จากสถานการณ์การเผาในปัจจุบัน ซึ่งสร้างให้เกิดวิกฤติมลพิษหมอกควัน จัดเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และชีวิตประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน พบมี สาเหตุหลักเนื่องมาจากหมอกควันจากการเผาป่าและการเผาในพื้นที่ของเกษตรกร จากข้อมูลการติดตามจุดความร้อน (Hotspot) จากดาวเทียม Aqua/Terra จะพบจุดความร้อนกระจายอยู่จำนวนมาก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ของ ทุกๆ ปี ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤติของปัญหาหมอกควันนี้ และ จากข้อมูลสนับสนุนตามสถิติของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปย้อนหลังตั้งแต่ปี 2551-2555 พบว่าในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) อยู่ที่ 470.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินจากค่ามาตรฐานเฉลี่ยที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งกำหนดให้ค่ามาตรฐาน PM10 อยู่ที่ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในปี 2555 ที่ผ่านมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีค่า PM10 สูงถึง 218.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่สูงสุดในรอบ 20 ปี ผลกระทบทั้งหมดล้วนมาจากไปฟ่า และมีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมดังนี้
ปัญหาหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ระบบทางเดิน หายใจ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ดิน, น้ำ, ป่า, สัตว์ป่าและ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในป่า มีจำนวนลดลง เนื่องจากไฟป่าทำลาย แหล่งอาหาร แหล่งน้ำและแหล่งที่อยู่อาศัยไม้ การเผาผลาญพืช คลุมดิน โครงสร้างดิน เกิดสภาวะอากาศของโลก นำมาซึ่งภาวะโลกร้อน (Global Warming) วิกฤติภัยแล้ง อุทกภัย และ วาตภัยมากขึ้น ส่งผลต่อการไหลบ่าของน้ำในช่วงฤดูฝนที่ไม่มีพืชขนาดเล็กกรองหน้าดิน และเม็ดดินขนาดเล็ก ทำให้เกิดการทับถมทำให้แม่น้ำตื้นเขิน กระทบต่อระบบเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การลงทุนตลอดจนการขึ้นลงของสายการบินต่างๆ ทำให้ทัศน์วิสัยในการมองเห็นต่ำกว่าปกติ
ปัญหาดังกล่าวมานี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากมนุษย์ทั้งสิ้น เนื่องมาจากกิจกรรมเผาในพื้นที่ทำการเกษตร วัชพืช และเศษวัสดุ ทางการเกษตร เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทั้งนอกและในพื้นที่ป่า ตลอดจน จากการเผาในที่โล่ง จากข้อมูลดังกล่าว สวทช. ภาคเหนือ จึงได้หาแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดปัญหาหมอกควัน โดยการสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงาน ที่จะส่งเสริมให้เกิดการ นำวัสดุทางการเกษตรกลับมาใช้ประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยว ข้อง กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว อันได้แก่ การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง, การสร้างเตาเผา ซังข้าวโพดเพื่อใช้ในครัวเรือน, การสร้างเครื่องตรวจวัดและ ดักฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10, การผลิตปุ๋ยหมัก และทำเตาแก๊สครัวเรือนจากขยะ, การพัฒนารถอัดก้อนฟางเพื่อใช้ประโยชน์, และอีกหลายโครงการเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง สร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน ยกตัวอย่าง เช่น หน่วยงาน อปท. ในพื้นที่ เพื่อสอนการทำปุ๋ย จากเศษฟางข้าวเพื่อลดการเผา, การสร้างระบบป้องกันการทำลาย ชั้นดินจากการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูงร่วมกับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย เชียงใหม่ (มจร. วัดสวนดอก) และสำนักทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่, ระบบเครื่องเตือนภัยและเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก, เตาเผาในครัวเรือนจากซังข้าวโพด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, แพร่ และน่าน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดทำโครงการ “ประกวดการใช้เทคโนโลยีการลดการเผาระดับชุมชน” เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มชุมชนในการดำเนินการพัฒนาและต่อยอดองค์ความ รู้ เทคโนโลยีลดการเผาอย่างเป็นระบบ รวมถึงการน้อมนำพระราชดำริต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อลดปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประกวด คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่ทดสอบแล้วในภาคสนามมาสังเคราะห์และขยายผล ให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีสู่การประยุกต์ใช้ใน วงกว้าง ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมการทำงานระดับชุมชน รวมทั้ง ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและสถาบันการศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและท้องถิ่นประยุกต์ ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับ พื้นที่ในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และการยกระดับแนว ปฏิบัติที่ดี และเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง เป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น ทราบถึงชุดเทคโนโลยีลดการเผา พร้อมใช้ที่มาจากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิด วัฒนธรรมการคิดแบบวิทยาศาสตร์ (ตั้งสมมุติฐาน สังเกต/บันทึก วิเคราะห์) การเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน และมีคณะผู้ร่วม รับผิดชอบโครงการอย่างน้อย 4 คน ประกอบด้วย-ผู้ใหญ่บ้าน- สมาชิก อบต. สมาชิกเทศบาลฯ ในหมู่บ้านที่เสนอโครงการครูประจำโรงเรียนในพื้นที่นั้นๆ หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล-เจ้าหน้าที่ประจำ อบต., เทศบาลฯ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ-ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ชมรมผู้สูงอายุ หรืออื่นๆ เป็นชุมชน ที่มีการประชุมหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ แสดงให้เห็นทุนเดิมด้านความเข้มแข็งของชุมชน เช่น การรวมกลุ่มในชุมชน กองทุนหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน เป็นต้น
รายการอ้างอิง :
ศักดิ์สิทธิ์ มีทรัพย์กว้าง. (2557). สวทช.ประกวดการใช้เทคโนโลยีลดการเผาสู่ชุมชนหนุนใช้ต้นทุนทางชุมนุมเข้มแข็งแต่ได้ผลเกินคาด. แนวหน้า. ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557, หน้า 14.
– ( 26 Views)