เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เหตุใดบางคนจึงจำความฝันได้ดี
สิ่งที่ทำให้ความฝันยังคงเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ คนบางคนจำความฝันได้ดี ขณะที่บางคนจำความฝันไม่ค่อยได้ ล่าสุดทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาลียง ประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการสังเกตการณ์จนพบว่า ผู้ที่จำความฝันได้ดีจะมีการตื่นตัวในขณะที่หลับบ่อยครั้ง ซึ่งมากกว่าผู้ที่จำความฝันไม่ค่อยได้หลายเท่านัก นอกจากนี้ สมองของผู้ที่จำความฝันได้ดียังมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระตุ้นในขณะที่หลับและช่วงที่ตื่นมากกว่าอีกด้วย ซึ่งปฏิกิริยาที่มากกว่าปกตินี้ทำให้เกิดการตื่นตัวในช่วงกลางคืนอยู่นั่นเอง และอาจจะช่วยทำให้จดจำความฝันในช่วงกลางคืนได้ด้วย
ในงานวิจัยนี้ ทีมวิจัยพยายามจะหาว่าสมองส่วนไหนของผู้ที่จำความฝันได้ดีกับผู้ที่จำไม่ค่อยได้ที่มีความแตกต่างกัน นักวิจัยใช้ Positron Emission Tomography (PET) ในการวัดกิจกรรมของสมองโดยธรรมชาติของอาสาสมัคร 41 คนในช่วงที่หลับและตื่น อาสาสมัครนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 21 คนเป็นผู้ที่จำความฝันได้ดี คือ มีจำความฝันได้เฉลี่ย 5.2 ครั้งต่อสัปดาห์ กับอีก 20 คนที่เป็นผู้จำความฝันได้ไม่ดี คือ จะจำความฝันได้เพียง 2 ครั้งต่อเดือนโดยเฉลี่ยเท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/448227– ( 28 Views)