คือ บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และและบริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย)
โครงการนี้เกิดจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบราราชกุมารี ฯ พระองค์เป็นคนไทยองค์แรกที่เคยเสด็จไปยังทวีปแอนตาร์กติก ในปี พ.ศ.2532
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับการไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติกครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับนักวิจัยไทย โดยรองศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ เป็นนักวิจัยไทยคนแรกที่ไปทำวิจัย ณ สถานีวิจัยโชว์วะ (Syowa Station) ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึง เดือนมีนาคม 2548
หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ได้เดินทางเป็นครั้งที่ 2 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 – 2553 ณ สถานีวิจัยโชว์วะเช่นกัน
และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ของการเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติกของนักวิจัยไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะบริหารงานอาร์กติกและแอนตาร์กติกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และบริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัดแล้วธงชาติไทยก็ได้ปักบนดินแดนแห่งน้ำแข็งขั้วโลกใต้อีกครั้ง นี่คือโอกาสและศักยภาพของนักวิจัยไทย (ข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- 2 นักวิจัยหญิงไทย จุฬาฯ ร่วมสำรวจวิจัยดินขั้วโลกใต้และวิจัยผลกระทบทางทะเลและสิ่งแวดล้อม
- 2 นักวิจัยหญิงไทยถึงขั้วโลกใต้แล้ว
- นักวิทย์ไทยเริ่มภารกิจขั้วโลกเก็บสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล-ตะกอนดิน
ติดตามชมย้อนหลังรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยที่ขั้วโลกใต้– ( 34 Views)