เทคโนโลยีด้านจอภาพในปัจจุบันที่เรารู้จักกันนั้นก็คงจะหนีไม่พ้น LCD และ LED ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าเทคโนโลยีจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) หรือจอแก้วที่มีมานานไม่ว่าจะด้านการประหยัดพลังงานที่กำลังกลายเป็นเรื่องสำคัญของโลกไปจนถึงราคาที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความล้ำสมัยเรียบง่ายสะดวกในราคาที่เหมาะมือ
การทำงานของ CRT ก็คือการลิงลำแสงอิเล็กตรอนให้ไปกระทบฉากเรืองแสงนั่นเองในยุคต่อมาก็คือยุคของระบบพลาสมา Plasma ซึ่งใช้การปล่อยแสง UV จากพลาสมาไปที่ฉากเรืองเสียงให้เกิดการกระทบขึ้นซึ่งสุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายที่สุดการแสดงผลก็มาได้รับความนิยมและอยู่ตัวที่ LCD และ LED ที่เป็นการบังคับกลุ่มของโมเลกุลผลึกเหลวให้เดินทางไปตามทิศที่กำหนดเพื่อให้แสงจากฉากหลังที่ส่องอยู่แปล่งแสงออกมาหรือถูกบังคับการเปล่งแสงไว้แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามาถึงยุคของนาโนเทคโนโลยีซึ่งมีการผสมรูปแบบอินทรีย์วัตถุเข้ากับการเปล่งแสงนวัตกรรมที่ได้ในวันนี้จึงกลายเป็น OLED
OLED คืออะไร?
OLED ย่อมาจาก Organic Light-Emitting Diodes คือนวัตกรรมของจอภาพที่พัฒนาขึ้นมาในรูปแบบคล้ายกับฟิล์มมีความโปร่งใสจนสามารถมองเห็นทะลุได้และจะเปล่งแสงเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้านอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพในขณะที่จอถูกดัดให้โค้งงอได้อีกด้วยโดยมีวัสดุอินทรีย์กึ่งตัวนำที่สามารถเปล่งแสงได้เองเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าในการทำงานกระบวนการที่เทคโนโลยี OLED ในส่วนที่วัสดุอินทรีย์กึ่งตัวนำทำการเปล่งแสงขึ้นมาเรียกว่าอิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์ (Electroluminescence) กระบวนการดังกล่าวจะลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนในบางส่วนเช่นจอภาพที่แสดงผลไม่จำเป็นต้องใช้แสง Back Light ในการฉายแสงด้านหลังจอภาพทั้งหมดเหมือนกลวิธีที่ LCD หรือ Plasma ทำกันทำให้เกิดการประหยัดแสงในจุดที่เป็นสีดำเพราะจะไม่มีอินทรียสารไปเร่งการเปล่งแสงทำให้สีที่เป็นสีดำจะเป็นสีดำจากจุดที่ไม่เกิดแสงในสีอื่นนั้นก็เป็นการเปล่งแสงออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรงคุณสมบัติดังกล่าวทำให้การแสดงผลจอภาพแบบ OLED ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและให้ความบางที่มากกว่าเทคโนโลยีจอภาพ LCD ที่ใช้การเรืองแสงการบังแสงและปล่อยแสงบางสีออกมาผสมกันทำให้เกิดภาพซึ่งหากวัดดูแล้วจะพบว่าเทคโนโลยี OLED นั้นจะให้แสงและสีที่สมจริงที่สุดประหยัดพลังงานที่สุด
OLED มีหลักการทำงานอย่างไร?
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก Cathode ผ่านชั้นสารอินทรีย์ไปยัง Anode โดย Cathode จะให้กระแสelectrons แก่ชั้น Emissive layer ขณะเดียวกัน
2. Anode จะดึง Electrons ในชั้น Conductive layer ให้เคลื่อนที่เข้ามา เกิดเป็น Electron holes ขึ้น
3. ระหว่างชั้น Emissive และ Conductive layer จะเกิดปฏิกิริยา Electron (-) เข้าจับคู่กับ hole (+) ขึ้นซึ่งกระบวนนี้เองที่จะเกิดการคายพลังงานส่วนเกินออกมานั่นก็คือแสงสว่างที่เราต้องการ
สำหรับการให้สีแก่ลำแสงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโมเลกุลสารอินทรีย์ในชั้น Emissive layer ซึ่งในการผลิตจอ Full-Color OLEDs จะใช้สารอินทรีย์ 3 ชนิดเพื่อให้ได้แม่สีของแสงคือน้ำเงิน, แดงและเขียวในส่วนความเข้มและความสว่างของแสงที่ได้จะขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ให้เข้าไปให้มากแสงก็จะสว่างมากซึ่งโดยปกติจะใช้กระแสไฟฟ้าที่ประมาณ 3-10 โวลต์และด้วยความที่ทำจากฟิล์มสารอินทรีย์ที่บางระดับนาโนเมตรนี้เองเราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์ OLED บนวัสดุที่พับงอได้เช่นพลาสติกใสเกิดเป็นจอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ได้ขึ้นมาซึ่งทำให้ในอนาคตเราอาจได้เห็นจอภาพแบบนี้อยู่บนเสื้อผ้าของเราก็เป็นได้
อนาคตของเทคโนโลยี OLED
ในยุคแรกของการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้นั้นยังมีปัจจัยในเรื่องของราคาเพราะราคาที่สูงเกินไปทำให้ OLED ในยุคแรกนั้นถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจำพวกโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3Gs และ GPRs ไปจนถึงอุปกรณ์จำพวกรีโมทคอนโทรลและกล้องดิจิตอลแต่ในตอนนี้ได้มีหลายบริษัทมองเห็นความก้าวหน้าและอนาคตที่น่าจพต่อยอดเทคโนโลยีตัวนี้ได้ในอนาคตเริ่มหันมาลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มของอุปกรณ์และนวัตกรรมที่รองรับการแสดงผลผ่าน OLED จำนวนมาก
ล่าสุดบริษัท TDK U.S.A. ได้นำเสนอนวัตกรรมจอแสดงผลที่สามารถงอได้และโปร่งใสเหมือนฟิลม์และเปล่งแสง
เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าออกมาซึ่งนอกจากจอภาพที่คล้ายฟิลม์อย่างเดียวแล้ว TDK ยังวางแผนรุกตลาดของจอภาพบนสมาร์ทโฟนที่ฐานตลาดกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันและเตรียมต่อยอดไปถึงเทคโนโลยี Augmented Reality อย่างแว่นตาที่มองเห็นชั้นข้อมูลสารสนเทศเหมือนในภาพยนตร์อีกด้วย
รายการอ้างอิง :
(2557). วิวัฒนาการจอภาพโค้งงอได้‘OLED’. บางกอกทูเดย์ (เทคโนโลยี), จาก http://www.bangkok-today.com/node/283.
– ( 152 Views)