magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข DentiiScan ซีทีสแกนเพื่อทันตกรรม
formats

DentiiScan ซีทีสแกนเพื่อทันตกรรม

การศัลยกรรมผ่าตัดฟันคุด ทำรากฟันเทียม หรือผ่าตัดขากรรไกรใบหน้า ต้องอาศัยการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดทั้งสิ้น ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีถ่ายภาพเอกซเรย์แบบ 2 มิติ ที่เห็นแค่ความกว้างและความสูงของกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นความหนาของกระดูก ทำให้การผ่าตัดบางครั้งทันตแพทย์ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่

ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่ชัดเจนของภาพ ยังอาจทำให้การผ่าตัดโดนเส้นประสาท มีผลให้เกิดอาการชาหลังการผ่าตัดได้

ทว่า ความเสี่ยงเหล่านี้กำลังหมดไป เมื่อล่าสุดนักวิจัยไทยพัฒนาและผลิต “เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ” เครื่องแรกในประเทศไทยได้สำเร็จ โดยนับเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยให้เห็นความสูงและความหนาของกระดูกขา กรรไกร รวมทั้งคลองเส้นประสาทอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ทันตแพทย์วางแผนก่อนการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำแผลมีขนาดเล็ก และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ นักวิจัยอาวุโสและที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม กล่าวว่า ตนสนใจและมุ่งมั่นในการวิจัยพัฒนาเครื่องซีทีสแกนเนอร์(CT Scanner) มากกว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ยังเป็นนักวิจัยสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย โดยทำวิจัยเรื่องการประมวลสัญญาณดิจิตอล ซึ่งขณะนั้นพิสูจน์หลักการทำงานของเครื่องได้แต่ยังไม่สามารถประกอบให้เป็น

เครื่อง สำเร็จรูปไปใช้งานทางการแพทย์ได้จริงเพราะไม่มีแหล่งในต่างประเทศที่จำหน่าย ชิ้นส่วนสำคัญที่จะนำมาประกอบได้ หากประเทศไทยต้องการใช้อุปกรณ์ซีที สแกนเนอร์ ก็ต้องซื้อทั้งชุดซึ่งแพงมาก

“แต่ปัจจุบันนี้แหล่งต่างประเทศเริ่มจำหน่ายชิ้นส่วนสำคัญดังกล่าวแล้ว ประกอบกับ สวทช.มีนักเรียนทุนที่ศึกษาด้านการประมวลสัญญาณภาพและการออกแบบอุปกรณ์กลับมาเป็นนักวิจัยจำนวนที่เพียงพอ นโยบายและบรรยากาศของ สวทช.เอง ก็เอื้ออำนวยให้มีการทำงานระหว่างศูนย์แห่งชาติมากขึ้นจึงทำให้ทีมนักวิจัย จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกันวิจัยและสร้างเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์3 มิติสำหรับงานทันตกรรม หรือเดนตีสแกน (DentiiScan)ได้สำเร็จ ซึ่งมีคุณสมบัติพื้นฐานทัดเทียมกับเครื่องจากต่างประเทศ และต้นทุนการผลิตต่ำ ช่วยให้คนไทยได้รับการบริการจากเครื่องมือทางด้านทันตกรรมที่ปลอดภัยทันสมัย ทั่วถึงกันทั้งประเทศ” ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

สำหรับหลักการทำงาน ของเครื่องเดนตีสแกนดร.พสุ สิริสาลี นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการอุปกรณ์การแพทย์ เอ็มเทค อธิบายว่า จะใช้เครื่องกำเนิดรังสีเป็นลำแสงรูปกรวย ทำการฉายลงไปบนฉากรับภาพรังสีซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองส่วนนี้จะอยู่ตรงข้ามกัน โดยอุปกรณ์จะหมุนไปพร้อมๆ กันรอบศีรษะคนไข้ 1 รอบ หรือ360 องศา ใช้เวลา 18 วินาที เพื่อบันทึกภาพในแต่ละมุมมอง จากนั้นข้อมูลดิบที่ได้จะถูกนำไปประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างภาพตัดขวางแบบ3 มิติบริเวณช่องปากและขากรรไกรของผู้ป่วย ภาพที่ได้จะถูกแสดงผลในมุมมอง 2 มิติ และ 3 มิติ ผ่านซอฟต์แวร์แสดงภาพที่ถูกออกแบบและพัฒนาตามความต้องการของทันตแพทย์ไทย

ด้าน ดร.เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี นักวิจัยอาวุโสจากห้องปฏิบัติการวิจัยเอกซเรย์ซีทีและการสร้างภาพทางการ แพทย์ เนคเทค กล่าวว่า จุดเด่นของเดนตีสแกนคือ ภาพตัดขวาง 3 มิติ ที่ได้จะแสดงให้เห็นกะโหลกศีรษะและขากรรไกรของผู้ป่วยในทุกๆ มิติ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคบริเวณช่องปากได้อย่างแม่นยำ วางแผนก่อนการผ่าตัดทางทันตกรรมได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยเช่น กำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมในการใส่รากฟันเทียม เพื่อไม่ให้ถูกอวัยวะสำคัญอย่างคลองเส้นประสาทหรือทะลุโพรงอากาศไซนัส เป็นต้นจึงทำให้โอกาสผ่าตัดผิดพลาดลดลง

นอกจากนี้ เดนตีสแกนยังนำไปใช้ในการผ่าตัดใส่อวัยวะเทียม เช่น หูเทียม การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งกรามช้าง อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ในด้านหู คอ จมูกเช่น การตรวจดูความผิดปกติของไซนัส รวมถึงนำไปใช้ร่วมกับเครื่องสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างชิ้นส่วน อวัยวะเทียม เช่น กะโหลกศีรษะเทียมขากรรไกรเทียม เพื่อให้มีความพอดีกับสรีระร่างกายของผู้ป่วยด้วย และที่สำคัญปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับยังน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ทั่วไป

ขณะนี้เดนตีสแกนผ่านการตรวจสอบด้านความ ปลอดภัยเรื่องปริมาณรังสีความปลอดภัยทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการทดสอบทางคลินิก พร้อมทั้งนำไปติดตั้งใช้งานจริงแล้วจำนวน 3 แห่ง คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ทันตกรรมเอสดีซี กรุงเทพฯ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีผู้ป่วยเข้ารับบริการมากกว่า 500 รายแล้ว

เดนตีสแกนนับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีดีๆ ฝีมือคนไทย เพื่อคนไทยอย่างแท้จริง

โรงพยาบาลที่สนใจเทคโนโลยีเดนตีสแกน ติดต่อได้ที่ สวทช. โทร.02-564-6900 ต่อ 2127-8, 2282-3

รายการอ้างอิง :
วัชราภรณ์ สนทนา. (2557). DentiiScan ซีทีสแกนเพื่อทันตกรรม. โพสต์ทูเดย์. ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์, หน้า B8.– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 − = six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>