ทิปโก้ ไบโอเท็ค น้องเล็กคนสุดท้องในกลุ่มธุรกิจอาหารของ ทิปโก้ เอฟแอนด์บี ไต่บันไดความสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี ประเดิมด้วย สารสกัดจากใยสับปะรดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มมูลค่าหลายเท่าตัวให้กับของเหลือจากการผลิต ตามมาด้วยสับปะรดพันธุ์ใหม่ในชื่อ ทิปโก้หอมสุวรรณ มีกลิ่นหอม เป็นสีเหลืองทองทั้งลูกและวิตามินซีสูงกว่าสับปะรดศรีราชา 4 เท่า
นอก จากนี้ก็มีผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ผง ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์และเครื่องดื่ม ล่าสุดกับนวัตกรรมสารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน ที่พร้อมเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องสำอาง
:ขุมทรัพย์จากธรรมชาติ
ทิป โก้ ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผักผลไม้พร้อมดื่ม ได้ซื้อบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่นซึ่งปลูกและส่งออกใบเปล้าน้อยแห้งไปญี่ปุ่น ไปทำให้บริสุทธิ์และผลิตยาแผนปัจจุบันที่ใช้สำหรับการรักษาแผลในกระเพาะ อาหาร พร้อมด้วยที่ดินประมาณ 6,899 ไร่ โรงงานสกัดสมุนไพรและห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ“บริษัท ดังกล่าวเลิกกิจการโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเป็นเพราะยารักษาโรคกระเพาะสูตรเปล้าน้อยไม่เป็นที่นิยมก็ได้ ทิปโก้เข้าไปซื้อกิจการและตั้งเป็น ทิปโก้ ไบโอเท็ค พร้อมกับการเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนั้น ทำฟาร์มปลูกพืชและสมุนไพร ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมทางเภสัชกรรม รวมทั้งจัดตั้งโรงงานเพื่อการผลิต หรือแปรสภาพส่วนผสมของเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์” อนันต์ ชัยกิจวัฒนะ ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจไบโอเท็ค บริษัท ทิปโก้ ไบโอเท็ค จำกัด กล่าว
ทิปโก้เห็นชัดถึงโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มวัตถุดิบจาก ธรรมชาติ โดยเฉพาะสมุนไพรและสารสกัด ที่มีจำนวนมากและหลากหลายในไทย แต่มีปัญหาหากต้องการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในธุรกิจเครื่องดื่ม ที่ผ่านมาทิปโก้แก้ปัญหาด้วยการนำเข้าส่วนประกอบเหล่านี้จากต่างประเทศ จึงตัดสินใจลงทุนตั้ง ทิปโก้ ไบโอเท็ค เพื่อสนับสนุนธุรกิจของทิปโก้และผลิตวัตถุดิบป้อนผู้ผลิตรายอื่นๆ ด้วย
เริ่ม ต้นสินค้านำร่องด้วยสารสกัดจากใยสับปะรด ขยายสู่สารสกัดจากพืชอื่นๆ รวมถึงขมิ้นชัน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์หลายประเภท โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภท Functional ผสมขมิ้นชัน ได้รับความนิยมมากในผู้บริโภคญี่ปุ่น ทางทีมธุรกิจจึงให้ความสนใจกับวัตถุดิบนี้ แต่พบว่าขมิ้นชันไม่เหมาะกับเครื่องดื่ม ทั้งกลิ่น ตะกอนแขวนลอยและสีที่เปลี่ยนไป
อนันต์ กล่าวว่า จากที่ได้ทำธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งจากสมุนไพรและพืชมาใช้ในเครื่องดื่มนั้น รสชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าคำนึงถึงและจะต้องรับได้เป็นอันดับแรก แต่หลายวัตถุดิบจากธรรมชาติก็ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ประโยชน์
บริษัท จึงมีแนวคิดที่จะหานวัตกรรมที่จะทำให้รสชาติของวัตถุดิบจากธรรมชาติมีผลต่อ รสชาติของผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด เช่น กลบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ไม่ตกตะกอนและมีความคงตัวดีในน้ำหรือในเครื่องดื่ม กระทั่งได้เทคโนโลยีที่ลงตัวที่สุด คือ การใช้เทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่น (Encapsulation)
“สารสกัดขมิ้นมีปัญหาเรื่องรสชาติอยู่แล้ว ใช้ในเครื่องดื่มรสชาติก็ออกไปทางเครื่องเทศเครื่องแกง ไม่เหมาะกับเครื่องดื่มสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นสารสำคัญของขมิ้นยังไม่ละลายน้ำ เสื่อมสลายได้ง่าย สีเปลี่ยนง่าย และยังมีปัญหาเรื่องการดูดซึมสาร สำคัญเคอร์คูมิน (curcumin) ของขมิ้น เข้าสู่ร่างกายได้น้อยอีก จึงหาผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และได้พบว่าทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.ได้ร่วมกันทำงานวิจัยด้านนี้อยู่” อนันต์ กล่าว
:วิจัยเพื่อธุรกิจ
1 ปีหลังจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากคณะวิจัย พบว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นและรสชาติของสารสกัดจากขมิ้นได้ ทำให้ไม่มีผลต่อรสชาติของผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้แต่อย่างใด ขณะนี้ได้ส่งตัวอย่างสารสกัดในแคปซูลนาโนไปให้ลูกค้าหลายรายทดลองใช้แล้ว
หลัง จากชิมลางความสำเร็จจากขมิ้นชันนาโน บริษัทเล็งขยายผลไปยังพืชชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติเกินร้อย แต่มีปัญหารสชาติจัดจ้านเกินกว่าที่จะใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มและ อาหาร เช่น สมุนไพรฟ้าทะลายโจน
ย้ำชัดถึงบทบาทนาโนเทคโนโลยี กับเบื้องหลังความสำเร็จของทิปโก้ ไบโอเท็ค กับ เป้าหมายที่จะเป็นที่รู้จักในด้านผู้ผลิตผลไม้และส่วนประกอบจากสมุนไพรระดับ ดี่เยี่ยมในระดับอาเซียน
รายการอ้างอิง :
“นาโน”ปรุงแต่งธุรกิจเครื่องดื่ม. (2557). กรุงเทพธุรกิจ (innovation). ฉบับวันที่ 07 มีนาคม, หน้า 7.– ( 153 Views)