วันที่ 8 มี.ค.ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล สตรีในประเทศต่างๆ ได้จัดกิจกรรมและร่วมเฉลิมฉลองกันทั่วโลก และในโอกาสวันสตรีสากล8 มี.ค.นี้ “โพสต์ทูเดย์” ขอหยิบยก “ผู้หญิงไทย”ที่มีความเก่งทำงานในอาชีพที่ยากได้ทัดเทียมกับผู้ชายใน 3 สาขา ได้แก่ นักบิน วิศวกรดาวเทียมและนักวิจัย เพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็มีความรู้ความสามารถทำงานได้เก่งไม่แพ้ผู้ชาย
ดร.จิตติมา พิริยะพงศาต้องเลือกหน้าที่แม่ หรือก้าวหน้าในอาชีพ
ข้อ ดีของนักวิจัยหญิงคือ มีความละเอียดรอบคอบในการทำงานวิจัยได้ไม่แพ้ผู้ชายแนวคิดนี้เป็นของ ดร.จิตติมา พิริยะพงศาวัย 36 ปี นักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการชีวสถิติและสารสนเทศสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้เคยได้รับทุนโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประจำปี 2556
ดร.จิตติมา ศึกษาจบ
ปริญญา เอก สาขาชีวสารสนเทศศาสตร์ ที่ Georgia Institute of Technology สหรัฐ เธอยังเคยได้รับรางวัลด้านการวิจัยในระดับนานาชาติมากมาย ปัจจุบันเธอให้ความสนใจทำงานวิจัยเรื่อง”การใช้เทคนิคชีวสารสนเทศในการศึกษา บทบาทและกลไกใหม่ของไมโครอาร์เอ็นเอในการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนยีน โปรโมเตอร์” หากงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จจะช่วยคัดกรองตำแหน่งเป้าหมาย เช่น เชื้อที่ก่อมะเร็ง โดยใช้เทคนิคชีวสารสนเทศก่อนการศึกษาเชิงลึก ทำให้ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการดำเนินวิจัยและการรักษาโรคมากขึ้น
“งานวิจัยเป็นงานอิสระ เพราะโปรเจกต์จะบอกเลยว่าทำอะไรและต้องการอะไร นักวิจัยจึงต้องวางแผนว่าทำอะไรและตอนไหน”
ความ เป็นผู้หญิงนักวิจัยในแง่การทำงานอาจเสียเปรียบนักวิจัยชายอยู่บ้าง ในเรื่องผู้ชายสามารถทำงานวิจัยได้ตลอดเวลา ไม่ต้องลาคลอดเพื่อไปเลี้ยงดูลูก แต่ข้อดีของความเป็นผู้หญิงนักวิจัยก็คือ ผู้หญิงจะมีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกตและชอบคิดซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีของนักวิจัย
“ในแง่ โอกาสในการทำงานวินัยในไทยค่อยข้างเท่าเทียมกัน แต่หากมองในระดับโลกแล้ว ตามรายงานพบว่านักวิจัยผู้หญิงจะเสียเปรียบในแง่ขอทุนการศึกษา เช่น งานวิจัยด้านวิศวกรรมเพราะผู้ชายนิยมมากกว่าผู้หญิง เมื่อผู้หญิงขอทุนด้านนี้ก็มักได้น้อยกว่า เช่นประเทศทางแถบตะวันออกกลาง ส่วนยุโรปกับอเมริกาจะมีนักวิจัยหญิงหรือชายก็ไม่มีปัญหา ที่เมืองไทยไม่มีปัญหาเรื่องผู้หญิงขอทุนโดยเฉพาะงานวิจัยด้านชีวะผู้หญิง เยอะอยู่แล้ว”
ในแง่ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน บางประเทศโอกาสก้าวหน้าในอาชีพผู้หญิงจะมีน้อยกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงเมื่อแต่งงานและมีลูกก็ต้องแบ่งเวลาให้ครอบครัว ไปทำหน้าที่แม่ ทำให้งานวิจัยที่ทำอยู่อาจชะงัก
“ผู้หญิงนักวิจัยหลายๆ คน ต้องเลือกระหว่างเป็นแม่กับนักวิจัย เพราะงานวิจัยต้องทำต่อเนื่องต้องคิดตลอดแต่หากนักวิจัยหญิงมีคนช่วยเลี้ยง ดูลูกรู้จักการแบ่งเวลา มีทีมงานที่มีความพร้อม ก็ไม่ต้องห่วง ทำงานได้ต่อเนื่องไม่เพียงแต่อาชีพนักวิจัยเท่านั้น อาชีพไหนต้องทำงานต่อเนื่องต้องคิดทำตลอดก็เป็นปัญหาด้วยกันทั้งนั้น”
สิ่ง ที่ ดร.จิตติมา อยากให้สตรีไทยตระหนักไว้ก็คือ จะเป็นหญิงหรือชายแต่หากเรามุ่งมั่นใช้สติปัญญาและความสามารถแสดงศักยภาพใน การทำงานให้เต็มที่ เพื่อสังคมให้การยอมรับดีกว่า หัวสมองหญิงไทยไม่แพ้หญิงต่างชาติ แต่ติดที่ความกล้าของผู้หญิงไทยมีน้อยกว่าเพราะด้วยพื้นฐานการเลี้ยงดู ความเชี่ยวชาญด้านภาษา รวมทั้งลักษณะนิสัยของหญิงไทยที่อ่อนน้อมถ่อมตน จึงไม่ค่อยกล้าแสดงออกหากเราช่วยกันส่งเสริมให้เด็กๆ แสดงความคิดเห็นและความกล้าได้เต็มที่น่าเป็นเรื่องดีไม่น้อย
พิรดา เตชะวิจิตร์
วิศวกรดาวเทียมหญิงเก่งไม่แพ้ชาย
สาว ไทยร่างเล็กแต่มีความแข็งแกร่ง มิ้ง-พิรดา เตชะวิจิตร์วิศวกรดาวเทียมวัย 29 ปี ซึ่งนับเป็นหญิงไทยคนแรกที่สร้างประวัติศาสตร์การเดินทางไปสู่อวกาศกับ”แอ็ก ซ์ อพอลโล” ด้านประวัติการศึกษาพิรดา คว้าทุนการเรียนต่อด้านดาวเทียมที่ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเธอเป็นวิศวกรดาว
เทียมที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือกิสต์ด้า (GISTDA)
“อวกาศ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และท้าทายมาก ที่กิสต์ด้างานของมิ้งก็คือ วิศวกรดาวเทียม คอยติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมไทยโชต หรือดาวเทียม Theos ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทยโดยดูทั้งภาคพื้นดินและบนดาว เทียม หากถามว่าการทำงานเป็นวิศวกรดาวเทียมเป็นเรื่องยากหรือง่ายสำหรับผู้หญิง อย่างเรามิ้งคิดว่าไม่ได้มีความแตกต่างในเรื่องเพศเพราะเราผู้หญิงได้เปรียบ บางอย่างวิศวกรหญิงเก่งเท่าวิศวกรชาย บางอย่างเก่งกว่าด้วยซ้ำ เพราะผู้หญิงไม่ได้ด้อยด้านสมอง อีกทั้งเราไม่ต้องใช้แบกหาม เราสามารถใช้สมอง คิด แก้ปัญหา และเรา
ละเอียดรอบคอบ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ”
แม้ สมัยก่อนผู้ชายมีความชอบด้านคิดคำนวณและชอบความท้าทายมากกว่าผู้หญิง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายทำงานได้เท่ากัน เพราะมีสมองสองฝั่งเหมือนๆ กัน วิศวกรดาวเทียมหญิงจึงทำงานได้ไม่มีข้อจำกัด
“เรา เป็นผู้หญิงที่ต้องทำงานในกลุ่มผู้ชาย กลับเป็นข้อได้เปรียบ เพราะได้การยอมรับ ผู้หญิงจะมาทำงานต้องนี้ได้ต้องมีความคิดและความเก่งระดับหนึ่ง อีกทั้งผู้หญิงยังได้เปรียบตรงพูดจาอ่อนหวาน นุ่มนวลไม่แข็งเหมือนผู้ชาย จึงมักได้รับมอบหมายให้สร้างคอนเนกชั่นที่ดีกับแผนกอื่นๆ
ทำ ให้การทำงานราบรื่นอย่างในทีมมิ้งมีผู้ชาย 6 ผู้หญิง 4 คน ไม่ว่าจะหญิงหรือชายหน้าที่รับผิดชอบเท่ากัน อย่างมิ้งทำงานประสานงานได้ดี เพื่อนๆอาศัยให้เราประสานงานบ่อยๆ ทำให้เราเจอคนที่หลากหลายเปิดโอกาสได้รู้จักคนใหม่ๆ”
บางสาย งานผู้หญิงได้เปรียบมากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยน้ำหนักตัวที่เบากว่า เช่น การซ่อมปีกเครื่องบินรับแต่ผู้หญิงเพราะอยากได้คนตัวเล็กบาง จากประสบการณ์บางครั้งที่ต้องทำงานอาศัยความอดทน อดหลับอดนอนผู้หญิงก็อึดกว่า
“ในด้านความแข็งแกร่งของหญิง ไทยอย่างตอนที่มิ้งไปทดสอบความแข็งแกร่งของร่างกายที่ฟลอริดา กว่าจะได้บินไปอวกาศ มิ้งพบว่าผู้หญิงไทยมีความแข็งแกร่งพอๆ กับผู้หญิงชาวต่างชาติ เผลอๆจะได้เปรียบเพราะมีการฝึกวิชารักษาดินแดน ผู้หญิงไทยติดแค่ตรงความกล้าแสดงออก ผู้หญิงต่างชาติกล้าแสดงความคิดเห็นและมีจุดยืนที่ชัดเจน หากหญิงไทยมีความกล้าแสดงความคิดเห็น จะยิ่งเพิ่มโอกาสในความก้าวหน้าในอาชีพ อย่างมิ้งไปงานสัมมนาต่างประเทศ มิ้งชอบเข้าไปคุยกับผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการสร้างคอนเนกชั่นช่วยเพิ่มโอกาสทำให้รู้จักสิ่งใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆมากมาย”
นักบินเหินเวหา กนกกาญจน์ เต็มพิทักษ์
นัก บินสาวสุดเท่ แห่งสายการบินนกแอร์ กนกกาญจน์ เต็มพิทักษ์ วัย 26 ปี พกดีกรีเกียรตินิยมอันดับ 1จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากความฝันว่าอยากเป็นหมอเหมือนคุณตา พอโตมากลับอยากเป็นนักบินเหมือนคุณปู่และคุณพ่อ แม้ไม่ได้ศึกษามาด้านวิศวกรเหมือนนักเรียนนักบินที่เป็นผู้ชาย เธอจึงต้องพยายามทำความเข้าใจกับวิชาไฟฟ้าวิศวกรเครื่องยนต์แต่ความเป็น ผู้หญิงที่ตั้งใจและรักเรียน เธอกลับพลิกข้อเสียเปรียบผู้ชายในเรื่องวิศวกรรมไฟฟ้ามาเรียนภาคทฤษฎี เช่น วิชาอากาศ ความรู้การบินจนกลายเป็นนักเรียนนักบินหญิงหนึ่งเดียวท่ามกลางผู้ชายที่ทำ คะแนนอันต้นๆ ของรุ่น
พอมาทำงานจริงๆ ความเป็นผู้หญิงไม่ใช่อุปสรรค กลับได้เปรียบเพราะอาจารย์เกิดความเอ็นดู ไม่ดุด้วยถ้อยคำที่รุนแรงเหมือนนักเรียนผู้ชาย ปัจจุบันน้ำตาลบินเครื่องบินเจ็ตขนาดปกติจุผู้โดยสารได้189 คน ซึ่งความเป็นผู้หญิงไม่มีข้อจำกัดในการทำการบินเลย
“เคยมี กัปตันท่านหนึ่งบอกว่า ผู้หญิงมีความสามารถดีกว่าผู้ชายบางคนด้วยซ้ำ ผู้หญิงทำการบินดีกว่าเพราะมีความละเอียดละออ ผู้หญิงมีนิสัยที่ละเอียด นุ่มนวล หรือที่เรียกว่า เลดี้ แฮนด์ แต่ผู้ชายบางคนก็ทำได้ดีกว่า พอๆ กันหรือเท่ากับผู้หญิง”
กนกกาญจน์ บอกว่า ยุคนี้เป็นยุคที่ให้โอกาสผู้หญิงมากขึ้นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักบิน แต่ยังไม่เท่าต่างประเทศ อาชีพนักบินเป็นงานที่ท้าทายและรับผิดชอบกับชีวิตผู้โดยสารค่อนข้างสูง นักบินที่ดีจึงต้องรู้จักตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ทันกาล คิดให้รอบคอบและรวดเร็ว เพื่อดูแลผู้โดยสารไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
สำหรับ บทบาทและสิทธิสตรีในสังคมที่กนกกาญจน์อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ ผู้หญิงไทยควรกล้าคิดกล้าทำ โดยเราต้องปลูกฝังเด็กไทยให้กล้าแสดงออกและกล้าแสดงความขึ้นเห็นให้มากขึ้น
“เป็น เรื่องน่ายินดีที่ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น ทั้งนักบริหาร นักการเมืองแต่ยังมีผู้ชายบางคนมองว่าผู้หญิงมีข้อจำกัดในการทำงานเมื่อ เทียบกับผู้ชายน้ำตาลอยากให้องค์กรหรือสถาบันเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ไปทำงาน ในตำแหน่งสูงขึ้น อย่างวงการนักบินไทยได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยได้เป็นนักบินแล้ว แต่บางสายการบินยังไม่รับผู้หญิงเป็นนักบิน เพราะเขาคิดว่าผู้หญิงตัดสินใจไม่เด็ดขาดเท่าผู้ชายและเป็นเรื่องน่ายินดี ที่มีนักบินหญิงไทยได้ไปเป็นนักบินตะวันออกกลาง ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่โอกาสเปิดมากขึ้น ที่ผู้หญิงไทยทำงานได้ทัดเทียมกับนักบินหญิงจากทั่วโลก”
ผู้หญิง นักวิจัยหลายๆ คน ต้องเลือกระหว่างเป็นแม่กับนักวิจัย เพราะงานวิจัยต้องทำต่อเนื่องต้องคิดตลอด แต่หากนักวิจัยหญิงมีคนช่วยเลี้ยงดูลูก รู้จักการแบ่งเวลา มีทีมงานที่มีความพร้อมก็ไม่ต้องห่วง ทำงานได้ต่อเนื่องไม่เพียงแต่อาชีพนักวิจัยเท่านั้น อาชีพไหนต้องทำงานต่อเนื่องต้องคิดทำตลอดก็เป็นปัญหาด้วยกันทั้งนั้น
รายการอ้างอิง :
วราภรณ์. (2557). มุมมอง 3 อาชีพหญิงแกร่ง. โพสต์ทูเดย์. ฉบับวันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1,8,9.
– ( 159 Views)