ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สวทช. ได้จัดการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การทำเกษตรในระบบโรงเรือนและการบริหารจัดการแบบครบวงจร ในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กับเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง จ. อุบลราชธานี
สถานีความรู้แห่งแรก คือ สวนอีเดน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการปลูกพืช ท้ังแบบไฮโดรโปนิกส์ แบบโรงเรือน และแบบขั้นบันได การวางระบบน้ำ และคลุมแปลงปลูกด้วยพลาสติกสีดำ เพื่อความสะดวกในการจัดการน้ำและวัชพืชในแปลงปลูก พืชที่ปลูก ได้แก่ ผักสลัด พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกและไม้ประดับ
สถานีความรู้ถัดมา คือ บจก. สามเหลี่ยมเมล็ดพันธุ์ จ. ลำพูน เพื่อศึกษาเทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น ผักสลุด มะเขือเทศ เมล่อน พริก ถั่วพู ผักปลัง รวมทั้งให้คำแนะนำการปลูกเมล่อน ซึ่งมีรสชาติหวานกรอบ ทนต่อสภาพอากาศ ดูแลรักษาง่าย คล้ายกับการปลูกแตงไทย โดยปล่อยให้เถาเลื้อยไปตามพืน ไม่ต้องทำค้าง แต่ต้องยกพื้นแปลงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องก้นน้ำท่วมขังราก เทคนิคการปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คือ อย่าให้ติดลูกใกล้ต้น ควรปล่อยให้เมล่อนติดลูกตั้งแต่ข้อที่ 10 ขึ้นไป เพื่อให้ผลเมล่อนไม่แตกก่อนการเก็บเกี่ยว และได้ขนาดผลที่ตลาดต้องการ
สถานีสุดท้าย หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและห้วยน้ำผัก อ. นาแห้ว จ.เลย เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่สูง (สตรอว์เบอรรี่ มะคาเดเมีย) รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การปลูกสตรอว์เบอรรี่เป็นที่นิยมมากที่บ้านห้วยน้ำผัก เพราะลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขาอากาศค่อนข้างเย็น ส่วนบ้านบ่อเหมืองน้อยการแปรรูปมะคาเดเมีย
รายการอ้างอิง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สำนักพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. Newsletter สำนักพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี vol.8. 2557.– ( 85 Views)