magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข สธ.ยกระดับระบบรถพยาบาลฉุกเฉิน
formats

สธ.ยกระดับระบบรถพยาบาลฉุกเฉิน

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสังคม
กรุงเทพฯ 14 มี.ค.2557 -สธ.ยกระดับพัฒนาระบบรถพยาบาลฉุกเฉินทั้งคนขับและบุคลากรทางการแพทย์ที่นั่งไปด้วย คาดประกาศใช้เร็วๆ นี้

นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานนำส่งผู้ป่วยอยู่เนืองๆ เช่น   ที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ว่าขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนามาตรฐานของระบบรถพยาบาลขึ้น 1 ชุดเป็นการเฉพาะ มีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขฉุกเฉินเป็นประธาน โดยในเรื่องของรถพยาบาลฉุกเฉินที่ใช้ในโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศกว่า 800 แห่ง ซึ่งมีกว่า 2,500 คัน ขณะนี้สภาพค่อนข้างใหม่ มีสมรรถนะดีอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือการวางมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ สมบูรณ์แบบทุกขั้นตอน   เพื่อลดความสูญเสียและสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนรถพยาบาลฉุกเฉิน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย เป็นสำคัญ

นายแพทย์วชิระกล่าวต่อว่า ในการศึกษาระบบดังกล่าวได้วางไว้ 7 เรื่อง ได้แก่

1.พนักงานขับรถหรือ พขร. ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จะยกระดับมาตรฐานคนขับพยาบาลฉุกเฉินโดยเฉพาะ พัฒนาหลักสูตรการขับรถพยาบาล  และจัดอบรมตามสถานการณ์ต่างๆ เหมือนจริง เพื่อออกใบขับขี่ให้เฉพาะรถพยาบาลเท่านั้น รวมถึงมาตรการตรวจแอลกอฮอล์ ตรวจสารเสพติดก่อนขับ การทดสอบสุขภาพจิตปีละครั้ง มีประกันชีวิตอุบัติเหตุหมู่ การจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษ กว่าพนักงานขับรถราชการๆ ทั่วไป

2.พยาบาลที่ไปกับรถต้องมีทักษะประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ส่งต่อ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งสำคัญที่สุด มีประกันอุบัติเหตุหมู่ และค่าตอบแทนพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

3.รถพยาบาล โครงสร้างตัวถังรถต้องแข็งแรง จะต้องตรวจเช็กติดตั้งจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ ติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) สามารถติดตามตำแหน่ง ควบคุมความเร็ว ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาณภาพเพื่อติดตามอาการผู้ป่วย
4.ระบบของศูนย์สั่งการ ติดตั้งจีพีเอสประจำรถ เพื่อสามารถติดตามตำแหน่งพิกัดของรถพยาบาล ควบคุมความเร็ว และติดตั้งเครื่องติดตามอาการผู้ป่วย (Control monitor) การคัดกรองอาการความรุนแรงของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ และระบบประสานการจราจร ให้เกิดความคล่องตัวระหว่างการนำส่ง

5.การส่งต่อผู้ป่วย (Refer) ประกอบด้วยการซักซ้อมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อบ่งชี้ของการส่งต่อผู้ป่วย  เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อในช่วงเวลา
ไม่เหมาะสม และมีการแจ้งข้อมูลและทำความเข้าใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ก่อนนำส่งต่อคร่าวๆ

6.มาตรฐานการขับรถพยาบาล มีการจำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้ยึดกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก
และ 7.การขอความร่วมมือจากประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และสังคม ให้หลบและให้ทางรถพยาบาลฉุกเฉิน คาดว่าจะประกาศใช้ได้ในเร็วๆ นี้
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=53229e33be0470deb68b471d#.UyLG_IUlTcs– ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>