เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2014 คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและเสนอร่างกฎระเบียบต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เสนอเป้าหมายพลังงานและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ซึ่งวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อนำอียูสู่การเป็นเศรษฐกิจพึ่งพาคาร์บอนต่ำที่มีความมั่นคง ยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขัน สาระสำคัญของเป้าหมายด้านพลังงานและสภาพอากาศสำหรับปี ค.ศ. 2030 ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ ได้แก่
1) ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี ค.ศ. 2030 ลงร้อยละ 40 ของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่วัดได้ในปี ค.ศ. 1990
2) เพิ่มเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากเดิมร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 27 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด
3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมพึ่งพา
4) การปฏิรูประบบการลดการปล่อยก๊าซด้วยกลไกตลาด หรืออียูอีทีเอส (Emission Trading Scheme; EU ETS) ที่ใช้การซื้อขาย สิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศสมาชิก ในตลาดคาร์บอนของอียูเป็นกลไกในการดำเนินการ
ข้อเสนอดังกล่าวของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรอิสระ เช่น กรีนพีช ซึ่งเรียกร้องให้อียูตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 แทนเป้าหมายเพียงร้อยละ 40 ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ โดยให้เหตุผลว่า ความพยายามของอียูที่ผ่านมาจะทำให้อียูบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้อยู่แล้ว กลุ่มสิ่งแวดล้อม “Friends of the Earth” กล่าวเสริมว่า เป้าหมายเพียงร้อยละ 40 นั้นไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันมิให้เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวเตือนไว้
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557
– ( 29 Views)