วันนี้ (7ก.พ.57) เอพีรายงานว่าแม้มือเทียมที่นักวิจัยเดนมาร์กพัฒนาขึ้นนี้จะยังไม่ล้ำเหมือน ในภาพยนตร์ไซ-ไฟ แต่ เดนนิส อาโบ โซเรนเซน (Dennis Aabo Sorensen) ชายวัย 36 ปี จากเดนมาร์กผู้สูญเสียมือซ้ายจากอุบัติเหตุพลุระเบิดเมื่อ 10 ปีก่อน ก็รู้สึกทึ่งต่อผลงานดังกล่าว โดยเขาได้เป็นอาสาสมัครในการทดลองใช้มือเทียมดังกล่าว และเป็นความรู้สึกใกล้เคียงการมีมือปกติมากที่สุด
สำหรับมือปกตินั้นการจับยึดสิ่งของไม่ใช่เรื่องยากเพราะเราออกแรงที่เหมาะ สมในการยึดสิ่งนั้นไว้ แต่ผู้ใช้มือเทียมต้องใช้สายตาในการประเมินว่าออกแรง บีบไปมากหรือน้อย เพราะการออกแรงที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ผู้อุปกรณ์ เทียมกลายเป็นคนซุ่มซ่ามไปได้ ไม่ว่าจะทำของตกหรือออกแรงจนของแตก
โซเรนเซนได้การฝังอิเล็กโทรดลงเส้นประสาทที่แขน 2 เส้น คือ เส้นประสา ทอัลนาร์และเส้นประสาทเมเดียน ที่แขนข้างที่มือขาด ซึ่งเส้นประสาทั้งสอง ช่วยรับความรู้จากที่มือ และเมื่อทีมวิจัยกระหน่ำยิงสัญญาณไฟฟ้าอ่อนที่เส้น ประสาทเหล่านั้น ทำให้เขารู้สึกเหมือนนิ้วที่ขาดไปกำลังเคลื่อนไหว ซึ่งแสดง ว่าเส้นประสาทยังคงรับข้อมูล ในส่วนของมือเทียมนั้นทางทีมวิจัยได้ใส่เซนเซอร์ที่นิ้วเทียม 2 นิ้วเพื่อ วัดข้อมูลที่นิ้วเทียมนั้นสัมผัส จากนั้นสายไฟมากมายก็ถูกพันจากผ้าพันแผลบน แขนของโซเรนเซนเข้ากับมือเทียม และอิเล็กโทรดก็กระหน่ำเส้นประสาทในสัดส่วน เดียวกับที่เซนเซอร์วัดการสัมผัสของมือเทียม ซึ่งทีมวิจัยได้สร้างวงจรไฟฟ้า ที่ทำให้แขนกลสื่อสารกับสมองของเขาได้อย่างฉับไว
ทีมวิจัยปิดตาและอุดหูโซเรนเซนเพื่อพิสูจน์ให้ชัดว่า เขาไม่ได้โกงผลการ ทดสอบด้วยการมองหรือฟังเสียงสิ่งที่เขาสัมผัส แต่เขาก็สามารถบอกได้อย่าง ชัดเจนว่าสิ่งที่สัมผัสนั้นคือ โดยผลตอบรับจากแขนไปยังเส้นประสาทและสมอง นั้นเป็นสัญญาณที่เขาบอกว่าชัดเจนมาก
หลังจากนี้ไมเซอรา กล่าวว่า ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพัฒนามือเทียมที่รับรู้สัมผัสได้ และมีหน้าตา คล้ายมือเทียมทั่วไป และยังต้องพิสูจน์ว่าการปลูกถ่ายเส้นประสาทนั้นจะคง อยู่ตลอดไป แต่พวกเขาต้องผ่าตัดเอาอิเล้กโทรดที่ฝังให้โซเรนเซนออก ด้วย เหตุผลด้านความปลอดภัย
รายการอ้างอิง :
นักวิจัยเดนมาร์กคิดค้นพัฒนา “มือเทียม” . (2557). TNN24 (ข่าววิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี). ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=22047&t=news.– ( 12 Views)