ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากไม่ได้รับการบริหารจัดการที่ดี น้ำที่เคยเป็นสิ่งจำเป็นอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อปัญหาให้กับมนุษย์ได้ การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและการทำงานของน้ำอย่างเช่นงานวิจัยของ นาย Fabrizio Fenicia นักวิจัยน้ำแห่งสถาบัน CRP Gabriel Lippmann เป็นสถาบันการวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์การพัฒนาเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลลักเซมเบิร์ก คาดว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมและภัยแล้ง และความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนได้ดีขึ้น การวิจัยน้ำของนาย Fenicia ใช้การวิเคราะห์วงจรการเคลื่อนไหวของน้ำและคุณภาพน้ำเพื่อคาดการณ์ว่า น้ำฝนที่ตกลงมาจะกลายเป็นน้ำที่ไหลในปริมาณเท่าใด จะระเหยกลายเป็นไอน้ำและปริมาณเท่าใดจะยังคงอยู่ในดิน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพดิน หิน และพืชท้องถิ่น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาในการวิเคราะห์ ซึ่งนั่นหมายความว่า รูปแบบการจำลองการเคลื่อนที่ของน้ำโดยใช้คณิตศาสตร์มาช่วยในการคำนวณของนาย Fenicia นั้นไม่ใช่คำตอบเบ็ดเสร็จหนึ่งเดียวที่สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่และทุกสถานการณ์ (one-size-fits-all) ในทางตรงกันข้าม งานวิจัยน้ำของนาย Fenicia อาศัยความยืดหยุ่นของปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และสถานการณ์
งานวิจัยน้ำของนาย Fenicia ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Water Resources Research ภายใต้ชื่อ “Elements of a flexible approach for conceptual hydrological modelling” และได้รับรางวัลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากกองทุนวิจัยแห่งชาติของลักเซมเบิร์กประจำปี ค.ศ. 2012
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1210—-12557
– ( 22 Views)