magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก จริงหรือ ? เพลงชาติไทย เยอรมันแต่ง
formats

จริงหรือ ? เพลงชาติไทย เยอรมันแต่ง

เล่าไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เพลงชาติไทยเกิดในรถราง เพราะคุณพระเจนดุริยางค์แต่งทำนองได้ขณะที่ท่านกำลังนั่งอยู่บนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน

สัปดาห์นี้เลยมาเย้าแหย่กันเล่นว่า คนเยอรมันเขียนทำนองเพลงชาติไทย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะคุณพระเจนฯท่านเป็นลูกครึ่งเยอรมัน

ในยุคที่สยามกำลังก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่ โลกหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม บรรดาลูกครึ่งจำนวนไม่น้อยกลายเป็นสะพานสำคัญในการเชื่อมสยามกับโลกภายนอก ลูกครึ่งเยอรมันอย่างคุณพระเจนดุริยางค์ หรือลูกครึ่งอังกฤษอย่างคุณพระเจริญวิศวกรรม (เสาหลักใหญ่ในการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เป็นต้นประวัติของคุณพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร หรือ Peter Feit พ.ศ.2426-2511) นั้นหาอ่านได้ง่าย เพราะนักดนตรีไทยถือว่าท่านเป็นบรมครู หรือบิดาแห่งวิชาการดนตรีสากลในประเทศเรา

นอกจากจะประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบันแล้ว ท่านยังประพันธ์เพลงสำคัญ เช่น เพลงเถลิงศก เพลงศรีอยุธยา และเพลงประกอบภาพยนตร์เช่นเพลงบ้านไร่นาเรา ฯลฯ

ท่านเป็นคนแรกที่เรียบเรียงตำราวิชาการดนตรีสากลขึ้นเป็นภาษาไทย ทำให้นักดนตรีบ้านเรามีโอกาสได้ใช้ตำราดังกล่าวศึกษาทั้งทฤษฎีการดนตรีและการเรียบเรียงเสียงประสานเบื้องต้น อีกทั้งยังประสิทธิ์ประสาทวิชาดนตรีให้แก่ลูกศิษย์ติดต่อกันนานกว่าครึ่งศตวรรษ

บรมครูผู้นี้เป็นท่านแรกที่บันทึกทำนองเพลงไทยเดิมไว้ในรูปของโน้ตสากล ทำให้เพลงไทยเดิมจำนวนมากไม่สูญหาย นอกจากนี้ยังเป็นท่านแรกที่เริ่มบัญญัติศัพท์ทางดนตรีจากสากลเป็นภาษาไทยอีกด้วย

คุณูปการของคุณพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการดนตรีของประเทศไทย จึงมีมากมายเกินกว่าเพียงการประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทยที่ท่านถูกขอร้องแกมบังคับให้ทำในปี พ.ศ.2475

รายการอ้างอิง :

จริงหรือ ? เพลงชาติไทย เยอรมันแต่ง. มติชนออนไลน์ (ศิลปวัฒนธรรม). วันที่ 21 ตุลาคม 2555.– ( 113 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 + one =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>