สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเกษตร
ม.เกษตรศาสตร์ 6 ก.พ.57 – นักวิชาการชี้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมและภัยแล้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศทั้งหมด แต่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติไม่มีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคณะเกษตรศาสตร์ จัดเสวนาผลกระทบของการทำลายป่าต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งแวดล้อมและผลผลิตทางการเกษตร โดยมีนักวิชาการและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความรู้
นายสมชาย ใบม่วง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่าจากข้อมูลและรายงานจากหน่วย
งานด้านสภาพกาศของต่างประเทศ พบว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทุกปี โดยตั้งแต่ปี 2006-2011 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.3-0.5
องศาเซลเซียส ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำงให้ไทยประสบปัญหาภัยพิบัติ และน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ซึ่ง
เกิดจาการระบบบริหารจัดการทรัพยากรอย่างไม่เหมาะสม และไม่มีแผนรองรับในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านนางสุรางค์ เธียรหิรัญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้ กล่าว่าการลดลงของป่าไม้ใน
ภูมิภาคอาเซียนเกิดจากปัญหาการส่งเสริมด้านการเกษตร โดยเฉพาะพลังงานจากพืชทดแทน โดยพบว่ามีปัญหาการบุกรุกพื้นที่
เปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมในหลายพื้นที่ ซึ่งในระยะเวลา 20 ปี ไทยมีป่าลดลงร้อยละ 2 ปัจจุบันมีพื้นที่ป่ากว่า 31 ล้านไร่ของ
พื้นที่ประเทศ ส่วนกัมพูชาและอินโดนีเซียป่าลดลงกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพที่ไม่
สมบูรณ์ บางชนิดอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของปริมาณออกซิเจนในอากาศ ซึ่งเป็นส่วนให้เกิดปัญหา
ภาวะโลกร้อน
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52f36033be0470897f8b45be#.UvgyaLSDjGg– ( 20 Views)