Mike Parker ผู้ช่วยทำให้ตัวอักษร Helvetica เป็นที่นิยมเสียชีวิตแล้ว (เสียชีวิตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2014 (เกิดในปี 1929 อายุรวม 85 ปี)) ไม่มีนักออกแบบกราฟิกคนไหนไม่คุ้นเคยกับตัวอักษร Helvetica (เริ่มนำมาใช้ในปี 1957 ตอนนั้นเรียกตัวอักษรแบบนี้ว่า Neue Haas Grotesk) นอกจากนี้ตัวอักษร Helvetica ยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานออกแบบด้วย แม้แต่ Steve Job ยังนำตัวอักษร Helvetica ใส่ในระบบปฏิบัติการของ Apple
นักออกแบบชาวสวิส Emil Ruder (มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1914 ถึง 1970) และ Armin Hofmann (เกิดในปี 1920) เป็นอาจารย์สอนที่ Basel School of Design การสอนของพวกเขาทำให้เกิดงานการออกแบบสไตล์สวิสระหว่างปี 1950 ถึง 1969
Ruder เป็นอาจารย์สอนทางด้านการพิมพ์ให้ความสำคัญกับการใช้ตัวอักษร sans-serif เขาสอนว่าตัวอักษรหมดจุดประสงค์ เมื่อไม่มีความหมายทางการสื่อสาร ดังนั้น ความชัดเจน และอ่านออกง่าย จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจอย่างมาก เขากล่าวว่า “การพิมพ์มีหน้าที่เพียง สื่อสารรายละเอียดในรูปแบบการเขียน” รูปแบบเดียวกันของตัวอักษร Helvetica เข้ากันได้ดีกับหลักปรัชญาการพิมพ์ของ Basel School of Design
ไม่นานหลังจากการเริ่มนำตัวอักษร Helvetica มาใช้ นักเรียนจาก Basel School of Design ได้เผยแพร่คุณค่าของตัวอักษร Helvetica ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางกลับมายัง Yale และโรงเรียนอเมริกันอื่นๆ (Mike Parker จบปริญญาโทด้านการออกแบบจาก Yale)
ทุกวันนี้ อาจมีความสัมพันธ์ที่มีทั้งรักและเกลียดในหมู่นักออกแบบกราฟิก แต่ก็ไม่มีอะไรมากกว่าการใช้ที่ไม่ถูกต้อง การวางในสภาพแวดล้อมที่ผิดกว่าข้อผิดพลาดกับการออกแบบเกี่ยวกับการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น เลือกตัวอักษร Helvetica สำหรับตราสัญลักษณ์ (logo) เพื่อที่จะบอกความแตกต่างของบริษัทหนึ่งจากบริษัทอื่นๆ ในตลาด ด้วยรูปแบบตัวอักษรที่สะอาด เป็นมืออาชีพและปลอดภัย ไม่แปลกใจเลยที่บริษัทขนาดใหญ่ เลือกที่จะใช้ตัวอักษร Helvetica กับแบรนด์ระดับนานาชาติตั้งแต่ BMW และสายการบินอเมริกันไปจนถึง Lufthansa และ Panasonic
ที่มา: BBC NEWS (March 1, 2014). Helvetica: How did one typeface conquer the world?. Retrieved March 4, 2014, from http://www.bbc.com/news/blogs-magazine-monitor-26383185– ( 157 Views)