magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าวเทคโนโลยี ระบบโรงกลั่นชีวภาพ เทคโนโลยีที่น่าจับตา
formats

ระบบโรงกลั่นชีวภาพ เทคโนโลยีที่น่าจับตา

ปัจจุบันวิทยาการความก้าว หน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนจำเป็นต้องใส่ใจตามให้ทัน เนื่อง จากมีผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต และอาจเป็นธุรกิจที่ดีด้วย หากใครกำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจ ในจำนวนเทคโนโลยีที่น่าสนใจนี้รวมถึง “เทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวล” หรือ “ระบบโรงกลั่นชีวภาพ” ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการแปรรูปวัตถุดิบจากธรรมชาติให้ได้พลังงานทดแทน รูปแบบต่างๆไปจนถึงวัสดุในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนเคมีภัณฑ์หรือโพลีเมอร์ที่เป็นผลพลอยได้จากโรงกลั่นน้ำมันปรกติ หรือทำให้ระบบ โรงกลั่นชีวภาพทำหน้าที่ได้เหมือนโรงกลั่นน้ำมันทั่วไปนั่นเอง

ทั้งนี้ น้ำมันดิบและพลังงาน อื่นๆของโลกมีโอกาสที่จะหมดได้ในอนาคต บวกกับราคาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเหตุดังกล่าวทำให้หลาย ประเทศทั่วโลกเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ ได้แก่ เศษวัสดุเหลือ ใช้ทางการเกษตรต่างๆ โดยที่ผ่านมามีความสำเร็จให้เห็นแล้วหลายอย่าง เช่น นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง ผลิตเชื้อเพลิงเหลวเอทานอล บิวทานอล และไบโอดีเซล หรือ วัสดุประเภทไบโอโพลีเมอร์อย่างโพลีแลคไตด์และโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต

หากจะให้ดีต้องทำอย่างครบ วงจรที่เรียกว่า “ระบบโรงกลั่นชีวภาพ”
(Biorefinery) ที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม้โตเร็ว หรือของเสียจากอุตสาหกรรม มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (แทนที่จะเป็นน้ำมันดิบ) โดยผ่านขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิต และได้วัสดุที่ใช้ประโยชน์ได้หมดจนไม่เหลือ ของเสียเหลือทิ้งหรือมีของเสียสู่สิ่งแวดล้อมเลย (zero waste)

จะเห็นได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อชาวโลกในอนาคต มากทีเดียว จึงไม่น่าแปลกใจที่ถูกชูขึ้นเป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำเสนอในงานสัมมนา NSTDA Investors’Day 2012 เมื่อเร็วๆ นี้

สำหรับเทคโนโลยีที่น่าจับ ตามองอื่นๆรวมถึง Nanopore Sequencing ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA ใช้หลักการเหนี่ยวนำทางกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีเบสผ่านเข้าในรูที่มีขนาดระดับนาโนเมตร โดย Nanopore Sequencing ในปัจจุบันมีโพรงนาโนจำนวนมาก จึงสามารถวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมได้อย่างรวดเร็วขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เฉพาะ บุคคล การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร รวมถึงการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ด้วย

นอกจากนี้ยังมี Smart Grid เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้า, เทคโนโลยี Energy Storage ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ โดยกินพื้นที่น้อย ปลอดภัย ใช้งานสะดวก มีอายุการใช้งานนาน และราคาถูก ซึ่งสามารถทำให้รถไฟฟ้าชาร์จไฟได้เร็วหรือเติมได้เหมือนระบบเติมน้ำมัน, แบตเตอรี่กระดาษ ที่บางเบา สามารถโค้งงอ ม้วนพับได้ และราคาถูก, เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ, Graphene Composite อันเป็นวัสดุมหัศจรรย์ที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กถึง 200 เท่า นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย, เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งแบบสายและไร้สายระหว่างอุปกรณ์, Haptic Technology เทคโนโลยีการป้อนกลับเพื่อให้รู้สึกถึงการสัมผัส ที่อาจนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเกม เครื่องใช้ไฟฟ้า และด้านการแพทย์

สุดท้าย เทคโนโลยีจำลองงานวิศวกรรมเสมือนจริงโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถวัดผลการทำงาน และผลผลิตได้จากการจำลองนี้ แน่นอนว่าจะช่วยให้การทำงานของวิศวกรยุคดิจิตอลมีประสิทธิ- ภาพ รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการได้ทันต่อธุรกิจ

รายการอ้างอิง :

ระบบโรงกลั่นชีวภาพ เทคโนโลยีที่น่าจับตา. โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555– ( 161 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine + 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>