magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล
formats

ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล

ในวาระที่ศาสตราจารย์ Francois Englert จากมหาวิทยาลัยเปิดแห่งบรัสเซลส์ หรือยูแอลบี (Universite Libre de Bruxelles; ULB) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับศาสตราจารย์ Peter Higgs นักฟิสิกส์ชาวสก๊อตแลนด์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น นิตยสาร Horizon ของสหภาพยุโรปได้เข้าสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ Englert อีกครั้งเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น บทบาทของสถาบันวิจัยและเงินทุนสาธารณะในวงการวิทยาศาสตร์ การพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างนักทฤษฎีและนักทดลอง รวมถึงคำถามที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล

เมื่อถูกถามว่า ตนจะสามารถได้รับรางวัลโนเบลนี้หรือไม่ หากปราศจากการค้นพบจุลภาคชนิดใหม่ที่เรียกว่า “โบซอน” (boson) โดยสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป ศาสตราจารย์ Englert กล่าวว่า ในสาขาฟิสิกส์ที่ตนทำงานวิจัย การพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นเป็นจริงได้นั้น ต้องอาศัยระบบเครื่องมือขนาดใหญ่และผลการทดลองเช่นที่ CERN ได้นำออกสู่สาธารณะ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีดังกล่าวเป็นจริงหากปราศจากเครื่องมือและผลงานของนักทดลอง นิตยสาร Horizen ซักถามศาสตราจารย์ Englert ต่อไปว่า อะไรคือเคล็ดลับเบื้องหลังความสำเร็จของการได้เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ศาสตราจารย์ Englert ตอบว่า ไม่ทราบ เพราะไม่เคยคาดคิดว่าจะมีโอกาสได้รับรางวัลดังกล่าว แต่กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่มีผลในการศึกษาวิทยาศาสตร์ของตนโดยส่วนตัวว่า “ครู” มีบทบาทสำคัญมากต่อการที่เด็กคนหนึ่งจะชอบหรือไม่ชอบเรียนอะไร เพราะจำได้ว่า ตนไม่ชอบเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เพราะไม่ชอบครูที่สอน ในขณะที่วิชาคณิตศาสตร์ ตนได้พบครูที่ดีมาก ๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และทำปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์ในที่สุด

“อิทธิพลของครูต่อนักเรียน ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า เราควรมีวิธีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์อย่างไร ‘อะไรคือวิธีการทำให้คน ๆ หนึ่งกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้’ ศาสตราจารย์ Englert ตอบคำถามว่า “เราควรฝึกให้นักเรียน นักศึกษา ฝึกการคิดแบบอุปมาน โดยใช้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงสนับสนุนสมมุติฐานในการทดลองมากกว่าที่จะหาข้อสรุปจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

เคล็ดลับประการสุดท้ายคือ “เราต้องไม่มองข้ามความสำคัญของ ‘จิตใต้สำนึก’ ในกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ใกล้เคียงมากกับแรงบันดาลใจในการผลิตงานศิลปะหรือแต่งเพลง งานวิจัยชิ้นสำคัญของผมส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากวิธีคิดแบบอนุมาน หากเราคิดด้วยวิธีคิดแบบอนุมาน เราก็จะค้นพบแค่สิ่งที่เราได้เห็นแล้วตั้งแต่แรกในกระบวนการทดลอง แต่หากเราปล่อยให้สมองส่วนไร้สำนึกทำงาน ในท้ายที่สุด ความคิดอันบรรเจิดที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อนก็จะเกิดขึ้นกับเรา”

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557

 – ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− six = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>