ที่บ้านซื้อพริกสีม่วงมาปลูก (ทางอีสานเขาเรียกว่า “บักพริกแหล่”) …ต้นหนึ่งรูปทรงคล้ายพริกขี้หนู เขาเรียกกันว่าพริกขี้หนูสีม่วง อีกต้นคล้ายพริกหยวกแต่เป็นสีม่วง เขาเรียกพริกประดับ มีคนถามว่ามันกินได้มั้ย เอ้อ… ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะซื้อมาประดับ เลยสืบค้นดูจากอินเทอร์เน็ตว่ามันมีคุณสมบัติ
คุณประโยชน์อะไรบ้าง ได้ความว่า…
กินได้ และรสชาติก็เผ็ดเช่นกัน แต่คนไทยยังคุ้นเคยกับพริกสีเขียว ๆ แดง ๆ เลยทำให้สีม่วงไม่เป็นที่นิยมสำหรับการนำมารับประทาน …คราวต่อไปหากจะซื้อส้มตำ หากนำพริกสีม่วงไปให้แม่ค้าตำให้ สีออกมาคงแปลกและน่ารับประทาน
สำหรับพริกขี้หนูสีม่วง เป็นพืชอยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีลักษณะทางพฤกษ ศาสตร์เหมือนกับพริกขี้หนูทั่วไป ผลพริกรูปกลมยาว ปลายเรียวแหลมเหมือนพริกขี้หนูทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่เท่ากับพริกกะเหรี่ยง สีผลเป็นสีม่วงเข้ม ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก รสชาติเผ็ดเหมือนกับพริกขี้หนูทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำชุ่มที่กรมวิชาการเกษตร ดร.วิลาวัลย์ ใคร่ ครวญ ได้วิจัยเกี่ยวกับพริกขี้หนูม่วง 52-60 พบว่า ในปัจจุบันพริกม่วงซึ่งเป็นพริกตัวอย่างที่ 52-60 มีความคงตัวแล้ว ทั้งการเจริญเติบโตและลักษณะของผลผลิตที่เห็นได้ด้วยตา เมื่อดูจากลักษณะที่ปรากฏพริกขี้หนูม่วง 52-60 เป็นพริกชนิด Capsicum annumm ซึ่งนอกเหนือจากสีที่ค่อนข้างสะดุดตาของพริกสายพันธุ์นี้
ซึ่งมีลักษณะการให้ผลและรูปร่างของผลที่คล้ายคลึงกับพริกขี้หนูทั่วไปแล้ว เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารแอนโธไซยานิน ด้วยวิธีทดสอบ In house method based on AOAC official method 2005.02 พริกขี้หนูม่วง 52-60 มีปริมาณแอนโธไซยานินสูงกว่าพริกขี้หนูใหญ่พันธุ์หัวเรือศรีสะเกษ 13 ถึง 4.8 เท่า ปริมาณ Capsaicin ใกล้เคียงกับพริกยอดสน หลังทราบปริมาณของสารทั้งสองชนิดในผลแล้ว ได้ทดลองนำไปประกอบอาหารที่ตามปกติใช้พริกขี้หนูทั้งอาหารที่ใช้ผลพริกขี้หนูสด (ทั้งผลแก่และสุก) เช่น น้ำพริกกะปิ ยำวุ้นเส้น และผัดกะเพรา หรืออาหารที่ใช้พริกขี้หนูผลแห้ง (ใช้ผลสุกแดง) ได้แก่ แกงเผ็ด และผัดเผ็ดขิง พบว่ารสชาติของอาหารที่มีการเปลี่ยนมาใช้พริกขี้หนูม่วงแทนนี้ ให้รสชาติที่ไม่แตกต่างจากรสชาติเดิม ที่พยายามสังเกตให้มีความแตกต่างก็เห็นจะเป็นเพียงกลิ่นหอมที่เพิ่มขึ้นมา และหากนำพริกขี้หนูม่วงที่ทำให้แห้งไปปรุงอาหารจะทำให้อาหารมีสีแดงสดขึ้น
ในด้านการเจริญเติบโต พริกขี้หนูม่วง 52-60 เจริญเติบโตดี ปรับตัวและทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และมีแนวโน้มที่จะให้ผลผลิตยาวนานกว่าพริกขี้หนูใหญ่ทั่ว ๆ ไป
ปัจจุบันพริกขี้หนูม่วง 52-60 อยู่ระหว่างการปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ ในโครง การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก ซึ่งหลังการเปรียบเทียบพันธุ์จะได้
ทดสอบเพื่อเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรต่อไป.
รายการอ้างอิง :
2557. พริกสีม่วง…สีสวย+รวยคุณค่าอาหาร. กรุงเทพฯ : เดลินิวส์ (เกษตร). สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.dailynews.co.th/Content/Article/231855/พริกสีม่วง…สีสวย+รวยคุณค่าอาหาร.– ( 157 Views)