magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ โซเชียลมีเดียกับชาติกำลังพัฒนา
formats

โซเชียลมีเดียกับชาติกำลังพัฒนา

ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีข้อมูลจากผลการสำรวจที่น่าสนใจชุดหนึ่งเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะ เป็นผลงานการสำรวจของ พิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ของสหรัฐ อเมริกา สำรวจการใช้ “โซเชียลมีเดีย” ในประเทศกำลังพัฒนากว่า 20 ประเทศ (ไม่รวมประเทศไทย) เมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงพลานุภาพของสื่อเครือข่ายสังคมทั้งหลายแล้ว ยังทำให้ได้ภาพของความแพร่หลายของโทรศัพท์มือถือในประเทศเหล่านี้ออกมาให้ เห็นอีกด้วย

ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมา ไม่ได้ให้รายละเอียดถึงสัดส่วนการมีอินเตอร์เน็ตใช้ในแต่ละประเทศ แต่ก็ยังให้ภาพรวมเอาไว้ด้วย เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายนั้น การใช้อินเตอร์เน็ตนับวันจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่อยู่ในระดับที่รวดเร็วเหลือหลายมากมายนัก เนื่องจากปัญหาในโครงสร้างพื้นฐานและเหตุปัจจัยอีกหลายๆ อย่าง ทำให้ผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก หรือจะเรียกว่าเป็นส่วนใหญ่ก็ได้ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในประเทศกำลังพัฒนานั้นเชื่อมโยงอยู่กับสัดส่วนของ รายได้ที่แต่ละประเทศเหล่านั้นมี

ประเทศที่มีตัวเลขผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ในระดับสูง ก็จะมีสัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ในประเทศอย่างอาร์เจนตินา ชิลี รัสเซีย เลบานอน จีน และเวเนซุเอลา ประชากรมากกว่าครึ่งของแต่ละประเทศเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ แต่ในประเทศอย่างอินโดนีเซีย มีเพียง 23 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต ในยูกันดา มีแค่ 12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปากีสถานแค่ 8 เปอร์เซ็นต์ หรือประเทศอย่างพม่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2012 มีประชากรเพียงแค่ 534,930 คนเท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต คิดเป็นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดเท่านั้นเอง

เทียบ ข้อมูลดังกล่าวกับประเทศไทย จัดอยู่ในแนวโน้มที่ใกล้เคียงกันนั้น ข้อมูลจากเนคเทคระบุเอาไว้ว่า ณ สิ้นปีที่แล้ว มีคนไทยเพียง 26 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ตรงกันข้ามกับประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย อย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่มีคนอเมริกันเพียง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ไม่ใช้หรือไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้เลย

อย่าง ไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่าเมื่อมีอินเตอร์เน็ตใช้ การใช้อินเตอร์เน็ตของคนในประเทศกำลังพัฒนากลายเป็น “ภารกิจ” สำคัญในชีวิตประจำวันไป ในแทบทุกประเทศที่ผู้วิจัยสำรวจ ผู้ที่มีอินเตอร์เน็ตมากกว่าครึ่งระบุว่าเข้าใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำทุก วัน

เมื่อสำรวจต่อไปว่า หากเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ตแล้วจะเข้าไปใช้อะไร ผลสำรวจชี้ให้เห็นอิทธิพลของโซเชียลมีเดียในประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างชัดเจน เพราะเป้าหมายโดยรวมของคนในประเทศกำลังพัฒนาคือการเข้าไปใช้งานในเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลาย พิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ พบว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในอียิปต์ เข้าใช้โซเชียล มีเดียสูงสุด คือ 88 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ทั้งหมด รองลงมาเป็นรัสเซียและฟิลิปปินส์ เท่ากันอยู่ที่ 86 เปอร์เซ็นต์

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในบรรดาประเทศที่สำรวจกว่า 20 ประเทศนั้น มีเพียง 4 ประเทศ คือ จีน (เข้าใช้โซเชียล มีเดีย 48 เปอร์เซ็นต์) แอฟริกาใต้ (62 เปอร์เซ็นต์) โบลิเวีย (71 เปอร์เซ็นต์) และเลบานอน (72 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้น ที่เข้าใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมน้อยกว่าคนอเมริกัน ซึ่งมีสัดส่วนใช้งานกันอยู่ที่ 73 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือนอกจากนั้น 17 ประเทศ มีสัดส่วนการใช้สูงกว่าคนอเมริกันทั้งสิ้น รวมทั้งประเทศอย่างเคนยาและมาเลเซีย (เท่ากันที่ 76 เปอร์เซ็นต์) หรืออินโดนีเซีย (84 เปอร์เซ็นต์) เป็นต้น

รายงานวิจัยชิ้น นี้ระบุว่า ผู้ที่เข้าใช้โซเชียลมีเดียในประเทศกำลังพัฒนานั้น ใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ 2 อย่าง อย่างแรกสุดคือการติดต่อสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ในแวดวงเดียวกันแบบ “ทุกที่ ทุกเวลา” และเพื่อการแลกเปลี่ยนทรรศนะในหัวข้อสำคัญต่างๆ ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ เรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัยนิยม (ดาราดัง, รสนิยมร่วม, หนังสือ, เพลง เป็นต้น) เรื่องทางศาสนา และสุดท้ายก็คือ เรื่องการเมือง

ข้อมูลที่น่า สนใจสุดท้ายก็คือเรื่องโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแพร่หลายอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนาในเวลานี้ แต่สัดส่วนที่เป็นสมาร์ทโฟนกลับมีไม่มากมายนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในประเทศจีน ที่ประชากร 95 เปอร์เซ็นต์มีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่มีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นการใช้สมาร์ทโฟน ในปากีสถาน 53 เปอร์เซ็นต์มีมือถือ แต่เป็นสมาร์ทโฟนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น กิจกรรมหลักของ ผู้ใช้มือถือในประเทศกำลังพัฒนาจึงเป็นการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ถึงกัน อีกราว 50 เปอร์เซ็นต์ใน 15 ประเทศเท่านั้นที่ใช้ถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอ

ข้อมูลอย่างเป็น ทางการเท่าที่ค้นหามาได้ก็คือ จำนวนโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยนั้นมีมากมายมหาศาลเกินกว่าจำนวนประชากรไป แล้ว กล่าวคือคิดเป็น 138.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากร (ราว 92.5 ล้านหมายเลข)

แต่เป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพียงแค่ 59.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง

รายการอ้างอิง :
โซเชียลมีเดียกับชาติกำลังพัฒนา. (2557). มติชน ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557, หน้า 26.– ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


five + = 10

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>