สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสุขภาพ
รางจืดเป็นสมุนไพรที่ เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นของประเทศไทยทุกภาค ลักษณะ เป็นรูปยาวรีดคล้ายใบหญ้านาง แต่ใบโตกว่า มีสีเขียวอ่อน ปลายเรียวแหลมโคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบมีทั้งขอบหยักและขอบเรียบ ดอกมีขนาดเท่าดอกผักบุ้ง สีม่วงแกมน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว ซึ่งนิยมดอกมากกว่า ผลเป็นรูปทรงแหลม
คุณประโยชน์ :ใบ ราก เถา : รสจืดเย็น ตำคั้นหรือเอารากฝนกับน้ำหรือต้มเอาน้ำยา ดื่มถอนพิษ แก้ไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ปวดหู ตำพอก แก้ปวดบวม ใบสดช่วยเร่งการสร่างเมา ราก รสจืดเย็น แก้อักเสบ แก้ปวดบวมทั้งต้น รสจืดเย็น ปรุงยาแก้มะเร็งใช้หัวว่านฝนกับน้ำเปล่า หรือเหล้าเป็นกระสาย ทาหรือพอกไว้บริเวณที่โดนพิษ ไม่นานจะหาย หรือปรุงเป็นยาแก้
โรคพิษสุนัขบ้า
การนำมาประกอบอาหาร : การปรุงอาหารจากรางจืด นำยอดรางจืดไปยำ ต้มจืด สลัดผักและชารางจืด ส่วนวิธีการใช้ประโยชน์รางจืดที่ดีที่สุดคือ เครื่องดื่มน้ำรางจืด โดยเฉพาะเกษตรกร เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้รับการสะสมสารเคมีตกค้าง โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งมีพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยมีผลต่อระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย มึนงง ชักหมดสติ โดยชงรางจืดดื่มวันละ 6 กรัม ประมาณ 4-5 แก้วต่อวัน เพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย
การเก็บรักษา เก็บส่วนใบเรียวใบในภาชนะก่อนเพื่อกันใบช้ำ หลังจากนั้นเก็บเถา เส้นผ่า ศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ถ้าเถาร้อนเกินไปจะมีสีคล้ำเมื่อแห้ง นำใบและเถามาหั่นยาวประมาณ 2 นิ้ว ส่วนเถายาวประมาณ 1 ซม. นำไปตากแดด 4-5 วัน โดยแยกเถาและใบตาก เมื่อแห้งเก็บใส่ถุงรัดปากถุง ให้แน่น (อัตราการแห้งของใบรางจืดเท่ากับ 1 ต่อ 10)
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=53437bacbe0470b59a8b4580#.U0X4sFf9Hcs– ( 68 Views)