สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้จัดเวทีเสวนา เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
สวทน. จัดหัวข้อเสวนาเรื่อง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 1 ซึ่งมีการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขาธิการ สวทน. เป็นต้น ให้เนื้อหาภาพกว้างของสถานะภาพด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศ ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป้าหมายของการปฏิรูป ผลสำเร็จของภาคเอกชนที่มีการวิจัยและพัฒนาเป็นต้น
นอกจากนี้ สวทน. ยังได้รายงานผลการสำรวจกิจกรรมวิจัยและพัฒนาวืทยาศาสตร์ ของภาคเอกชน (Snapshot of Thailand Business R&D Survey 2013) ดังนี้
จุดเปลี่ยน ของภาคเอกชนไทย ในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
ค่าใช้จ่ายรวมของประเทศไทยในงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ (GERD) มีค่าคงที่ประมาณร้อยละ 0.20-0.25 ต่อ GDP ตั้งแต่ปี 1997 ในภาครัฐบาล (รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาขั้นสูงและรัฐวิสาหกิจ) ได้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องคิดแล้วเป็นงบประมาณ ร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายรวมด้าน R&D ของประเทศ
สวทน. ได้ทำการสำรวจล่าสุดเรื่องการลงทุนของภาคเอกชน เปิดเผยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจ มีการลงทุนด้าน R & D ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 8,000 ล้านบาทในปี 2006 เพิ่มขึ้นเป็น 20,680 ล้านบาทในปี 2011 จากการเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ภาคธุรกิจมีงบลงทุนในสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของงบลงทุนงาน R&D คิดเป็นร้อยละ 51 โดยที่ประเทศไทยมีเป้าหมายในปี 2016 กำหนดที่จะเพิ่มขึ้นงบลงทุน R&D ให้เป็นร้อยละ 1 ของ GDP และเพิ่มสัดส่วนของค่าใช้จ่ายทาง R & D ของภาคเอกชนให้เป็นร้อยละ 70 ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ภาคเอกชนมีการทำวิจัยสูงมากขึน
สวทน.แสดงข้อมูล กลุ่มอุตสาหกรรมผู้นำ 12 ลำดับ ที่มีการลงทุนด้าน R&D ในปี 2011 ดังนี้
อุตสาหกรรมเคมี ลงทุน 3,631 ล้านบาท
อุตสาหกรรมอาหาร ลงทุน 2,808 ล้านบาท
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ลงทุน 1,554 ล้านบาท
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ลงทุน 1,362 ล้านบาท
อุตสาหกรรมยางและพลาสติก ลงทุน 1,134 ล้านบาท
อุตสาหกรรมรถยนต์ ลงทุน 921 ล้านบาท
อุตสาหกรรมแร่ธาตุ ลงทุน 794 ล้านบาท
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลงทุน 723 ล้านบาท
อุตสาหกรรมเครื่องใช้สำนักงาน ลงทุน 655 ล้านบาท
อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ลงทุน 449 ล้านบาท
อุตสาหกรรมสิ่งทอ ลงทุน 423 ล้านบาท
อุตสาหกรรมอื่นๆ ลงทุน 1,616 ล้านบาท
อุตสาหกรรมไทยผู้นำการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ ได้แก่
อุตสาหกรรมเคมี อาหารและปิโตรเลียม มีการลงทุนเป็นเม็ดเงินในภาคการผลิตรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 40% ของค่าใช้จ่ายของภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมอาหาร มีการใช้จ่าย R & D ที่เพิ่มขึ้นเป็น สามเท่าระหว่างปี 2006 ถึงปี 2011 คือจากประมาณ 1,000 ล้านบาทในปี 2006 เพิ่มขึ้นเป็น 2,808 ล้านบาทในปี 2011
นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนบริษัท ที่มีกิจกรรมใน R & D มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 3 ในปี 2006 เพิ่มเป็น ร้อยละ 10 ในปี 2011 โดยอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมาก ที่สุดของสถานประกอบการ R & D คือ 462 บริษัท ตามด้วยอุตสาหกรรมเคมี มีจำนวน 413 บริษัท และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก มีจำนวน 267 บริษัท
บริษัท ขนาดใหญ่มีการใช้จ่ายสูงสุดในกิจกรรม R&D
สวทน.รายงานว่า บริษัท ขนาดใหญ่ของไทยลงทุนในด้านบนใน R & D โดยในปี 2011 คิดเป็นร้อยละ 61 ในขณะที่ SMEs คิดเป็นร้อยละ 39
ในผู้นำ 5 ลำดับแรก ลงทุนกิจกกรม R & D คิดเป็นร้อยละ 23.3 และผู้นำ 10 ลำดับ คิดเป็นร้อยละ 34. จากการสำรวจ พบว่า บริษัท ขนาดใหญ่มีอุปสรรคที่สำคัญที่สุด คือ การขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ในขณะที่กลุ่มบริษัท SMEs ยังคงมีความต้องการด้านการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิค
บุคลากร วิจัย ในภาคเอกชน
ในสายงาน R & D ในภาคเอกชนมี บุคลากรเต็มเวลา ประมาณ 8,000 คนในปี 2006 เพิ่มขึ้นเป็น 22,245 คนในปี 2013
โดยอุตสาหกรรมอาหาร มีจำนวน 3,737 คน ตามด้วยด้านเคมี 3,401 คน และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก จำนวน1,561 คน
ในจำนวนบุคลากร 22,245 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 68 ปริญญาโท ร้อยละ 27 และ ปริญญาเอก ร้อยละ 5
หรือแยกประเภทเป็นนักวิจัยร้อยละ 59 ช่างเทคนิค ร้อยละ 27 และ สายสนับสนุนร้อยละ 14
เปรียบเทียบกิจกรรม R&D ของภาครัฐและภาคเอกชน
สวทน. รายงานว่า ภาครัฐ ใช้จ่ายงบประมาณการวิจัยและพัฒนา 20,200 ล้านบาท ภาคเอกชน 20,680 ล้านบาท
ภาครัฐมีจำนวนนักวิจัยเต็มเวลา 26,340 คน และอยู่ในภาคเอกชน 13,129
นักวิจัยระดับปริญญาเอกในภาครัฐ 4,751 คน และมีเพียง 679 ในภาคเอกชน
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยที่มีคุณภาพในภาคธุรกิจ สวทน. ได้ริเริ่มโครงการที่เรียกว่า การเคลื่อนย้ายผูที่มีความสามารถ (Talent mobility program) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ร่วมมือกันของนักวิจัยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน– ( 120 Views)